Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อควรปฏิบัติในการทําปฏิบัติการเคมี, unnamed, unnamed, ป้ายห้ามรับประทานอา…
ข้อควรปฏิบัติในการทําปฏิบัติการเคมี
ก่อนทําปฏิบัติการ
ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทําปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้องสอบถาม
ครูผู้สอนก่อนที่จะทําการทดลอง
ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจน
วิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
แต่งกายให้เหมาะสม เช่น สวมกางเกงหรือกระโปรงยาว สวมรองเท้ามิดชิด ส้นเตี้ย คนที่ผมยาว
ควรรวบผมให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์
ขณะทําปฏิบัติการ
ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมครบทุกเม็ดควรสวมถุงมือเมื่อต้องใช้
สารกัดกร่อยหรือสารเคมีที่มีอันตรายควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหยและปฏิบัติการใน
ที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
ไม่ทําการทดลองตามลําพัง
ไม่เล่นและรบกวนผู้อื่น ในขณะทําการทดลอง
ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด ไม่ทําการทดลองที่นอกเหนือจากที่ได้รับ
มอบหมาย และไม่เคลื่อนย้ายสารเคมี เครื่องมือ และอุปกรณ์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกันนอกจากจะได้รับ
อนุญาตจากครูผู้สอนเท่านั้น
ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน เช่น ตะเกียงแอลกอฮอล์ เตาแผ่นให้ความร้อน ทํางานโดย
ลําพัง
ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนําสารเคมีไปใช้
การเคลื่อนย้าย แบ่ง และถ่ายเทสารเคมีทําต้องด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สารเคมีที่มีอันตราย
การทําปฏิกิริยาของสารเคมี ต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตนเอง
ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง
การเจือจางกรด ห้ามเทน้ําลงในกรด แต่ให้เทกรดลงในน้ํา
ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาด ให้
เทใส่ภาชนะทิ้งสารที่จัดเตรียมไว้
เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้หกหรือเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะสําหรับทิ้งสารที่เตรียมไว้
ในห้องปฏิบัติการ หากหกปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน
หลังการทําปฏิบัติการ
ทําความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องแก้ว และวางหรือเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้ รวมทั้งทําความ
สะอาดโต๊ะปฏิบัติการ
ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่นเสื้อคลุมปฏิบัติการ แว่นตา
นิรภัย ถุงมือ
กําจัดสารเคมี
สารเคมีที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้จากการทําปฏิบัติการเคมี จําเป็นต้องมีการกําจัดอย่างถูกวิธี เพื่อให้
เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต การกําจัดสารเคมีแต่ละประเภท สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
สารเคมีที่เป็นของเหลว ไม่อันตรายที่ละลายน้ําได้และมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร
สามารถเทลงอ่างน้ําและเปิดน้ําตามมากๆได้
สารละลายเข้มข้นบางชนิด เช่น กรดไฮโดรคลอนิก โซเดียมไฮดรอกไซด์ ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ําหรือ
ท่อน้ําทันที ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ํา ถ้ามีปริมาณมากต้องทําให้เป็นกลางก่อน
สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด
พร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ที่จัดเตรียมไว้
สารไวไฟ ตัวทําละลายที่ไม่ละลายน้ํา สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทําปฏิกิริยากับ
น้ํา ห้ามทิ้งลงอ่างน้ํา ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้