Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยาฉีด - Coggle Diagram
การบริหารยาฉีด
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาฉีด
การประเมินสภาพ
การบริหารยาฉีดให้กับผู้ป่วยพยาบาลควรมีการประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยา
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เมื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินสภาพทั้งหมดแล้วนำมาจัดหมวดหมู่ข้อมูล ให้การวินิจฉัยทางการพยาบาล
วางแผนการพยาบาล
บริหารยาตามแผนการรักษาของแพทย์การให้ยําต้องคำนึงถึงหลัก 6Rs (10 Rs)
ปฏิบัติการพยาบาล
ในขั้นการเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมยาฉีด และการฉีดยาตามวิถีทํางต่างๆ ตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
การประเมินผล
ควรมีการประเมินผู้ป่วยภายหลังจากได้รับยาทุกครั้ง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
ตำแหน่งและวิธีการฉีดยาบริเวณต่างๆ
ขั้นเตรียมการก่อนฉีดยา
1.ตรวจความพร้อมของเครื่องใช้
2.ถามชื่อ –สกุลของผู้ป่วย รวมถึงประวัติการแพ้ยา
3.อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
4.เลือกบริเวณสำหรับฉีดยา ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาในบริเวณที่มีการอักเสบ ช้ำบวม เป็นแผล มีก้อนแข็ง หรือเป็นอัมพาต
5.จัดท่าและเสื้อผ้าผู้ป่วย เปิดบริเวณที่จะฉีดยาให้กว้างพอ หากเป็นบริเวณที่ไม่ควรเปิดเผยควรปิดประตูหรือกั้นม่าน
6.ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ
การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง
ไล่อากาศออกจากกระบอกฉีดยาจนหมดก่อนฉีดยา
ผิวหนังให้ตึง
แทงเข็มทำมุม 5-15 องศา กับผิวหนังโดยหงายปลํายตัดเข็มขึ้น และแทงเข้าไปเพียงให้ปลายตัดเข็มเลยเข้าไปในผิวหนังเล็กน้อย หมายเหตุ: การแทงเข็มมุมกว้าง และแทงลึก จะทำให้ปลํายเข็มเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง
ไม่ต้องทดสอบว่าปลายตัดเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
5.สังเกตบริเวณที่ฉีดจะมีตุ่มนูนขึ้นมา ถ้าไม่มีตุ่มนูน แสดงว่าฉีดลึกเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง
ไม่ต้องคลึงบริเวณที่ฉีดยา
ใช้ปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงินหรือดำ เขียนรอบรอยนูนที่เกิดจากการฉีดยาและบอกผู้ป่วยไม่ให้ลบรอยหมึกที่เขียนไว้ จนกว่าจะอ่านผลเรียบร้อยแล้ว
การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
ตำแหน่งสำหรับฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
1)บริเวณต้นแขนส่วนกลางด้ํานนอก
2)บริเวณส่วนกลางของหน้าขา
3)บริเวณหน้าท้องที่อยู่ระหว่างแนวใต้ชายโครงกับแนวของ anterior superioriliac spine ยกเว้นบริเวณรอบสะดือ 1 นิ้ว เพราะมี pain receptor มําก
4)บริเวณสะบัก
2.ทำผิวหนังให้ตึงก่อนแทงเข็ม หรือการใช้นิ้วมือจับรวบเนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดเข้าหากัน แต่วิธีหลังนี้จะไม่ใช้ในการฉีด heparin
3.การแทงเข็มถ้าใช้เข็มยาว 5/8 นิ้วให้แทงเข็มทำมุม 45 องศาถ้าใช้เข็มยาว ½ นิ้ว ให้แทงเข็มทำมุม 90 องศา
4.การฉีด heparin ไม่ต้องทดสอบว่าปลํายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
5.การฉีด heparin และ insulin ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดยาแล้ว
การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
การหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
วิธีหาตำแหน่งฉีดยําเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน
เป็นบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าขอบล่างของ acromion process 2 นิ้ว เป็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อมาก ควรฉีดบริเวณส่วนกลํางของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีขอบเขตเป็นรูปสามเหลี่ยม
วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก
วิธีที่ 1 แบ่งสะโพกออกเป็น 3 ส่วนใช้ landmark 2 แห่งคือ anterior superior iliac spine และ coccyx
ลากเส้นสมมุติระหว่ําง 2 จุด แบ่งเส้นสมมุติออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กันตำแหน่งที่ฉีดยาได้คือส่วนแรกนับจาก anterior superior iliac spine โดยฉีดต่ำกว่าระดับของ iliac crest ประมาณ 2-3 นิ้วมือ
วิธีที่ 2แบ่งสะโพกออกเป็น 4 ส่วน โดยมีขอบเขตดังนี้
-ด้านบน มีขอบเขตตามแนวของ iliac crest
-ด้านล่าง มีขอบเขตตามแนวของก้นย้อย (glutealfold)
-ด้านใน (medial) มีขอบเขตตามแนวแบ่งครึ่งจากกระดูก Coccyx ขึ้นไปตามแนวแบ่งครึ่งของกระดูก sacrum
-ด้านนอก (lateral) มีขอบเขตตามแนวด้านข้างของต้นขาและสะโพก
