Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) จึงเป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และ การปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์ พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล
สังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้นจากปัจจัยหลายประการเช่น มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการใช้ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้พรมแดนการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและโครงสร้างทางสังคมอย่างรวดเร็ว
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคําตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
ระบบบริการสุขภาพ
การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง มีการ เคลื่อนไหว เพื่อ
เรียกร้องความเท่าเทียมกันในการดํารงตําแหน่งในสังคมของชายหญิงเพิ่มขึ้น ทําให้ต้อง ปรับเปลี่ยน
ระบบการให้บริการสุขภาพเพื่อให้เหมาะสมกับเพศสภาวะ
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม และ ประชาชนสามารถ
รับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และ
สิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการประกาศสิทธิของผู้ป่วย ข้อกําหนดตาม พระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติและข้อกําหนดของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ
ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น ประชาชน
สามารถเข้าถึงสถานบริการในทุกระดับได้ดี จึงส่งผลให้สถานบริการต้องเร่งจัดระบบการ ให้บริการ
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นแนวคิดสําคัญที่สามารถนํามาใช้พัฒนาทักษะด้านความเข้าใจความ ต่างทางวัฒนธรรม
ลักษณะของโรคที่เข้ารับการรักษา
ความต้องการเข้ารับการรักษา
ความแตกต่าง ด้านสังคม ความเชื่อ และวัฒนธรรมของผู้รับบริการที่แตกต่างกันมากขึ้น
เป็นการผสมผสานการ พยาบาลตามมาตรฐานที่สภา
การพยาบาลกําหนดร่วมกับการนําข้อมูลเชิงวัฒนธรรมของผู้รับบริการมาวางแผน การ พยาบาล
กรอบแนวคิดทางการ พยาบาล 4 มโนมติ
ด้านบุคคล
แต่ละคนย่อมมีแบบแผนการดําเนินชีวิต
พฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพ
เป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาล
ควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
ด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
สิ่งแวดล้อมทางสังคม
สิ่งแวดล้อมที่เป็น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม บรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดของมนุษนิยม (Humanism) ซึ่งเป็นมุมมองด้านการให้อิสระและเน้นความเป็นมนุษย์ (Liberal, humanist perspective)
หลังโครงสร้างนิยม(Poststructuralist perspective) มองในเรื่องความเป็นพลวัตรหรือมีการเปลี่ยนแปลง ของสรรพสิ่งตลอดเวลา
พยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่โดยเน้นองค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติ ของญี่ปุ่น
การสร้างสัมพันธภาพ
เป็นจุดสําคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแลคนซึ่งไม่ใช่เฉพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลเท่านั้น
พยาบาลญี่ปุ่นให้ ความสําคัญกับการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยระหว่างการรักษาเสมอ
ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย
การให้คุณค่ากับประเพณี วัฒนธรรมในการดูแลแบบโบราณ
คุณค่าของชุมชน และแบบตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเยาวชนรุ่น ปัจจุบัน
การให้ความสําคัญกับความเป็นมนุษย์
ประกอบด้วยกายและจิต
เคารพในการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่ง กันและกัน
ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกาย เพราะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความใกล้ชิด
พยาบาลญี่ปุ่นจึงสัมผัสผู้ป่วยอย่างมีสติ (ระมัดระวัง) เพื่อการรักษาหรือทําให้ผู้ป่วยเกิดความสงบทางจิตใจและ เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย
มีระบบประกันสุขภาพที่แตกต่างกัน หลายรูปแบบ ทั้งของประเทศ จังหวัดและของกลุ่มสังคมในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ
เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ การปฏิบัติพยาบาลและการตัดสินใจของคน
แนวคิดร่วมสมัยของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
การปฏิบัติการพยาบาลใด ๆ จะพิจารณาถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา
ความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วย
เป็นแนวคิดร่วมสมัย ที่จะสะท้อนถึงการให้การพยาบาลโดยยึด ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
วัฒนธรรมที่สำคัญ
การสื่อสารไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การพยาบาลในความหลากหลายทางวัฒนธรรม สุขภาพในแต่ละมิติ
การเข้าใจวัฒนธรรมของผู้รับบริการจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งและความจริงที่สําคัญในแต่ละชุมชน
การมีความไวทางวัฒนธรรมองค์กรที่มี ความไวทางวัฒนธรรมจะมีการดําเนินการจัดหาล่ามสําหรับ
โสภา อิสระณรงค์พันธ์ (2560) ได้สรุปเกี่ยวกับหลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไว้ว่า
การดูแลทางด้านวัฒนธรรม
คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุงสภาพการณ์ส่วนบุคคล การเผชิญความตาย
การมองโลก
การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม เช่น ศาสนา เศรษฐกิจ และการศึกษา
การดูแล
พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ เกิดการพัฒนา เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิต แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล
การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสําคัญกับวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
การให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจําวันของกลุ่มชน เรียนรู้สืบต่อกัน เกิดพื้นฐานและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นลักษณะเฉพาะ
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม
ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่
เฉพาะเจาะจง
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม
ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้ เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม
ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในวัฒนธรรมที่เฉพาะเพื่อ ดํารงไว้ซึ่งสุขภาพ หายจากการเจ็บป่วย และเผชิญความตาย
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
ผู้ปฏิบัติการพยาบาลจะต้องทําความเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย ฝึกฝนตนเองให้ไวต่อความต่างของ ภาษา วิถีความคิดความเชื่อ ที่เกิดจากความต่างทางวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการที่แตกต่างกัน มีความเข้าใจความ แตกต่าง และเลือกกิจกรรมการพยาบาลที่สอดคล้องกับวิถี วัฒนธรรม ของผู้ป่วยจะทําให้ได้รับความร่วมมือ มากขึ้น
ความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้ มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มี ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ วัฒนธรรม
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม และสอดคล้องตามวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(Cultural sensitivity) รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดาเนิน ชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ เชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ
สามารถรักษาลับของข้อมูล ความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยคํานึงกฏระเบียบ และ จรรยาบรรณวิชาชีพ
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการ พยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล ให้กระทําตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัว
และเน้นการมีส่วนร่วม
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล ควรคํานึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ สนองตอบต่อ
ค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล ใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทําให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตาย อย่างสงบ ประเมินโดย
ใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูล ดูวิถีชีวิต และแนวคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก