Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา (ระบบเลือด), image, image…
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา (ระบบเลือด)
1.โรคภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia)
สาเหตุ
พบบ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
มักเกิดจากการได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย ปัญหาการดูดซึมที่ลำไส้ไม่ดีจากท้องร่วงเรื้อรัง หรือการอักเสบของลำไส้
อาการและอาการแสดง
ซีด ได้แก่ สีผิวหนัง ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เหงือก เปลือกตาด้านใน
เหนื่อยง่าย เนื่องจาก หัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นในการที่จะหมุนเวียนเม็ดเลือดแดง ที่มีน้อยลงให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์ให้เพียงพอ
ปวดศีรษะ เฉื่อยชา
ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสีย
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ การตั้งครรภ์ของมารดา ประวัติการคลอด ชนิดของนมและอาหารเสริม
2.การตรวจร่างกาย เพื่อสังเกตและหาสาเหตุภาวะซีด ได้แก่ สีผิว ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เยื่อบุตา
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะมีขนาดเล็ก ติดสีจาง serum feritin น้อยกว่า 10 นาโนกรัม/ดล.
การรักษา
1.การให้เหล็กโดยการกิน (Ferrous sulfate) ให้วันละ 3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร ถ้าให้เหล็กไปพร้อมกับอาหาร หรือให้ร่วมกับนมจะขัดขวางการดูดซึม (ถ้ามีการรับประทานนม ควรเว้นระยะเวลา 2-3ชั่วโมงก่อนกินยา) ทำให้การดูดซึมลดลง
2.แก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุ เช่น การให้ยาถ่ายพยาธิ
3.การให้เลือด รายที่มีภาวะซีดมาก หรือมีอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย โดยให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed red cell)
2.โรคภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงาน (Aplastic Anemia)
สาเหตุ
1.ความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง จากการ ทำลายของเนื้อเยื่อ stem cell ในไขกระดูก จากหลายสาเหตุดังนี้
-ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
-การได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยาเคมีบำบัด, Chloramphenical, ยาแก้ปวด, ยากันชัก
-การได้รับสารเคมีบ่อยๆ ซึ่งเป็นพิษต่อระบบเลือด เช่น ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์
-เกิดภายหลังการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ
-เกิดภายหลังการได้รับรังสีการรักษาในขนาดสูง
อาการและอาการแสดง
Low Platelet
เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีจุดจ้ำเลือดตามลำตัวและแขนขา เลือดออกตามไรฟันและเลือดกำเดา เลือดออกในทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
Low RBC
ซีด เหนื่อยง่าย ชีพจรเบาเร็ว และถ้ามีการเสียเลือดร่วมด้วย ทำให้มีอาการซีดรุนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
Low WBC
ติดเชื้อง่าย มีไข้ เป็นแผลในปาก
การวินิจฉัย
1.การเจาะไขกระดูก
จะพบว่ามีเซลล์ไขกระดูกน้อยกว่าปกติ และอาจตัดชิ้นเนื้อไขกระดูกมาตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยให้ชัดเจนขึ้น
โดยพบเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้นแทนที่เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
2.การตรวจนับเม็ดเลือดทั้งสามชนิด
จะพบเม็ดเลือดทั้งสามชนิดมีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน
การรักษา
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่ไขกระดูกไม่ทำงานขั้นรุนแรง
การรักษาด้วยฮอร์โมน ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไม่รุนแรงมาก
3.การรักษาด้วยยากดระบบ Immune ใช้ในผู้ป่วยเด็กภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงานที่มีผลต่อการตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าไขกระดูกไม่ทำงานจากปฏิกิริยาทางอิมมูน
ยากดระบบอิมมูน ได้แก่ Antilymphocyte Globulin (ALG), Antithymocyte Globulin (ATG) หรือ Cyclosporin
4.การรักษาตามอาการ เป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ได้แก่ การรักษาด้วยการให้เลือด เมื่อผู้ป่วยมีอาการซีดรุนแรง หรือมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ การรักษาภาวะติดเชื้อ เป็นต้น
3.โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินลดลงโดยที่สูตรโครงสร้างของฮีโมโกลบินยังเป็นปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น เกิดปัญหาซีดเรื้อรังตั้งแต่แรกเกิด
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ ประวัติการซีดเรื้อรัง ประวัติครอบครัว
2.การตรวจร่างกาย
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจนับจำนวนและดูลักษณะของเลือดเลือดแดง ได้แก่ Hematocrit, Hemaglobin, Mean corpuscular volume ซึ่งมักพบว่ามีปริมาณต่ำทุกตัว
การรักษา
การรักษาทั่วไป อธิบายให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองเข้าใจเกี่ยวกับโรค การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
การให้เลือด เพื่อเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกาย
การให้ยาขับธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันและลดภาวะเหล็กเกินในเลือด
การผ่าตัดม้าม (Splenectomy)
การผ่าตัดจะทำในกรณีที่ม้ามโตมากจนทำให้เกิดอาการอึดอัด หรือมีภาวะม้ามทำงานมากกว่าปกติ (Hypersplenism)
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ซึ่งเป็นการรักษา โรคธาลัสซีเมียให้หายได้ ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ปกติในตัวผู้ป่วยได้
การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์
ชนิดของโรค
กลุ่มอาการรุนแรงมาก ได้แก่ ฮีโมโกลบินบาร์ทโฮดรอพส์ ฟิทัลลิสเป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่เสียชีวิตในครรภ์มารดาหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด พบว่าทารกมีลักษณะบวมน้ำทั้งตัว คลอดลำบาก ซีด ตับม้ามโต มีรกขนาดใหญ่
กลุ่มอาการรุนแรงปานกลาง ได้แก่ โฮโมซัยกัส เบต้า-ธาลัสซีเมียและเบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี แรกเกิดปกติ จะเริ่มมีอาการตั้งแต่ภายในขวบปีแรกหรือหลังจากนั้นอาการสำคัญ คือ ซีด อ่อนเพลีย ตาเหลือง ท้องป่อง ตับม้ามโต กระดูก ใบหน้าเปลี่ยน โหนกแก้มสูง ดั้งจมูกแบน ฟันยื่น ตัวเตี้ยแคระแกรน ผิวคล้ำเจริญเติบโตไม่สมอายุ
กลุ่มอาการรุนแรงน้อย ได้แก่ ฮีโมโกลบินเอ็ช ผู้ป่วยจะมีอาการน้อย เช่น ซีด และเหลืองเล็กน้อย หากมีไข้หรือติดเชื้อผู้ป่วยจะซีดลง
ภาวะแทรกซ้อน
1.ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
2.ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากภาวะเหล็กเกิน
4.โรคภาวะเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ (Indiopathic Thrombocytopenic purpura: ITP)
สาเหตุ
-การสร้างเกล็ดเลือดลดลง เนื่องจากโรคของไขกระดูกเอง
-เกล็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ
-เกล็ดเลือดถูกใช้ไปมากกว่าปกติ
อาการและอาการแสดง
จุดจ้ำเลือดที่ผิวหนัง ทั้งที่เป็นจุดเล็กๆ (petechiae) และเป็นจ้ำเลือด (ecchymosis) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือภายหลังการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย
-เลือดกำเดาไหล
-เลือดออกในเยื่อบุต่างๆ
-ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองไม่โตแต่อาจตรวจพบอาการซีด ถ้าภาวะเลือดออกเกิดขึ้นช้าๆ และไม่รุนแรง
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ อาการและความผิดปกติที่ควรซักถาม ได้แก่ การมีเลือดออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น จุด จ้ำเลือดตามลำตัว แขนขา
2.การตรวจร่างกาย เช่น มีเลือดกำเดาไหล
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่า เกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ แต่เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวปกติ
การรักษา
ส่วนใหญ่โรคหายได้เอง 70-80 % ภายในเวลา 1-2 เดือน และจะไม่กลับเป็นซ้ำอีก บางรายที่ไม่หาย หรือมีเลือดออกใต้ผิวหนังหลายแห่ง หรือมีจุดเลือดออกในปากควรให้กิน prednisolone เพื่อให้ผนังของหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น ในรายที่เกล็ดเลือดเพิ่มขึ้นก็ค่อยๆ ลดขนาดของยาลงจนหยุดยา
5.ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
สาเหตุ
ฮีโมฟีเลีย A (Classical Hemophilia) พร่องแฟคเตอร์ 8 พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 80-85 % ของโรคฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลีย B (Christmas disease) พร่องแฟคเตอร์ 9 พบได้ประมาณ 10-15 % ของโรคฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลีย C พร่องแฟคเตอร์ 11 พบได้ประมาณ 5 % ของฮีโมฟีเลีย อาการไม่รุนแรงมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive
อาการและอาการแสดง
1.เลือดออกง่ายหยุดยาก
2.พบจ้ำเขียวตามตัว แขนขา อาจพบจ้ำ
ใหญ่หรือก้อนนูน
3.เป็นลักษณะเฉพาะคือ เลือดออกในข้อ (hemarthrosis) โดยเฉพาะ
ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก
การดูแล
1.ให้ FFP หรือ Cryoprecipitate
2.ห้ามเลือดและลดการมีเลือดออก ในวันแรกประคบด้วยความเย็นเพื่อให้เลือดหยุด วันต่อมาประคบด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้ลิ่มเลือดละลายเร็วขึ้น
3.ถ้าเลือดออกในข้อให้ใช้ผ้ายืดพันไว้และให้พักข้อนิ่งๆ ป้องกันและหลีกเลี่ยงการทำให้เลือดออก / สังเกตอาการทางระบบประสาท
4.เมื่อเลือดหยุดออกเริ่มให้เคลื่อนไหวเพื่อป้องกันข้อติด
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลเด็กโรค Hemophilia
1.มีบัตรประจำตัวติดตัวเด็กตลอดเวลา ชื่อระบุ โรคที่เป็น
2.การป้องกันอุบัติเหตุ การจัดสิ่งแวดล้อม การเล่น การสวมเสื้อผ้า เฉพาะในเด็กและวัยรุ่นโรคนี้
3.การพาเด็กมารับ Vaccine ใช้เข็มเล็กสุด กดนาน 5-10 นาที
4.ดูแลสุขภาพฟันไม่ให้ฟันผุ หลีกเลี่ยง การใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง
หลีกเลี่ยงกีฬาที่กระทบกระแทก
6.ไม่ให้ผู้ป่วยอ้วน หรือ น้ำหนักมากเกินไป
ป้องกันภาวะท้องผูก ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย
6.โรคเลือดออกจากการมี Prothrombin ต่ำ (Acquired Prothrombim Complex Deficiency Syndrome : APCD)
สาเหตุ
1.ทารกแรกเกิดมีวิตามิน เค ในเลือดน้อยมาก 2.ทารกไม่ได้รับวิตามิน เค เมื่อแรกเกิด 3.การได้รับอาหารเสริมที่ไม่ถูกต้อง
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกในสมอง ทางเดินอาหาร ผิวหนัง อาการมักเกิดอย่างเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ นำมาก่อน ทารกมักมีอาการซีด ซึม ไม่ดูดนม ชัก หรือมีกระหม่อมหน้าโป่งตึง
2.อาการซีด
3.มีจ้ำเขียวตามตัว หรือเลือดหยุดยาก
4.อาการตับโต ในผู้ป่วยเด็กบางราย
5.ในรายที่ไม่เสียชีวิตจากการมีเลือดในสมอง อาจมีอาการพิการทางสมองในระยะต่อมา
การรักษา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว ให้วิตามินเค 2-5 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลา 1- 3 วัน
2.ให้ Fresh Frozen Plasma ถ้าผู้ป่วยมีอาการเลือดออกรุนแรง เพื่อเป็นการเพิ่มโปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์
3.ให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cell) ถ้าซีดมาก
7.ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-P-D (G-6-P-D Deficiency)
สาเหตุ
ยา ยารักษามาลาเรีย ยาปฏิชีวนะ เช่น chloramphenical ยาแก้ปวด เช่น aspirin, paracetamal
2.สารเคมี เสื้อผ้าที่อบด้วยลูกเหม็น
3.อาหาร ถั่วปากอ้าดิบๆ
4.การติดเชื้อ: ไทฟอยด์ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไข้หวัด มาลาเรีย
อาการและอาการแสดง
ซีดลงอย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะดำเป็นสีโค๊ก (Hemoglobinuria)
ภาวะไตวาย เนื่องจากมีกรดยูริกเพิ่มจำนวนขึ้นไปอุดหลอดเลือดฝอยในไต
ตัวเหลืองภายหลังคลอดในทารกแรกเกิดที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-P-D
ภาวะซีดเรื้อรัง
การรักษา
หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการซีด ได้แก่ ชนิดของยาหรือสารเคมีที่ได้รับก่อนเกิดอาการ
2.การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะไตวาย
3.ให้เลือด ถ้ามีอาการซีดมากๆ
4.ทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง รักษาด้วยPhototherapy