Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเขียนรายงานวิจัย, นางสาวคณิตา โคตรสุข รหัสนักศึกษา 61116301013…
การเขียนรายงานวิจัย
หลักการเขียนรายงานวิจัย 5 บท
บทที่ 1 บทนํา
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statement of the problems) กล่าวถึง ความเป็นมาของปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยในปัญหานั้น
เพื่อความ ก้าวหน้าของวิทยาการในแขนงนั้น รวมไปถึงการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ประสงค์จะค้นหาคำตอบ
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) คือ ข้อความที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ กำหนดเป็นข้อ ๆ ว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงใดบ้าง
1.3 ความสำคัญของการวิจัย (Significance of the research) คือ ข้อความที่ชี้ให้เห็นว่าเมื่อทำวิจัยแล้วเสร็จ
ข้อค้นพบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะใดอย่างไร
1.4 ขอบเขตของการวิจัย (Scope of study) เป็นการกำหนดหรือจำกัดวงให้ ชัดเจนว่า การวิจัยจะกระทำกับใครหรือสิ่งใด
1.5 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) คือ แนวคิดสำคัญ หลักการสำคัญ
ที่กำหนดขึ้นจากการประมวลมาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.6 สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) คือ ข้อความที่กำหนดขึ้น เพื่อคาดคะเนผลการวิจัยว่าจะเป็นลักษณะใด
1.7 ข้อตกลงเบื้องต้น (Basic assumption) คือ ความคิดพื้นฐานบาง
ประการที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ต้องการทำความเข้าใจกับผู้อ่าน
1.8 นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions) เป็นการให้ความหมายคำสำคัญบางคำ
ที่ใช้ในการวิจัย คำเหล่านั้นมีความหมายเฉพาะในการวิจัยครั้งนั้น
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (Theory) เป็นส่วนที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ รวบรวม ทฤษฎี หลักการ แนวคิดข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดย ครอบคลุมกว้างขวางและเจาะลึกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่จะทำ วิจัยอย่างชัดเจน
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related research) คือ ส่วนที่นำเสนอผลงาน วิจัยที่มีผู้ทำมาก่อนทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากร คือ หน่วยข้อมูลทุกหน่วยที่ต้องการศึกษา การกล่าวถึง ประชากรต้องระบุขอบเขต จำนวนและคุณลักษณะของประชากรให้ชัดเจน
3.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่จะนำมาศึกษา ต้องระบุขนาด ของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการและขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างละเอียด
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นการให้รายละเอียดเครื่องมือที่จะใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการอธิบายถึงวิธีการจัดกระทำกับข้อมูลที่ได้มา เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Results) เป็นบทที่นำเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางหรือในรูปอื่นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีการ แปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ต้องไม่แสดงความคิดเห็น หรืออภิปรายผล ประกอบการแปลความหมาย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บทที่นำเสนอผลการวิจัย โดยสรุปประเด็นสำคัญให้ เหตุผลหรืออ้างอิงประกอบ และเสนอแนะเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้หรือการวิจัยต่อ
ส่วนประกอบของรายงานวิจัย
ส่วนนำ
ปกนอก
ใบรองปก
หน้าปกใน
หน้าอนุมัติ
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
สารบัญอื่นๆ
ส่วนเนื้อเรื่อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ
ส่วนท้าย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
อภิธานศัพท์
ประวัติย่อผู้ทำวิทยานิพนธ์
ความหมายและประโยชน์ของงานวิจัย
ความหมาย
