Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ - Coggle Diagram
บทที่ 3
การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ
ลักษณะทั่วไป ผิวหนัง ผม ขน เล็บ
การตรวจผิวหนัง
ใช้เทคนิค การดูและการคลำ
สีผิว (skin color)
ผิวสีซีด (pallor) นิยมตรวจบริเวณเยื่อบุ เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุช่องปากผิวหนัง ฝ่ามือ-เท้า ริมฝีปากและเล็บ พบในผู้ป่วย โลหิตจาง
ผิวเหลือง (jaundice) บริเวณที่ตรวจ คือ ตาขาว (sclera) เยื่อบุต่างๆ ฝ่ามือ-เท้า และผิวทั่วไป พบในผู้ป่วย โรคตับ
ผิวสีเขียวคล้ำ (cyanosis) บริเวณที่ตรวจ คือ ริมฝีปาก ใบหน้า ฝ่ามือ-เท้า ลิ้น และเล็บพบในผู้ป่วยโรคหัวใจ หอบหืด
ผิวสีแดง (erythema) บริเวณที่ตรวจ คือ ใบหน้า หน้าอกส่วนบนเกิดจากเส้นเลือดขยายตัว พบใน ภาวะไข้ อายุ ดื่มสุรา มีการอักเสบ
ผิวสีอื่นๆ จากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี เช่น ผู้สูงอายุ
ลักษณะผิว (skin texture) ความรู้สึกในการคล าผิวหนัง ผิวปกติจะเรียบ เกลี้ยง ไม่หยาบหรือขรุขระ เคลื่อนที่ได้ และเป็นไปตามอายุ
ความตึงตัว (skin turgor)หยิบผิวหนังและไขมันใต้ผิวหนังขึ้นมาแล้วปล่อย สังเกตดูว่าจีบหายไปเร็วหรือช้า
ภาวะปกติ ผิวหนังกลับสภาพเดิมทันที
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังตั้งอยู่นานเกิน
อุณหภูมิของผิวหนัง (temperature)
ภาวะปกติ ผิวหนังจะอุ่นทั่วกาย
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังร้อน ในรายมีไข้
ความชุ่มชื่น (moisture)
ภาวะปกติ ผิวจะแห้ง ชุ่มชื้น
ภาวะผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหงื่อขึ้นทั่วร่างกาย ผิวแห้งมากการไหลเวียนไม่ดี
เม็ดผื่นหรือตุ่ม (skin lesion) เมื่อพบเม็ดผื่นต่างๆ ให้ตรวจดู สี ชนิดหรือประเภทรูปร่างหรือการรวมกัน ตำแหน่งและการกระจาย
จุดเลือดออก จ้ำเลือดที่เกิดจากการขยายของหลอดเลือดชั้นตื้น
การบวม (edema)ใช้นิ้วมืออาจใช้นิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้นิ้วเดียว หรือนิ้วชี้ กลาง และนิ้วนาง กดลงบนผิวหนังที่ด้านหลังมีกระดูกรอง
ระดับการบวม มี 4 ระดับ
1+ กดบุ๋มลงไป 2 ม.มง
2+ กดบุ๋มลงไป 4 ม.ม
3+ กดบุ๋มลงไป 6 ม.ม
4+ กดบุ๋มลงไป 8 ม.ม
ลักษณะทั่วไป
การรู้สติและสภาวะทางด้านจิตใจ
ภาวะสุขภาพที่ปรากฎ
อาการแสดงของภาวะผิดปกติไม่สุขสบาย
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
กิริยา อารมณ์และความร่วมมือในการตรวจ
เสียงและการพูด
ท่าทาง การเคลื่อนไหว และท่าเดิน
การแต่งตัวและสุขวิทยาส่วนบุคคล
กลิ่นลมหายใจและกลิ่นตัว
สีหน้าที่แสดงออก
การตรวจผมและขน
ใช้เทคนิคการดู คลำ และดมกลิ่น
ภาวะปกติ สีผมจะเป็นธรรมชาติของเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์
ปริมาณผมมากในวัยรุ่น ผมควรนุ่ม ไม่หยาบและหักง่าย หนังศีรษะควรสะอาด
ภาวะผิดปกติ ผมเปลี่ยนสีไป (โดยไม่ย้อม) ผมร่วงมาก ผมหยาบเปราะ แตกง่าย ผมสกปรก มีรังแค เหา มีกลิ่น มีบาดแผลและตุ่ม
การตรวจเล็บ
ใช้การดูและคลำ มีจุดมุ่งหมาย ดูสี รูปร่าง ลักษณะเล็บ
ภาวะปกติ โคนเล็บจะนุ่มหยุ่นเล็กน้อย มุมระหว่างฐานเล็บ (nail base) กับผิวหนังโคนเล็บเล็บเป็นสีชมพู ผิวเล็บเรียบแนบสนิทกับเนื้อเยื่อด้านล่าง
ภาวะผิดปกติ เล็บไม่เรียบ นูนบางไม่เท่ากันนิ้วปุ้ม (clubbing finger) พบในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจเล็บรูปช้อน (spooning finger)พบในผู้ที่โลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
ศีรษะ ใบหน้า คอ
การตรวจศีรษะ
การดู ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตดูรูปร่าง
และขนาดของศีรษะ ผม หนังศีรษะ
การคลำ ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ ใช้ปลายนิ้ว
วนเป็นวงกลมและเบาๆไปทั่วศีรษะเริ่มส่วนหน้าของศีรษะ
ด้านข้าง ไล่ไปส่วนบนและท้ายทอยค้นหาก้อนผิดปกติ
และบริเวณท้ายทอยจะคลำหาต่อมน้ำเหลืองด้วย
การตรวจใบหน้า
การดู ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตความ
สมมาตรของใบหน้าการเคลื่อนไหวต่างๆบนใบหน้า
การกระจายของขนคิ้ว ขนตา หนวดเครา สีผิวลักษณะ
ของผิวหน้า ค้นหารอยโรค สังเกตมุมปาก การแสดง
ออกของใบหน้าการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า
Nephrotic syndrome : ใบหน้าบวมมาก จนทำให้สีผิว
ค่อนข้างซีด การบวมเริ่มจากบริเวณรอบๆตา
Cushing syndrome : ใบหน้าจะกลม เรียกว่า moon face
แก้มป่อง แดงผมหยาบ บาง มีหนวดหรือเครา
การตรวจคอ
การดู กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการก้มหน้าจน
คางชิดอก เอียงศีรษะไปด้านซ้ายและขวา หมุนศีรษะไปด้านซ้ายและขวา กล้ามเนื้อ trapezius ให้ผู้ใช้บริการแหงนหน้าให้ศีรษะไปด้านหลังจนสุดให้ยืดคอเต็มที่
ภาวะปกติ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ให้ทำ และเห็นพื้นที่หรือขอบเขตของคอ
ภาวะผิดปกติ คอเอียง คอแข็ง ไม่สามารถก้มคอเอียงคอ หมุนคอ แหงนหน้า ยืดคอได้
การคลำ กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการหันศีรษะไป
ด้านตรงข้ามผู้ตรวจวางมือบริเวณคางและแก้มบอกให้ผู้ใช้บริการหัน
ศีรษะกลับ โดยผู้ตรวจดันหรือกดมือต้านการหันศีรษะ กล้ามเนื้อ trapezius ผู้ตรวจวางมือบนไหล่ทั้ง 2 ข้างของผู้ใช้บริการ ให้ยกไหล่ขึ้นต้านแรงผู้ตรวจ
ภาวะปกติ สามารถต้านแรงผู้ตรวจได้
ภาวะผิดปกติ ไม่สามารถต้านแรงได้
การตรวจหลอดลมคอ
ใช้เทคนิค การคลำ ให้ผู้ใช้บริการอยู่ในท่านั่งหรือนอนหงาย หน้าตรง ก้มคอลงเล็กน้อยเพื่อให้กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid หย่อน ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือที่ถนัด แยงที่บริเวณ suprasternal notch ให้นิ้วอยู่ 2 ข้าง
ของหลอดลมคอ สังเกตความสะดวกในการแยง และสังเกตเนื้อนุ่มๆที่คลำพบ
ภาวะปกติ หลอดลมอยู่ตรงกลางคอ คือ นิ้วทั้งสองแยงได้สะดวก เท่ากัน
คลำได้เนื้อนุ่มๆเท่ากันทั้งสองข้าง
ภาวะผิดปกติ หลอดลมเฉไปทางใด นิ้วที่แยงของฝั่งตรงข้ามจะแยง
ได้สะดวกกว่าและอาจคลำพบวงกระดูกอ่อนของหลอดลมได้