Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไข ในการประกอบวิชาชีพการพ…
ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไข ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์
ข้อ ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒. ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาล ให้กระทําการพยาบาล การคัดกรองผู้ป่วย การเจ็บป่วยทางตาฉุกเฉิน หรือการเจ็บป่วยวิกฤต และการฟื้นฟูสมรรถภาพการมองเห็น
ข้อ ๔. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ให้กระทําการพยาบาลโดยการกระทําหัตถการ
๔.๑ การเขี่ยสิ่งแปลกปลอมออกจากตา (Remove conjunctival or corneal foreign body) ในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมไม่ฝังลึกในกระจกตาจนอาจเกิดอันตรายได
๔.๒ การวัดค่าสายตาผิดปกติ (Refraction) ด้วยเครื่องมือ retinoscope หรือ autorefractor และทดลองเลนส์แว่นตา (Trial Lens set)
๔.๓ การขูดหาเชื้อจากแผลกระจกตา (Corneal scraping and curette) และส่งเพาะเชื้อ จากบริเวณแผลกระจกตา
๔.๔ การวัดกําลังเลนส์แก้วตาเทียม (Intraocular lens power measurement) ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม
๔.๕ การล้างท่อน้ําตา (Lacrimal sac irrigation) ยกเว้นผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถให้ร่วมมือได้ เช่น ผู้ป่วยเด็กเล็ก หรือผู้ที่มีสติไม่สมบูรณ
๔.๖ การเจาะตากุ้งยิง (Incision and curette) ยกเว้นกรณีตากุ้งยิงอยู่ใกล้ท่อน้ําตา หรือ ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถให้ร่วมมือได้ เช่น ผู้ป่วยเด็กเล็ก หรือผู้ที่มีสติไม่สมบูรณ
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาล กระทําการรักษาโรคเบื้องต้น
๕.๑ ตรวจวินิจฉัยและบําบัดรักษาโรคทางตาตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลโดยเคร่งครัด
๕.๒ การตรวจประเมินสภาพผู้ป่วยและสายตาโดยการซักประวัติ ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคตา
(๑) ภาวะฉุกเฉินทางตา
(๒) ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ต้อหิน
(๓) ตาแดงจากไวรัส แบคทีเรีย ภูมิแพ้
(๔) ตากุ้งยิง
(๕) สายตาผิดปกติ สายตาสั้น ยาว เอียง ภาวะตาขี้เกียจ ตาเข สายตาเลือนราง
(๖) ท่อน้ําตาอุดตัน ตาแฉะ ตามีหนอง
๕.๓ การตรวจประเมินสภาพตาและสายตา การบันทึกผลการตรวจ และการแปลผล
(๑) การวัด VA (Visual Acuity)
(๒) การวัดความดันลูกตาด้วย Schiotz Tonometer
(๓) การตรวจดู retina ด้วย Direct Ophthalmoscope
(๔) การวัดความโค้งของกระจกตา และวัดกําลังเลนส์แก้วตาเทียม(Intraocular Lens)
(๕) การใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจสภาพตาส่วนหน้าด้วย Slit lamp biomicroscope การวัดแว่นด้วย Retinoscope , Auto Refractor การวัดกําลังแว่นสายตาด้วย Lensometer การวัดลานสายตา ด้วย Goldman VF , Computerized Visual Field
(๖) การบันทึกผลการตรวจประเมินสภาพผู้ป่วย
และการประเมินสภาพตาและสายตา
(๗) แปลผลการประเมินสภาพตาและสายตา
เพื่อประกอบการรักษาโรคเบื้องต้น
๕.๔ การตรวจประเมินภาวะฉุกเฉินทางตาที่ต้องให้การชวยเหลือเบื้องต้นและส่งต่อ
(๑) บาดเจ็บทางตาจากอุบัติเหตุหรือถูกทําร้าย
(๒) กรด ด่าง สารเคมีเข้าตา (Chemical burn)
(๓) ตาแดง บริเวณรอบกระจกตา (Perilimbal หรือ ciliary injection)
(๔) แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
(๕) ตามองเห็นไม่ชัด หรือ มืดมัวอย่างรุนแรง และเฉียบพลัน
(๖) มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง
(๗) เลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว ( Subconjunctival hemorrhage) ที่มีระดับการมองเห็น ( Visual acuity ) ลดลง
(๘) เยื่อบุตาฉีกขาด ( Conjunctival tear)
(๙) กระจกตาอักเสบจากแสงยูวี (U.V.keratitis)
(๑๐) กระจกตาทะลุ (Perforated cornea)
(๑๑) เห็นหยากไย้จุดดําลอยไปมาในลูกตา
และ/หรือเห็นแสงฟ้าแลบ
๕.๕ การตรวจวินิจฉัยแยกโรค และการให้รักษาโรคเบื้องต้น
(๑) เคืองตา
(๒) ตาแดง
(๓) ตามัว
(๔) อุบัติเหตุต้อดวงตาที่ไม่รุนแรง
ข้อ ๖ ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการบําบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เมื่อปรากฏ ตรวจพบ หรือ เห็นว่าอาการไม่บรรเทา มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน หรือมีเหตุอันควรอื่นๆเกี่ยวกับการ บําบัดรักษา เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์บําบัดรักษา เวชภัณฑ์
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องใช้ยา ให้ใช้ยาได้ตามที่สภาการพยาบาลกําหนด
ข้อ ๘ เขียนบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ อาการและการเจ็บป่วย โรค และการให้การรักษาโรค หรือการให้บริการตามความเป็นจริง และต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน