Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหา ทางโลหิตวิทยา - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหา
ทางโลหิตวิทยา
ซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency anemia)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ การตั้งครรภ์ของมารดา ประวัติการคลอด ชนิดของนมและอาหารเสริม
การตรวจร่างกาย เพื่อสังเกตและหาสาเหตุภาวะซีด ได้แก่ สีผิว ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เยื่อบุตา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เม็ดเลือด แดงของผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจาก การขาดธาตุเหล็กจะมีขนาดเล็ก ติดสีจาง serum ferritin น้อยกว่า 10 นาโนกรัม/ดล
สาเหตุ
เกิดจากการรับประทานอาหารกลุ่มที่มีธาตุเหล็กมากไม่เพียงพอ ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อปลา ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ผลไม้อบแห้ง ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักขมและผักชาร์ด (chard) ขนมปังธัญพืช
ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ บางครั้งเรารับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว แต่นั่นอาจยังไม่พอถ้าร่างกายเราไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเหมาะสม
ผู้ที่เคยผ่าตัดลำไส้ เช่น กระเพาะอาหาร หรือผู้ที่เป็นโรค Crohn's disease หรือโรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease)
การรับประทานทานยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหารอาจส่งผลให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กน้อยได้
การเสียเลือด เมื่อไหร่ก็ตามที่เสียเลือดจะเสียธาตุเหล็กไปด้วย ยิ่งเสียเลือดมาก ก็ยิ่งเสียธาตุเหล็กมากจะมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กหากร่างกายมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ทดแทนธาตุเหล็กที่เสียไปพร้อมกับการเสียเลือด
การรักษา
ให้ยาถ่ายพยาธิหรือให้ยารกษาโรคกระเพาะ
การให้คําแนะนําเรื่องโภชนาการเช่ นแนะนําเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก
ยาธาตุเหล็กชนิดรับประทาน
Ferrous sulfate drop (25 mg/ml) ในเด็กเล็กขนาดที่ให้คือ 4-6 mg/kg/day โดยแบ่งให้ 2-3 ครั้ง
Ferrous sulfate (300 mg/tab) หรือ ferrous gluconate (320 mg/tab) ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่โดยแบ่งให
2-3 ครั้ง
อาการและอาการแสดง
ปวดศีรษะ เฉืÉอยชา
ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่Ũา
เบืออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้อง
ซีด : สีผิวหนัง ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เหงือก เปลือกตาด้านใน
เหนื่อยง่าย: เนืองจากหัวใจต้องทํางานเพิ่มขึ้นในการทีจะหมุนเวียนเม็ดเลือดแดงทีมีน้อยลงให้นําออกซิเจนไปยัง เซลล์ให้เพียง
โรคไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia)
อาการและอาการแสดง
Low Platelet
เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีจุดจ้ำเลือดตามลำตัว และแขนขา เลือดออก ตามไรฟันและเลือดกำเดา เลือดออกในทางเดิน อาหาร ทำให้มีอาการอาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด
Low RBC
ซีด เหนื่อยง่าย ชีพจรเบาเร็ว และถ้ามีการเสีย เลือดร่วมด้วย ทำให้มี อาการซีดรุนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ความหมาย
หมายถึง ภาวะโลหิตจางจาก ไขกระดูกไม่ทำงาน หรือ โรคไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anemia) เป็น ภาวะที่มี RBC, WBC, Plt. น้อยลงหรือไม่มี เนื่องจากมีความผิดปกติของไขกระดูก
สาเหตุ
ความผิดปกติแต่กำเนิด
(Congenital)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังจากการทำลาย
ของเนื้อเยื่อstem cell ใน
ไขกระดูก จากหลายสาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
การได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยาเคมีบำบัด,Chloramphenical,ยากันชัก
การได้รับสารเคมีบ่อยๆซึ่งเป็นพิษต่่อระบบเลือด เช่น ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์
เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อ เช่นไวรัสตับอักเสบ
เกิดภายหลังการได้รับรังสีการรักษาในขนาดสูง
พยาธิสภาพ
การได้รับสารเคมี ยา หรือเชื้อจุลชีพบางชนิด รวมทั้งการ ได้รับรังสีรักษา และภาวะผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในไขกระดูก ทำให้มีการทำลายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) มีผลทำให้ จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดลดลง หรือทำให้กระบวนการเจริญ เติบโตของเซลล์ต้นกำเนิดไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ เสีย ไป ทำให้เม็ดเลือดทั้งสามชนิดลดลง และเกิดอาการของโรคขึ้น
การรักษา
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่ไขกระดูกไม่ทำงานขั้น รุนแรง คือ ซีด เลือดออก และติดเชื้อรุนแรง ไม่ตอบสนอง ต่อการรักษาด้วยยา โดยเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกจากพี่น้องพ่อแม่ เดียวกัน จะช่วยให้ ผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้ถึงร้อยละ 80 - 90
การรักษาด้วยฮอร์โมน ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไม่รุนแรงมาก เนื่องจากฮอร์โมน Androgen จะกระตุ้นให้ร่างกายมีการ หลั่ง Erythropoietin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้าง เม็ดเลือดแดง
การรักษาด้วยยากดระบบ Immune ใช้ในผู้ป่วยเด็กภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงานที่มีผลต่อ การตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าไขกระดูกไม่ทำงานจากปฏิกิริยาทาง อิมมูน ยากดระบบอิมมูน ได้แก่ Antilymphocyte Globulin (ALG), Antithymocyte Globulin (ATG) หรือ Cyclosporin
การรักษาตามอาการ เป็นการรักษาประคับประคองตาม อาการ ได้แก่ การรักษาด้วยการให้เลือด เมื่อผู้ป่วยมี อาการซีดรุนแรง หรือมีเลือดออกใน อวัยวะต่างๆ การรักษาภาวะติดเชื้อ เป็นต้น
ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD (G-6-PD Deficiency)
ความหมาย
ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-PD ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติทําให้เกิด การแตกของเม็ดเลือดแดงอย่าง เฉียบพลันถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X – linked ส่วนใหญ่พบในเพศชาย
สาเหตุ
ยา ยารักษามาลาเรีย ยาปฏิชีวนะ เช่น chloramphenical ยาแก้ปวด เช่น aspirin, paracetamal
สารเคมีเสื้อผ้าที่อบด้วยลูกเหม็น
อาหาร ถั่วปากอ้าดิบๆ
การติดเชื้อ: ไทฟอยด์ ปอดอักเสบ
ตับอักเสบ ไข้หวัด มาลาเรีย
อาการและอาการแสดง
1.ซีดลงอย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะดําเป็นสีโค้ก (Hemoglobinuria)
ภาวะไตวาย เนื่องจากมีกรดยูริกเพิ่มจํานวนขึ้นไปอุดหลอดเลือดฝอยในไต
ตัวเหลืองภายหลังคลอดในทารกแรกเกิดที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-P-D
ภาวะซีดเรื้อรัง
การรักษา
หาสาเหตุที่ทําให้ผู้ป่วยเกิดอาการ ซีดได้แก่ ชนิดของยาหรือสารเคมีที่ได้รับก่อนเกิดอาการ
การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะไตวาย
ให้เลือด ถ้ามีอาการซีดมาก ๆ
ทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลืองรักษาด้วย Phototherapy
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
การรักษา
รับประทานวิตามิน โฟลิค วันละเม็ด
ได้รับเลือดเมื่อซีดมาก
ตัดม้ามเมื่อต้องรับเลือดบ่อย และม้ามโตมาก
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซีดมาก ต้องรับเลือดบ่อย จะมีภาวะเหล็กเกิน ควรฉีดยาขับเหล็ก เช่น เดสเฟร์ริอ๊อกซามีนหยดเข้าใต้ผิวหนังวันละ 10 ชั่วโมง
อาการและอาการแสดง
ชนิดที่มีความรุนแรงสูง เด็กอาจเสียชีวิตในครรภ์หรือหลังคลอดออกมาได้ไม่นาน โดยทารกจะบวมน้ำ ซีดมาก ท้องโตจากการที่ตับและม้ามโต และหัวใจวาย
ชนิดที่มีความรุนแรง เด็กอาจเริ่มมีอาการในขวบปีแรก และอาการจะมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเด็กจะอ่อนเพลีย ผิวซีดหรือเหลืองคล้ายเป็นดีซ่าน ท้องโตจากการที่ตับและม้ามโต กระดูกใบหน้าผิดปกติ โดยกระดูกตรงใบหน้าจะยุบ จมูกแบน โหนกแก้มสูง คางและกระดูกขากรรไกรใหญ่ แคระแกร็นหายใจลำบากหรือเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ชนิดที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง เด็กจะมีอาการซีด ซึ่งอาจต้องได้รับการให้เลือดเป็นครั้งคราว รวมทั้งรู้สึกเหนื่อยง่าย
การป้องกัน
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์เมื่อต้องการมีลูก เพื่อตรวจคัดกรองว่าคู่สามีภรรยามีพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยธาลัสซีเมียสามารถควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรงและใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำและแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัดและใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ
การรักษา
การให้เลือดเพื่อแก้ไขภาวะซีด ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับเลือดที่ไม่เพียงพอ จะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติ เจริญเติบโตช้า ไขกระดูกส่วนต่างๆ ทำงานหนักเพื่อสร้างเม็ดเลือดขึ้นชดเชยเม็ดเลือดแดงที่แตกไป จึงมีการขยายขนาดของกระดูกใบหน้า และกระดูกอื่นๆ ทำให้มีรูปหน้าเปลี่ยนแปลงไป กระดูกพรุนและหักง่าย นอกจากนี้ยังมีการขยายขนาดของตับม้าม เพื่อช่วยสร้างเม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีตับม้ามโตร่วมด้วย
การรับประทาน กรดโฟลิค เสริมตลอดชีวิต เพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือด
การรับประทานยาฆ่าเชื้อ ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ได้รับการตัดม้าม ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น จึงควรได้รับวัคซีนก่อนตัดม้าม และได้รับประทานยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อจนกว่าจะอายุเกิน 5 ปี
การขับเหล็ก เนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมีย จะมีการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ และได้ธาตุเหล็กปริมาณมาก จากการรับเลือดแต่ละครั้ง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เครื่องในสัตว์ และควรได้รับยาขับเหล็ก เมื่อมีค่าเฟอร์ริติน ซึ่งแสดงถึงธาตุเหล็กในร่างกายเกิน 1000 ไมโครกรัมต่อลิตร
โรคเกล็ดเลือดต่ำ Idiopathic Thrombocytopenic Purpura (ITP)
ความหมาย
ภาวะที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 เซลล์/ไมโครลิตร ค่าปกติของเกล็ดเลือด เท่ากับ 140,000 – 400,000 เซลล์/ ไมโครลิตร ระดับเกล็ดเลือดตํ่ากว่า 20,000 เซลล์/ ไมโครลิตร ถือว่ามี ภาวะเกล็ดเลือดตํ่ารุนแรง และอาจเกิดการ มีเลือดออกในอวัยวะ
อาการและอาการแสดง
จุดจ้ำเลือดที่ผิวหนัง ทั้งที่เป็นจุดเล็ก ๆ (petechiae) และเป็นจํ้าเลือด (ecchymosis) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือ ภายหลังการกระทบกระเทือนเพียง เล็กน้อย
เลือดกําเดาไหล
เลือดออกในเยื่อบุต่างๆ
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ
ร่วมด้วย เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำดหลืองโตแต่อาจตรวจพบอาการซีดถ้าภาวะเลือดออกเกิดขึ้นช้าๆและไม่รุนแรง
สาเหตุ
การสร้างเกล็ดเลือดลดลง เนื่องจากโรคของไขกระดูกเอง
เกล็ดเลือดถูกทําลายมากกว่าปกติ
เกล็ดเลือดถูกใช้ไปมากกว่าปกติ
การรักษา
ส่วนใหญ่โรคหายได้เอง 70-80 % ภายในเวลา 1-2 เดือน และจะไม่กลับเป็นซ้ำอีก บางราย ที่ไม่หาย หรือมีเลือดออกใต้ผิวหนัง หลายแห่ง หรือมีจุดเลือดออกในปาก ควรให้กิน prednisolone เพื่อให้ผนัง ของหลอดเลือด แข็งแรงขึ้น ในรายที่เกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น ก็ค่อยๆ ลดขนาดของยาลงจนหยุด
Hemophilia
อาการและอาการแสดง
ลือดออกปริมาณมากผิดปกติหลังมีดบาด ทำฟัน หรือผ่าตัด
มีรอยฟกช้ำจ้ำใหญ่ทั่วร่างกาย
เลือดออกผิดปกติหลังฉีดวัคซีน
เลือดกำเดาไหลไม่มีสาเหตุ
ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด
ปวดตึงที่ข้อต่อ
หากเป็นในเด็กทารก ก็จะร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
ปวดและบวมตามข้อแบบเฉียบพลัน เช่น หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก หัวเข่า กล้ามเนื้อขาและแขน เป็นต้น
เลือดไหลไม่หยุดเมื่อบาดเจ็บ
ปวดศีรษะรุนแรง
อาเจียนบ่อย
เห็นภาพซ้อน
เหนื่อยล้ามาก
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือด คือ แฟคเตอร์ VIII, IX, XI ซึ่งมรการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ แบบ X-linked recessive นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยฮีโมฟีเลียจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีผู้ใดในครอบครัวมีอาการของโรคเลือดออกง่ายหยุดยากมาก่อน เกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือแม่เป็นพาหะ
การรักษา ไม่สามารถหายขาดได้
ใช้ยาไทลินอลเมื่อมีอาการปวดแทนแอสไพริน และแอดวิล (Advil) เนื่องจากฤทธิ์ยาทำให้เลือดออกง่าย
หลีกเลี่ยงการใช้ยาละลายลิ่มเลือด เช่น Plavix และ Coumadin ซึ่งเป็นยาต้านการอุดตันของหลอดเลือด
ออกกำลังกาย เช่น เดินหรือว่ายน้ำ หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกัน เช่น ฮอกกี้ บาสเกตบอล หรือ ฟุตบอล
รักษาสุขภาพช่องฟัน ด้วยการแปรงและใช้ไหมขัดฟันสม่ำเสมอ เพื่อเลี่ยงโอกาสที่จะได้รับการรักษาด้วยการทำหัตถการในช่องปากซึ่งเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก เช่น การถอน การรักษารากฟัน และการใส่ฟัน เป็นต้น
เลือกเครื่องใช้ในบ้านที่ไม่มีมุมเหลี่ยม
ใส่หมวกกันน็อก สนับเข่า ขณะทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
Acquired Prothrombin Complex Deficiency (APCD)
ความหมาย
ภาวะเลือดออกผิดปกติในทารกขวบปีแรก เนื่องจากขาดองค์ประกอบในการ แข็งตัวของเลือดตัวที่ 2 7 9 และ10 (Prothrombin Complex) โดยส่วนใหญ่จะมีอาการเลือดออกในสมอง พบ มากที่สุดในช่วงอายุ 1-2 เดือน
สาเหตุ
ทารกแรกเกิดมีวิตามินเคในเลือดน้อยมาก
ทารกไม่ได้รับวิตามินเค เมื่อแรกเกิด
การได้รับอาหารเสริมที่ไม่ถูกต้อง
พยาธิสภาพ
โปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์ คือ กลุ่มขององค์ประกอบในการ แข็งตัวของเลือดตัวที 2,7,9,10 ซึ่งสร้างโดยตับ โดยมีวิตามินเค เป็น ส่วนประกอบสําคัญที่จะทําให้เกิดการสร้างโปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์ ทีเป็น active form เมืÉอร่างกายขาด โปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์ทําให้ กระบวนการแข็งตัวของเลือดหยุดชะงักในระยะของการสร้างโปรทรอมบินและทรอมบิน ทำให้การสร้างไฟบริน เพื่อช่วยในการอุดรอย ฉีกขาดของหลอดเลือดหยุดชะงักไปด้วย จึงเกิดภาวะเลือดออกผิด ปกติในอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในสมอง
การรักษา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วให้วิตามินเค 2-5 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดําเป็นเวลา 1- 3 วัน
ให้ Fresh Frozen Plasma ถ้าผู้ป่วยมี อาการเลือดออกรุนแรง เพื่อเป็นการเพิ่มโปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์
ให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cell) ถ้าซีดมาก
อาการและอาการแสดง
1.มีเลือดออกในสมอง ทางเดินอาหาร ผิวหนัง อาการมักเกิดอย่างเฉียบพลันโดยไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ นํามาก่อน ทารก มักมีอาการซีด ซึม ไม่ดูดนม ชัก หรือมี กระหม่อมหนาโป่งตึง
อาการซีด
มีจํ้าเขียวตามตัว หรือเลือดหยุดยาก
ในรายที่ไม่เสียชีวิตจากการมีเลือด ในสมอง อาจมีอาการพิการทางสมองในระยะเวลาต่อมา
อาการตับโต ในผู้ป่วยเด็กบางราย