Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดสำคัญที่สามารถนำมาใช้พัฒนาทักษะด้านความเข้าใจความ ต่างทางวัฒนธรรม
กรอบแนวคิดทางการ พยาบาล 4 มโนมติ
ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่เป็น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม บรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
ด้านบุคคล ซึ่งแตล่ะคนยอ่มมแีบบแผนการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพ เป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาล ควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
หลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
วัฒนธรรม คือ การให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจำวันของกลุ่มชน เรียนรู้สืบต่อกันเกิดพื้นฐานและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นลักษณะเฉพาะ
การดูแล คือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ เกิดการพัฒนา เกี่ยวข้องกับ สถานการณ์ของชีวิต แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม
การดูแลทางด้านวัฒนธรรม คือ คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุง สภาพการณ์ส่วนบุคคล การเผชิญความตาย ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมจะช่วยในการดูแลของ พยาบาล
การมองโลก คือ การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม เช่น ศาสนา เศรษฐกิจ และ การศึกษา ซึ่งให้ความหมายและระเบียบวัฒนธรรมแก่กลุ่มชน
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล คือ การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในวัฒนธรรมที่เฉพาะเพื่อ ดำรงไว้ซึ่งสุขภาพ หายจากการเจ็บป่วย และเผชิญความตาย
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ เฉพาะเจาะจง
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้ เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
การดูแลทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันจะยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ในการดูแลผู้ป่วยหรือ ผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในทุกวัฒนธรรม
มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ เชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดาเนิน ชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้ มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มี ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ วัฒนธรรม
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม และสอดคล้องตามวัฒนธรรม
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยคำนึงกฎระเบียบ และ จรรยาบรรณวิชาชีพ
สามารถรักษาลับของข้อมูล ความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการ พยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล ใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
ารวางแผนการพยาบาล ให้กระทำตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัว และเน้นการมีส่วนร่วม
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูลดูวิถีชีวิต และแนวคิดความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ สนองตอบต่อ ค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทำให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตาย อย่างสงบ ประเมินโดย ใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก