Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
คําว่า “ข้าม” ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึง ข้ามพรมแดน หรือใช้หลักการทางภูมิศาสตร์ แต่หมายถึงการข้าม วัฒนธรรมซึ่งเป็นหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์
cross cultural ไม่ได้มีการเชื่อมโยงของคนในลักษณะของการเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ แต่เป็น การศึกษาความแตกต่างหรือความหลากหลายภายในวัฒนธรรม
ส่วน transcultural เป็นการเน้นการเข้าไป อยู่ด้วยและมีการเชื่อมโยงของคนต่างวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) จึงเป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม
รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แบบแผนของพฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคําตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมจึงความสําคัญต่อระบบบริการสุขภาพ
การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง มีการ เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันในการดํารงตําแหน่งในสังคมของชายหญิงเพิ่มขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม และ ประชาชนสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการ
ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้สถานบริการต้องเร่งจัดระบบการ ให้บริการเพื่อรองรับประชาชนที่มีความหลากหลายและมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันตามสภาพพื้นที่
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
พยาบาลมีความไว (Sensitive) ในการรับรู้ความ แตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้รับบริการ เข้าใจ และตอบ สนองความคาดหวังของผู้รับบริการต่างวัฒนธรรมได้มากเพียงใดก็จะส่งเสริมให้ประสิทธิภาพในการให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรอบแนวคิดทางการพยาบาล 4 มโนมติ
ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบุคคล
ด้านสุขภาพ
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
พัฒนาแนวคิดของการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่โดยเน้นองค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติของญี่ปุ่น
การให้ความสําคัญกับความเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยกายและจิต
การสร้างสัมพันธภาพเป็นจุดสําคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแลคน
ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย รวมทั้งการให้คุณค่ากับประเพณีวัฒนธรรมในการดูแลแบบโบราณ
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลา
หลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
การให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจําวันของกลุ่มชนเรียนรู้สืบต่อกัน
การดูแล
คือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ
การดูแลทางด้านวัฒนธรรม
คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุงสภาพการณ์ส่วนบุคคล
การมองโลก
การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
จะพิจารณาถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา ตลอดจนความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วย
พยาบาลต้องมีความไวทางวัฒนธรรม นอกจากนี้องค์กรที่มีความไวทางวัฒนธรรมจะมีการดําเนินการจัดหาล่ามสําหรับการสื่อสารไว้อย่างเป็นระบบ
การพยาบาลในความหลากหลายทางวัฒนธรรม สุขภาพในแต่ละมิติ โดยเฉพาะมิติด้านร่างกาย สังคม จิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณนั้นมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
การเข้าใจวัฒนธรรมของผู้รับบริการ จึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง และความจริงที่สําคัญในแต่ละชุมชนสังคมที่มีความต่างทางวัฒนธรรมมากน้อยแตกต่างกันไปทั้งศาสนา เชื้อชาติ ภาษา
การดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity)
มีความเข้าใจตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อ
มีบุคลิกภาพท่าทางเป็นมิตรเข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสาร
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
สามารถรักษาลับของข้อมูลความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติศาสนาและวัฒนธรรม