Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และ การปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือน
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม
ความต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
ความสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพ
ประชาชน สามารถเข้าถึงสถานบริการในทุกระดับได้ดี
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และ สิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น
การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ
ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการจึงทำให้พยาบาลชุมชน
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการนำแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม (holistic nursing)
มา ผสมผสานกับแนวคิดมานุษยวิทยา (anthropology)
กรอบแนวคิดทางการ พยาบาล 4 มโนมติ
ด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
สิ่งแวดล้อมทางสังคม
สิ่งแวดล้อมที่เป็น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
ด้านบุคคล
แต่ละคนย่อมมแีบบแผนการดำเนินชีวิต
พฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพ
การผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาล ควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
หลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
วัฒนธรรม คือ การให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจำวันของกลุ่มชน
การดูแล คือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ
การดูแลทางด้านวัฒนธรรม คือ คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุง สภาพการณ์ส่วนบุคคล
การมองโลก คือ การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล คือ การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในวัฒนธรรมที่เฉพาะเพื่อ ดำรงไว้
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม คือช่วยเหลือให้ผู้รับบริการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ เฉพาะเจาะจง
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้ เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม
มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ
มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ วัฒนธรรม
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้ มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม และสอดคล้องตามวัฒนธรรม
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
สามารถรักษาลับของข้อมูล ความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการ พยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูล ดูวิถีชีวิต และแนวคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล ใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
การวางแผนการพยาบาล ให้กระทำตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัว และเน้นการมีส่วนร่วม
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล
ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทำให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตาย อย่างสงบ