วิธีที่ 3 ลากเส้นจาก posterior superior iliac spine ไปยังปุ่มกระดูกต้นขา (greater trochanter of the femur) เส้นนี้จะขนานกับ sciatic never ตำแหน่งที่ฉีด คือ
ส่วนบนด้ํานนอกของเส้น ต่ำจากขอบกระดูกเชิงกราน 2-3 นิ้วฟุต
วิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
1)ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยําด้วยสำลีชุบalcohol70% ปล่อยให้ alcoholแห้ง
2)ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาตั้งขึ้น ไล่อากาศ
3)ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้ํางไม่ถนัดทำผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ตึง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
4)แทงเข็มด้วยควํามเร็วและมั่นคง แทงเข็มทำมุม 90 องศา
5)ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยาให้มั่นคง (ไม่โยกไปมา และไม่เลื่อนขึ้นลง) ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด และใช้มือข้างถนัดดึงลูกสูบขึ้นเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่ถ้ําไม่มีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดยา ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างถนัดดันลูกสูบเดินยําช้า ๆ (ถ้ามีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดให้ยกเลิกการฉีดยานั้น และเตรียมยาฉีดใหม่)
6)เมื่อยาหมดให้ใช้สำลีกดตำแหน่งแทงเข็ม ขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
7)คลึงบริเวณฉีดยาเบา ๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บปวดได้ด้วย (ยกเว้นยาที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก)
8)ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยา แยกเข็มฉีดยาทิ้งในชามรูปไต หรือภาชนะสำหรับทิ้งเข็มโดยเฉพาะเพื่อนำเข็มไปทำลายต่อไป
9)จัดเสื้อผ้ําผู้ป่วยให้เรียบร้อย และจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย (ถ้าเป็นผู้ป่วยนอก ควรให้ผู้ป่วยพักเพื่อสังเกตอาการประมาณ 15 นําที)
ล้างมือให้สะอาด
การคำนวนขนาดยา
การบริหารยาฉีดประกอบด้วย 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนการเตรียมยา
ขั้นตอนการฉีดยา
คำสั่งการรักษาให้ Morphine 3 mg v q 6 hr.
สิ่งที่ต้องเข้ําใจ
ยาMorphine 1 amp มี 10 mg/ml(ดูได้จากข้าง amp ยา)
การฉีดยา Morphine เข้าทางหลอดเลือดดำต้องผสมให้เจือจางเป็น 10 ml
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
อุปกรณ์สำหรับการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
ยาฉีด
ยาที่บรรจุในหลอดจะเป็นยาน้้ำซึ่งใช้ฉีดครั้งเดียว
ยาที่บรรจุในขวดจะมีทั้งชนิดที่เป็นผงและยาน้ำ
single dose
multiple dose
กระบอกฉีดยา
กระบอกฉีดยามีหลายขนาดตั้งแต่ 0.5-50 ml
ประกอบด้วย 2 ส่วน
กระบอก ซึ่งมีปลาย ที่มีขนาดสวมได้พอดีกับหัวเข็มฉีดยา
ลูกสูบ
กระบอกฉีดยาจะมีทั้งชนิดที่ทำด้วยพลําสติกซึ่งใช้แล้วทิ้ง
นิดทำด้วยแก้วกระบอกฉีดยําที่ทำด้วยแก้วเมื่อล้างสะอาดแล้วและทำให้แห้งจะห่อด้วยผ้า 2 ชั้น
เข็มฉีดยา
ทำจาก stainless steel และเป็นชนิดใช้ครั้งเดียว
ประกอบด้วย 3 ส่วน
หัวเข็ม ซึ่งมีขนาดพอดีกับปลายกระบอกฉีดยา
ตัวเข็ม เป็นส่วนที่ต่อจากหัวเข็ม
ปลายเข็ม
การเลือกเข็มฉีดยา
ความยาวของตัวเข็มฉีดยา และเบอร์เข็ม มีตั้งแต่เบอร์ 18ถึง 28
เบอร์เข็มใหญ่ ขนาดของเส้นผ่ําศูนย์กลางของตัวเข็มจะเล็ก
วัตถุประสงค์การใช้
ดูดยา ละลายยา
เบอร์ 18 –20
ความยาว(นิ้ว) 1 –1 ½
ฉีดยาเข้าผิวหนัง
เบอร์ 25 –27
ความยาว(นิ้ว) 3/8 –½
ฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
เบอร์ 23 –25
ความยาว(นิ้ว) ½ -5/8
ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสำหรับผู้ใหญ่
เบอร์ 20 –23
ความยาว(นิ้ว) 1 –2 ½
ฉีดยาเข้ากล้ํมเนื้อสำหรับทารกและเด็กเล็ก
เบอร์ 25 –27
ความยาว(นิ้ว) ½ -1
ฉีดยาเข้ําหลอดเลือดดำ
เบอร์ 18 –23
ความยาว(นิ้ว) 1 ½
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
ควรเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับกํารผสมยาฉีด ได้แก่
ถาด
ผ้ารองถาดยา
อับสำลี
กระปุก
forcepscard
ยา
เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วก่อนกํารลงมือผสมยาฉีดตํามแผนการรักษาผู้เตรียมควรปฏิบัติดังนี้
1)ซักถามประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย
2)อ่านและตรวจสอบรายละเอียดบนขวดยาหรือหลอดยาเกี่ยวกับชื่อยาวิถีทางการให้ยาวันหมดอายุของยา (Exp.date)
3)ศึกษาเกี่ยวกับขนาด ฤทธิ์ข้างเคียง วิธีละลายยาในกรณีเป็นยาผง
4)คำนวณปริมาณยาฉีดที่ผู้ป่วยควรได้รับอย่างถูกต้อง
5)ดูแลบริเวณสำหรับเตรียมยาให้สะอาด แห้ง มีแสงสว่างเพียงพอ
6)ตรวจดูความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้
7)ล้างมือให้สะอาด เช็ดมือ