Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 พรบ. วิชาชีพ นาย พงศกร สมพร 6001211320 - Coggle Diagram
บทที่4 พรบ. วิชาชีพ นาย พงศกร สมพร 6001211320
4.1 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔
การพยาบาล
การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับ การดูแลและการช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ
การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
อาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล
การผดุงครรภ์
การกระทำเกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือ
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน ความผิดปกติในระยะ
ตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาล
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้าย
หมวด ๑ สภาการพยาบาล
มาตรา ๗ สภาการพยาบาลมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(๑) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
(๒) ส่งเสริมการศึกษา การบริการ และการวิจัย
(๓) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
(๔) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน
(๕) ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการพยาบาล
มาตรา ๘ สภาการพยาบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
(๒) สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๓) ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระดับ อุดมศึกษา
(๔) รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร
(๕) รับรองหลกัสูตรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๖) รับรองวิทยฐานะของสถาบนัที่ทำการสอนและฝึกอบรมตาม
หมวด ๒ สมาชิก
มาตรา ๑๑ สภาการพยาบาลประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คือ
(๑) สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(ข) (๑)มีความรู้ในวชิาชีพการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์โดยได้รับปริญญา
(ค) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย
(ง) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
(จ) ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาการพยาบาลเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
มาตรา ๑๒ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญมีดังต่อไปนี้
(๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาลส่งไปยังคณะกรรมการ
(๓) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง
หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
กระทำ การพยาบาล หรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว
เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง
(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้ รับประโยชน์ตอบแทน
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบนัการศึกษาวิชาการ พยาบาล
(๔)สภากาชาดไทยมอบหมายให้กระทา การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ ในความควบคุมของเจา้หน้าที่ซึ่ง เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
(๕) ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๖) บุคคลซึ่งช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๒๙ การขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต
ใบอนุญาตทุกประเภทให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
4.2.1 ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๑ บททั่วไป
“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
จําเป็นต้อง ดําเนินการช่วยเหลือและการดูแลรักษาทันที
การเจ็บป่วยวิกฤต
การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต หรือพิการได้
หมวด ๒ การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนที่ ๑ การพยาบาล
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ให้กระทําการพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาล
จะต้องกระทําร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง
จะให้ยาผู้ป่วยได้เฉพาะที่แพทย์ซึ่งเป็นผู้บําบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาพยาบาล
การให้ยาผู้ป่วยดังกล่าวห้ามมิให้ยา หรือสารละลายทางหลอดเลือดดํา ทางช่องเยื่อบุไขสันหลัง หรือช่องไขสันหลัง
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
จะให้ยาผู้ป่วยได้เฉพาะที่แพทย์ซึ่งเป็นผู้บําบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาพยาบาล
๗.๑ ห้ามมิให้ยา หรือสารละลายทางช่องรอบเยื่อบุไขสันหลัง หรือช่องไขสันหลัง
๗.๒ ห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดํา เฉพาะที่สภาการพยาบาล ประกาศกําหนด
ส่วนที่ ๒ การทําหัตถการ
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
กระทําการพยาบาลโดยการทําหัตถการตามขอบเขตที่ กําหนด ดังนี้
๘.๑ การทําแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผล การตัดไหม การผ่าฝี ในตําแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสําคัญของร่างกาย การถอดเล็บ และการจี้หูดหรือจี้ตาปลา
๘.๒ การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตําแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสําคัญ
โดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
๘.๓ การล้างตา
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
จะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลประกาศกําหนดและได้รับใบรับรอง จากสภาการพยาบาล
๙.๑ การใส่และถอดห่วง (IUD)
๙.๒ การฝังและถอดยาคุมกําเนิด (Nor Plant)
๙.๓ การผ่าตัดตาปลา
๙.๔ การเลาะก้อนใต้ผิวหนัง บริเวณที่ไม่เป็นอันตราย
๙.๕ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี VIA
๙.๖ การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น (Cryotherapy)
ส่วนที่ ๓ การรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
การให้ภูมิคุ้มกันโรคได้จะต้องได้รับการศึกษา/อบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกําหนด และต้อง ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญเฉพาะทาง
สาขา เวชปฏิบัติชุมชน
กระทําการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกําหนดในการรักษาโรคเบื้องต้น
หมวด ๓ การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง
จะทําการผดุงครรภ์ได้แต่เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติ และคลอดอย่างปกติ ตลอดจนการพยาบาลมารดาและทารก
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
ในรายที่มีครรภ์ผิดปกติหรือคลอดผิดปกติ ถ้าไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทําการคลอดได้ภายในเวลาอันสมควร
ห้ามมิให้ใช้คีมสูงหรือทําผ่าตัดในการทําคลอดหรือให้ยารัดมดลูกก่อนคลอด หรือใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการทําคลอด
ในรายที่รกค้างถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายต่อมารดา
ให้ทําคลอดรกด้วยวิธี ดึงรั้งสายสะดือ ถ้ารกไม่คลอดให้ส่งต่อทันที
ในรายที่มีการตกเลือดหลังคลอดถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายต่อมารดา
ให้รักษาอาการ ตกเลือดเบื้องต้นตามความจําเป็น และส่งต่อทันที
ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง
จะต้องใช้ยาทําลายและป้องกันการติดเชื้อสําหรับหยอดตา หรือป้ายตาทารก เมื่อคลอดแล้วทันที
ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง
จะต้องบันทึกการรับฝากครรภ์และการทําคลอดทุกราย
และต้องรักษาสมุดนั้นไว้เป็นหลักฐาน
4.3 ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ว่าด้วยข้อจํากัด และเงื่อนไข
ข้อ ๔. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
ท่ีผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา
ให้กระทําการพยาบาลโดยการกระทําหัตถการดังนี้
๔.๑ การเขี่ยส่ิงแปลกปลอมออกจากตา
๔.๒ การวัดค่าสายตาผิดปกติ
๔.๓ การขูดหาเชื้อจากแผลกระจกตา (Corneal scraping and curette) และส่งเพาะเชื้อ จากบริเวณแผลกระจกตา
๔.๔ การวัดกกลังเลนส์แก้วตาเทียม
๔.๕ การล้างท่อนํ้าตา
ยกเว้น ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถให้ ร่วมมือได้เช่น ผู้ป่วยเด็กเล็ก หรือผู้ที่มีสติไม่สมบูรณ์
๔.๖ การเจาะตากุ้งยิง
ยกเว้นกรณีตากล้องกุ้งยิงอยู่ใกล้ท่อน้ําตา หรือ ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถให้ร่วมมือได้
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาท่ีสภาการพยาบาลให้การรับรอง
กระทําการรักษาโรคเบื้องต้น ดังนี้
๕.๑ ตรวจวินิจฉัยและบําบัดรักษาโรคทางตาตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลโดยเคร่งครัด
๕.๒ การตรวจประเมินสภาพผู้ป่วยและสายตาโดยการซักประวัต
(๑) ภาวะฉุกเฉินทางตา
(๒) ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ต้อหิน
(๓) ตาแดงจากไวรัส แบคทีเรีย ภูมิแพ้
(๔) ตากุ้งยิง
(๕) สายตาผิดปกติ สายตาสั้น ยาว เอียง ภาวะตาขี้เกียจ ตาเข สายตาเลือนราง
(๖) ท่อน้ําตาอุดตันตาแฉะ ตามีหนอง
๕.๓ การตรวจประเมินสภาพตาและสายตา การบันทึกผลการตรวจ และการแปลผล
(๑) การวัด VA (Visual Acuity)
(๒) การวัดความดันลูกตาด้วย Schiotz Tonometer
(๓) การตรวจดู retina ด้วย Direct Ophthalmoscope
(๔) การวัดความโค้งของกระจกตา และวัดกําลังเลนส์แก้วตาเทียม
(๕) การใช้เครื่องมือ พิเศษในการตรวจสภาพตาส่วนหน้าด้วย Slit lamp biomicroscope
(๖) การบันทึกผลการตรวจประเมินสภาพผู้ป่วย และการประเมินสภาพตาและสายตา
(๗) แปลผลการประเมินสภาพตาและสายตา
๕.๔ การตรวจประเมินภาวะฉุกเฉินทางตาที่ต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและส่งต่อ
(๑) บาดเจ็บทางตาจากอุบัติเหตุหรือถูกทําร้าย
(๒) กรด ด่าง สารเคมีเข้าตา (Chemical burn)
(๓) ตาแดง บริเวณรอบกระจกตา
(๔) แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
(๕) ตามองเห็นไม่ชัด หรือ มืดมัว อย่างรุนแรง
(๖) มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง
(๗) เลือดออกใต้เยื่อ บุตาขาว
(๙) กระจกตาอักเสบจากแสงยูวี
(๑๐) กระจกตาทะลุ
(๑๑) เห็นหยากไยจุดดําลอยไปมาในลูกตา
๕.๕ การตรวจวินิจฉัยแยกโรค และให้การรักษาโรคเบื้องต้น
(๑) เคืองตา
(๒) ตาแดง
(๓) ตามัว
(๔) อุบัติเหตุต่อดวงตาที่ไม่รุนแรง
4.4ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๓ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด
เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ต้องมีวัตถุประสงค์
(๑) การตรวจวิเคราะห์หรือการวินิจฉัยโรค
(๒) การวางแผนบาบัดหรือรักษาโรค
(๓) การประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล
(๔) การบริจาคโลหิต
ข้อ ๔ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดต้องเป็นแนวปฏิบัติทางการพยาบาล
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลไม่เป็นผู้ตรวจวิเคราะห์หรือวินิจฉัย
เว้นแต่กรณีการให้บริการแก่ผู้รับบริการ รายที่ตนเองเป็นผู้ดูแลในลักษณะการตรวจ ณ จุดดูแลผู้รับบริการ
ได้แก่ การตรวจระดับน้าตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
ข้อ ๕ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด
ต้องเป็นการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว หรือจากหลอดเลือดดาส่วนปลาย
ข้อ ๖ การเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดาส่วนกลาง
ตามแผนการรักษา ให้จัดเก็บจากสายสวนหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดาส่วนกลาง
4.5ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๒ การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ส่วนที่ ๑ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของวิชาชีพ
สินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่จูงใจหรือชักชวนผู้ใดให้มาใช้บริการการพยาบาล
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่เรียกร้องขอรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทน
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการโดยสุภาพและปราศจาก การบังคับขู่เข็ญ
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
ข้อ ๑๒ ต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คํานึงถึงความปลอดภัย
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่สั่งใช้หรือสนับสนุนการใช้ยาตําราลับ
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นเท็จโดยเจตนา
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการ
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย
ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ประกอบการในทางสาธารณะ หรือสถานที่สาธารณะ
เว้นแต่ ในเหตุฉุกเฉินในการปฐมพยาบาล
ส่วนที่ ๔ การศึกษาวิจัยและการทดลองต่อมนุษย์
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ทําการทดลองต่อมนุษย์
ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลอง
ต้องพร้อมที่จะป้องกันผู้ถูกทดลองจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองนั้น ๆ
ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องปฏิบัติต่อผู้ถูกทดลอง
ข้อ ๒๗ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องรับผิดชอบต่ออันตราย
ข้อ ๒๘ ผู้ประกอบวิชาชีพ สามารถทําการวิจัยได้เฉพาะเมื่อได้โครงการศึกษาวิจัย
การทดลองดังกล่าว ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการด้านจริยธรรมที่เก่ียวข้องแล้วเท่าน้ัน
ข้อ ๒๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัย
หมวด ๓ การโฆษณาการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ข้อ ๓๐ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่โฆษณา ใช่จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ความรู้ ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพของตน
ข้อ ๓๑ การโฆษณาตามข้อ ๓๐ อาจกระทําได้ในกรณี ต่อไปนี้
(๑) การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการหรือในการประชุมวิชาการ
(๒) การแสดงผลงานในหน้าที่หรือในการบําเพ็ญประโยชน์สาธารณะ
(๓) การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้าทางวิชาการเพื่อการศึกษาของมวลชน
ข้อ ๓๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ทําการเผยแพร่หรือตอบปัญหาทางสื่อมวลชน
ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แจ้งสถานท่ีทําการประกอบวิชาชีพส่วนตัวเป็นทํานองการโฆษณา
ข้อ ๓๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมีมิให้การประกอบวิชาชีพการพยาบาล