Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริกสัน Psychosocialแบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 …
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริกสัน Psychosocialแบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น
ขั้นที่ 1 ระยะทารก (Infancy period) อายุ 0-2 ปี
ขั้นไว้วางใจและไม่ไว้วางใจผู้อื่น (Trust vs Mistrust)
ขวบปีแรกทารกจะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดูแลเอาใจใส่ทุกด้าน
สอนให้ทารกพบกับสิ่งเร้าใหม่ๆ
วัยนี้ทารกจะมีความรู้สึกไวมากที่บริเวณปาก
ทารกเรียนรู้ที่จะไว้วางใจในสิ่งแวดล้อมอันได้แก่แม่ของตนเองเป็นต้น
ขั้นที่ 2 วัยเริ่มต้น (Toddler period) อายุ 2-3 ปี
มีความเป็นอิสระกับความละอายและสงสัย (Autonomy vs Shame and doubt)
เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
เด็กจะมีการพัฒนาตัวเองไปในลักษณะที่มีโอกาสเลือกลองและอยู่ในระเบียบวินัยไปในตัว
ทางตรงข้ามถ้าพ่อแม่เคร่งครัดเจ้าระเบียบให้เด็กอยู่ในระเบียบตลอดเวลาเด็กจะพัฒนาตัวเองไปในรูปแบบที่ไม่แน่ใจในตนเองหรือไม่กล้าที่จะทำอะไรด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
ขั้นที่ 3 ระยะก่อนไปโรงเรียน (Preschool period) อายุ 3-6 ปี
มีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) เป็นระยะที่เด็กมีการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
มีความสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบลองอะไรใหม่ๆ
เด็กจะย่างเข้าสู่ความรู้สึกไวในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ฉะนั้น เด็กจะติดอยู่ที่ปมออดิปุส
ถ้าพ่อแม่เข้มงวดควบคุมความประพฤติตลอดเวลา เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองทำผิดเมื่อพยายามทำอะไรด้วยตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 4 ระยะเข้าโรงเรียน (School period) อายุ 6-12 ปี
เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ มีความคิดและพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง
ขั้นเอาการเอางานกับความมีปมด้อย (Industry vs Inferiority)
เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ มีความคิดและพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง
หากไม่ได้รับการสนับสนุนจะทำให้เด็กมีความรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า อาจต้องถอยกลับไปสู่วัยทารกอีกเพื่อหลีกเลี่ยงภาระอันต้องรับผิดชอบ
ขั้นที่ 5 ระยะวัยรุ่น (Adolescent period) อายุ 12-20 ปี
เข้าใจอัตลักษณะของตนเองกับไม่เข้าใจตนเอง (Identity vs role confusion)
เริ่มสนใจเรื่องเพศ
เข้าใจอัตลักษณะของตัวเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร มีความเชื่ออย่างไร และตนเองเป็นใคร
เข้าไปผูกพันกับสังคมและต้องการตำแหน่งทางสังคม
หากไม่สามารถรวบรวมประสบการณ์ในอดีตได้ ก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เกิดความสับสน และความขัดแย้ง
ขั้นที่ 6 ระยะต้นของวัยผู้ใหญ่ (Early adult period) อายุ 20-40 ปี
ใกล้ชิดสนิทสนมกับความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว (Intimacy vs Isolation)
เริ่มมีการนัดหมาย การแต่งงาน และชีวิตครอบครัว
หากไม่สามารถประสบความสำเร็จในการแสวงหาแนวทางแห่งตนก็จะไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ได้ มักจะรู้สึกเหงา เปล่าเปลี่ยว ไม่รู้จะพึ่งพาใคร
ขั้นที่ 7 ระยะผู้ใหญ่ (Adult period) อายุ 40-60 ปี
ขั้นการอนุเคราะห์เกื้อกูลกับการพะว้าพะวงแต่ตัวเอง (Generativity vs Self-Absorption)
เป็นระยะที่บุคคลหันมาสนใจกับโลกภายนอก ริเริ่มสร้างสรรค์งานต่างๆ เพื่อสังคม คิดถึงผู้อื่น ไม่โลภหรือเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว
บุคคลที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้จะมีความรู้สึกคิดถึง หมกมุ่นอยู่กับตนเอง เป็นคนที่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง มีชีวิตอย่างไร้ความสุข
ขั้นที่ 8 ระยะวัยสูงอายุ (Aging period) อายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป
ขั้นความมั่นคงทางจิตใจกับความสิ้นหวัง (Integrity vs Despair)
วัยนี้เป็นวัยสุขุม รอบคอบ ฉลาด บุคคลจะยอมรับความเป็นจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีต
หากประสบความสำเร็จในอดีตก็จะรู้สึกไว้วางใจผู้อื่นและตนเอง
หากบุคคลต้องประสบกับความล้มเหลวและความผิดหวังในอดีต จะเกิดความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง รู้สึกคับข้องใจ และไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
อ้างอิง มัณฑรา ธรรมบุศย์. ทฤษฎีจิตสังคมของอีริกสัน. จิตวิทยาสำหรับครู.
นางสาวอัญมณี แอสมจิตร์ ปี3ห้องB เลขที่ 100