Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้แก่ การศึกษาข้ามวัฒนธรรม และการศึกษาวัฒนธรรมข้ามชาติ
เป็นแนวทางที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ที่จะช่วยอธิบายถึงความแตกต่างของวิถีชีวิต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมใน ยุคศตวรรษที่ 21 ยุคโลกาภิวัฒน์ โลกไร้พรมแดน
สังคมมีความหลากหลายมมากขึ้นจากปัจจัยหลายประการ เช่น มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการใช้เทคโนโยบีการสื่อสารแบบไร้พรมแดน
มีนโยบายความร่วมมือในเครือข่ายสมาชิกกับกลุ่มประเทศต่างๆมากขึ้น
มีการเตรียมรับสถานการณ์ด้านบริการสุขภาพ เพื่อให้ทันและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง COVID 19
รูปแบบบริการที่มีอยู่ ต้องมีหลายรูปแบบหรือมีการปรับเปลี่ยนทั้งในแนวคิด วิธีการ
มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการพยาบาลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้รับบริการ
การข้ามวัฒนธรรมซึ่งเป็นหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเน้นกระบวนการและวิธีคิดของคนหรือกลุ่ม
Cross cultural ความหลากหลายภายในวัฒนธรรม
Transcultural เชื่องโยงคนต่างวัฒนธรรม
พฤติกรรม วาจา ลักษณะนิสัยของคน ลัทธิ ความเชื่อ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน เครื่องใช้ไม้สอย ศิลปะต่างๆ การประพฤติปฏิบัติในสังคมและผลิตผล
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
สังคมในยุคศตวรรษที่ 21 ทำให้เกิดสังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเทคโนโลยีแบบไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก ทำให้การรับบริการทางด้านสาธารณสุขของชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
เป็นการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
สะท้องถึงการให้การพยาบาลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
การพยาบาลวิถีชีวิตของมนุษย์
พยาบาลมีการมีความไวทางวัฒนธรรม
องค์กรมีความไวทางวัฒนธรรม เช่น จัดหาล่าม อบรมเกี่ยวกับการดูแลข้ามวัฒนธรรมให้บุคลากร มีป้ายหรือสัญญาลักษณ์หลายภาษา
สามารถนำมาใช้พัฒนาทักษะด้านความเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม
เป็นการผสมผสานการพยาบาลตามมาตรฐาน ร่วมกับการนำข้อมูลเชิงวัฒนธรรมของผู้รับบริการมาวางแผน
มีความไว ในการรับรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้รับบริการ
การผสมผสานของแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม กับแนวคิดมนุษยวิทยา กรอบแนวคิดทางการพยาบาล 4 มโนมติ คือ
ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบุคคล
ด้านสุขภาพ
ด้านการพยาบาล
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
จะพิจารณาถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา ตลอดจนความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วย
ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง พิจารณาถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา ตลอดจนความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมประเพณีวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วน
พยาบาลต้องมีความไวทางวัฒนธรรม ต้องเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย
องค์กรต้องมีความไวทางวัฒนธรรม เช่น โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสาครที่มีแรงงานต่างชาติพักอาศัยเป็นจำนวนมาก
คุณลักษณะ 12 ประการ
ที่จะดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ดี
เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในทุกวัฒนธรรม
มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เชื้อชาติ เพศ
มีทัศนคติด้านบวก กับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มมีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วย
มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการ
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้ มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา ร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม และสอดคล้องตามวัฒนธรรม
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการ
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
คำนึงกฏระเบียบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
รักษาความลับของข้อมูล ความเชื่อของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
กระบวนการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
กระบวนการพยาบาล ประกอบด้วย การประเมินทางการพยาบาล การวินิจฉัยทางการ การวางแผนให้พยาบาล
มุ่งผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง
พยาบาลต้องมีความเข้าใจในคุณค่าที่เฉพาะเจาะจง
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดร่วมสมัย
สะท้อนการให้การพยาบาลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติการพยาบาลใดๆ
การพยาบาลตามวิถีชีวิตของมนุษย์ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม สามารถสร้างความสมดุลกลมกลืนให้มนุษย์ได้
สมรรถนะที่จำเป็นในการพยาบาล ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สำคัญคือ การมีความไวทางวัฒนธรรม
แนวคิดของ Consent Form การยินยอมโโยได้รับการบอกกล่าว
ความสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพ
ในมิติต่อไปนี้
ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สถานบริการต้องเร่งจัดระบบการให้บริการเพื่อรองรับประชาชนที่มีความหลากหลายและมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันตามสภาพพื้นที่
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการประกาศสิทธิของผู้ป่วย
การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง มีการเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันในการดำรงตำแหน่งในสังคมของชายหญิงเพิ่มขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม และประชาชนสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย ส่งผลต่อระบบการบริการต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและทันเหตุการณ์
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการจึงทำให้พยาบาลชุมชนผู้ซึ่งรับผิดชอบการให้บริการระดับปฐมภูมิต้องปรับวิธีคิด และกระบวนการทำงานในชุมชน
หลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไว้
ดังนี้
วัฒนธรรม คือ การให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจำวันของกลุ่มชน เรียนรู้สืบต่อกัน เกิดพื้นฐานและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นลักษณะเฉพาะ
การดูแล คือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ เกิดการพัฒนา เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิต แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม
การดูแลทางด้านวัฒนธรรม คือ คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุงสภาพการณ์ส่วนบุคคล ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมจะช่วยในการดูแลของพยาบาล
การมองโลก คือ การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม เช่น ศาสนา เศรษฐกิจ และการศึกษา
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล คือ การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในวัฒนธรรมที่เฉพาะเพื่อดำรงไว้ซึ่งสุขภาพ หายจากการเจ็บป่วย และเผชิญความตาย
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจง
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
หลักการสำคัญในการพยาบาลผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม 4A 2I SE
Acknowfedging the nurse and client's cultural heritage ให้ความสำคัญและเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิหลังของพยาบาล และผู้ใช้บริการซึ่งกันและกัน
Avoiding prejudice and cultural bias หลีกเลี่ยงความลำเอีียงและอคติหรืออุปทานเกี่ยวกับวัฒนธรรม
Assessing the client' view of the situation ประเมินมุมมองหรือทัศนะในสถานการณ์หรือสภาวะที่ผู้ใช้บริการประสบอยู่
Avoiding Language Barriers หลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการสื่อสารด้านภาษา
Involving all family members ให้ครอบครัวมีส่วนร่วม ตลอดกระบวนการ
Identifying signiticant others กำหนดบุคคลหรือสิ่งสำคัญที่มีความหมายต่อชีวิต
Supporting nutritional perfernce ให้การสนับสนุน ด้านอาหารหรือโภชนาการที่ชอบ
Evaluation nursing actions ประเมินผลการกระทำ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เน้นการให้คุณค่าและการปฏิบัติ
วิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ
เพื่อให้การตอบสนองที่สอดคล้องกับความต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น
ต้องมีความไวในการรับรู้และให้การพยาบาลที่เหมาะสม
ปรัชญาความเชื่อที่ใช้เป็นฐานคิดของการศึกษาเกี่ยวกับ วัฒนธรรม
แนวคิดปฏิฐานนิยม เน้นการแสวงหาความจริงจากหลักฐานเชิง ประจักษ์ที่มีการวัดที่ชัดเจน
แนวคิดมนุษยนิยม เน้นความเสมอภาคเท่าเทียม ความเป็นอิสระมีเสรีภภาพเหมือนคนอื่นๆ
แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
มองในเรื่องความเป็นพลวัตรหรือมีการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งตลอดเวลา
เช่น เชื้อชาติ ชาติพันธ์ บทบาทเพศ ชนชั้นทางสังคม และความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสถาบันหรือองค์กร
ความเป็นสากลของการดูแลทางวัฒนธรรม
Cultural diversity ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
Cultural universaity ความเป็นสากลทางวัฒนธรรม
ความเหมืนอกัน กับ ลักษณะเด่นเฉพาะ ของความหมาย แบบแผน ค่านิยม
เน้นการดูแลมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรม