Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การพยาบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
การพยาบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม (Environment)
สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต อาจเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีลักษณะทางกายภาพที่มองเห็นได้ จับต้องได้ หรือสัมผัสด้วยประสามสัมผัสอื่นๆ ได้ เช่น มนุษย์ พืช สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ สิ่งของต่างๆ หรือเป็นนามธรรมซึ่งไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆ ได้ เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ
การจำแนกประเภทของสิ่งแวดล้อม
จำแนกตามลักษณะของการมีชีวิต ได้ 2 ประเภท ดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environments) หมายถึง สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า สืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้ เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย
2.สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environments) หมายถึง สิ่งที่ไม่มีคุณสมบัติของสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เช่น ดิน หิน อากาศ น้ำ แสงสว่าง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
จำแนกตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมได้ 4 ประเภท ดังนี้
3.สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ (Biological Environments) หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีองค์ประกอบของสิ่งที่มีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และมนุษย์มีบทบาทสำคัญทั้งในการช่วยอนุรักษ์และทำลายสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
2.สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นสารเคมีที่อาจอยู่ในสถานะ ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ สารเคมีเหล่านี้อาจก่อให้เกิดโรคและภัยต่อมนุษย์ได้หากมีการนำมาใช้และมีการควบคุมป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่เหมาะสม
4.สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม (Social Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มี ลักษณะเป็นนามธรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในการกำหนดพฤติกรรมและการใช้ชีวิตในสังคม ได้แก่ จารีตประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา เป็นต้น
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environments) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ดิน หิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคาร บ้านเรือน ถนน เครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ
จำแนกตามลักษณะของการเกิด แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Environments) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นรูปธรรม มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ พืช และสัตว์ เป็นต้น
2.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Environments) หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์หรือการจัดระเบียบของการอยู่ร่วมกันในสังคม สิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอำนายความสะดวกต่างๆ ส่วนสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ประเพณี วัฒนธรรม กฎหมาย ศาสนา เป็นต้น
อนามัย (Health)
ตามความหมายขององค์การอนามัยโลกได้ให้ไว้ว่า “สภาวะที่มีสุขภาพสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและความทุพพลภาพ (Health is defined as a state complete physical, mental and social well-being and merely the absence of disease infirmity) “ตาม
การสุขาภิบาล (Sanitation)
“สุขาภิบาล” มาจากคำว่า สุข + อภิบาล ดังนั้นคำว่าการสุขาภิบาลจึงหมายถึง การระวังรักษาเพื่อให้เกิดความสุข และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Environment Sanitation) จึงหมายถึง การระวังรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสุขนั่นเอง ซึ่งองค์การอนามัยโรคได้ให้ความหมายไว้ว่า “การควบคุมสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหมดของมนุษย์ ที่กระทำหรืออาจจะกระทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการของร่างกาย สุขภาพและการดำรงชีวิตอยู่รอดของมนุษย์”
อนามัยสิ่งแวดล้อม (Environment Health) มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมมากจนอาจใช้แทนกันได้ องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้
ความหมายที่สองกล่าวว่า อนามัยสิ่งแวดล้อมหมายถึง “การควบคุมสิ่งแวดล้อมทุกด้านทั้งด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลหรืออาจมีผลทั้งทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม”
ความหมายแรกกล่าวว่า อนามัยสิ่งแวดล้อมหมายถึง “ความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่ต้องจักให้มีขึ้น เพื่อที่จะทำให้มวลมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งไม่เพียงแต่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ยังต้องมีความสัมพันธ์เชิงสังคมกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ในทำนองเดียวกันความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์แต่ละคนก็ส่งผลถึงสิ่งแวดล้อมโดยรวมเช่นกัน”
ดังนั้น อนามัยสิ่งแวดล้อม จึงหมายถึง “การจัดการและควบคุมสิ่งแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสมดุยล์ของระบบนิเวศน์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม”
จัดทำโดย นางสาวศิญาพร เถาวัลย์ราช รหัสนักศึกษา 611410009-8 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3