การเสาะแสวงหา ค้นคว้า หรือสำรวจ โดยทั่วถึงอย่างระมัดระวังเพื่อจะค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการมางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัยและมีแนวคิดหรือทฤษฎีสนับสนุนสมมติฐานที่ทดสอบ เพื่อให้องค์ความรู้ที่ค้นพบมีความน่าเชื่อถือ และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทางปฏิบัติ
ประโยชน์ของงานวิจัย
เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ
นำผลการวิจัยไปแก้ปัญหาได้
ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วยในการพิสูจน์ตรวจสอบทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ
ช่วยในการพยากรณ์สถานการณ์พฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
สามารถนำไปใช้ประการการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้
หลักการนำเสนอผลงานวิจัย ด้วย โปสเตอร์ วาจา
การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
โปสเตอร์ไม่ใช่บทความที่เอาไปแปะบนบอร์ด
โปสเตอร์ควร “แสดงให้เห็น” ไม่ใช่ “บอก” ข้อมูล
ตัวหนังสือใหญ่พอที่จะอ่านได้ชัดเจนจากระยะ 1-2 เมตร
สะดุดตา สวยงาม เป็นระเบียบ ไม่รกตา
เข้าใจได้ในเวลาสั้นๆ เสมือนเป็น “บทคัดย่อที่มีภาพประกอบ”
เตรียมการ
ตรวจสอบขนาด (กว้าง x สูง)
เลือกวัสดุที่เหมาะสม
พื้นผิวเรียบ ไม่ขรุขระ ไม่ยับยู่ยี่
ไม่เป็นเงา ไม่สะท้อนแสง
พื้นสีอ่อน ตัวหนังสือสีเข้ม
จุดมุ่งเน้น
กำหนดประเด็นที่ต้องการสื่อ ควรมุ่งเน้นเพียงประเด็นเดียว
ภาพและเนื้อหาทั้งหมดสัมพันธ์กับสารหลัก
ลดทอนรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อให้สารหลักโดดเด่น
(รายละเอียดต่าง ๆ สามารถให้เพิ่มได้โดยการพูดนำเสนอหรือเอกสารแจก)
การนำเสนอผลงานด้วยวาจา
การนำเสนอด้วยวาจาจะมีเวลาค่อนข้างจำกัด ประมาณ 10-15 นาทีสำหรับนำเสนอ และ 5-10 นาทีสำหรับการซักถาม ดังนั้น จึงต้องเตรียมทั้งเอกสารและความพร้อมของนักวิจัยในการนำเสนอผลงาน
รายงานวิจัยในรูปบทความวิจัยที่มีความยาว และรูปแบบการพิมพ์ตามข้อกําหนดของการประชุมทางวิชาการ
สไลด์หรือ PowerPoint สําหรับใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา และ/หรือ สําเนาเอกสารของสไลด์หรือPowerPoint
จำนวนสไลด์ประมาณ 10 แผ่น ประกอบด้วย
ชื่อผลงานและชื่อนักวิจัย
ปัญหาวิจัย และความสําคัญ/ประโยชน์ของผลงานวิจัย
ความเกี่ยวข้องระหว่างงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
กรอบแนวคิด สมมติฐานวิจัย
แบบแผนวิจัย ตัวแปร เครื่องมือวัดและคุณภาพเครื่องมือ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยที่สําคัญ
สรุปผลงานวิจัย
ข้อเสนอแนะ
การออกแบบสได์ประกอบด้วย
เนื้อหาในสไลด์ไม่ควรเกิน 10 บรรทัด
ใส่หมายเลขหน้าในสไลด์
ตรวจทานการสะกดคําในสไลด์ทุกแผ่น
รวมทั้งเตรียมทางเลือกในการนําเสนอกรณีอุบัติเหตุไฟฟ้าดับ คอมพิวเตอร์หยุดทํางาน
หลักการเขียนบทความวิจัย
บทความที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการคือ
เนื้อหาของบทความเป็นไปในทางเดียวกันเพื่อมุ่งสู่ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ
มีการเน้นย้ำประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนอด้วยประโยคใจความสำคัญหรือสาระสำคัญที่โดดเด่นเนื้อความตลอดเรื่องควรกล่าวย้ำประเด็นหลักสำคัญของเนื้อเรื่องที่เขียนที่บทความ
มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอดทั้งในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำข้อความและการจัดลำดับเรื่องทุกประโยคในแต่ละย่อหน้าและทุกย่อหน้าในแต่ละเรื่องต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยการใช้ตเชื่อมข้อความ ได้แก่ คำบุพบทเช่น แต่ แต่เพื่อคำสันธานเช่นรวมทั้งตลอดจนนอกจากนี้คำประพันธสรรพนามเช่นที่ซึ่งอันเป็นต้น
เนื้อความชัดเจนกระจ่างแจ้งอธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องหากเป็นความคิดเห็นต้องมีความสมเหตุสมผล
ต้องมีความสมบูรณ์ด้านการใช้ภาษาคือต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายการเขียนประเภทของบทความเนื้อหาบทความและกลุ่มผู้อ่าน
นางสาวคณิตา โคตรสุข รหัสนักศึกษา 61116301013 ชั้นปีที่ 3