Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน, นางสาวจิณห์วรา…
บทที่ 5 พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัติน้ี และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวดที่ 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการท่ีน่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยน้ันเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธ์ุซึ่งมีความจําเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และ คุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้าน สุขภาพท่ีเกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีท่ีผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็น ส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัยต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดําเนินการได้ ความยินยอมดังกล่าวผู้บริการจะยกเลิกเมื่อใดก็ได้
มาตรา ๑๐ เม่ือมีกรณีท่ีจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงาน ของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมใน กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขท่ีเป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ระบบสุขภาพ” หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เก่ียวข้องกับสุขภาพ
“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเก่ียวกับการสร้างเสริม สุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยท่ีคุกคามสุขภาพ
“ปัญญา” หมายความว่า ความรู้ท่ัว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผล แห่งความดี ความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนําไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
“บุคลากรด้านสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมายระเบียบ หรือข้อกําหนดรองรับ
“สุขภาพ” หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
“ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
“สมัชชาสุขภาพ” หมายความว่า กระบวนการท่ีให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาแห่งชาติ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“คณะกรรมการบริหาร” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
“กรรมการบริหาร" หมายความว่า กรรมการในคณะกระบวนการบริหาร
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจ องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ องค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คสช.”
มาตรา ๑๕ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้ดําเนินการ ดังนี้
(๓) ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหน่ึงคน
(๔) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
(๒) ให้นายกเทศมนตรีทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
มาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้เป็นไปตามวิธีการที่ คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกําหนด
(๑) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยาและหัวหน้าผู้บริหารองค์กรจัดต้ังขึ้นเป็นการเฉพาะทํานองเดียวกัน ดําเนินการเลือกกันเองให้ได้ กรรมการหน่ึงคน
มาตรา ๑๗ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีคณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ไม่เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าท่ี
ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยถึงไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐ
มีสัญชาติไทย
ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงท่ีสุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๑๐) ให้คณะกรรมการสรรหา ดําเนินการ
มาตรา ๑๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง ซึ่ง คสช. แต่งตั้ง
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าท่ีและอํานาจ
มาตรา ๒๑ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี โดยกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖)พ้นจากตําแหน่งเมื่อพ้นจากตําแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๕ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) พ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุม คสช. และการปฏิบัติงานของ คสช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่ คสช. กําหนด
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับต้ังแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
หมวด ๓ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๖ ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและไม่เป็น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๙ บรรดารายได้ของสํานักงานตามมาตรา ๒๘ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนําส่ง กระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสํานักงานขึ้นตรงต่อ คสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งงานของสํานักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงาน
มาตรา ๓๒ ให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งต้ังอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๓๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้ว เลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก ถูกจำคุก ไม่ผ่านประเมิน
มาตรา ๓๕ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะกรรมการบริหารกําหนดตามหลักเกณฑ์ท่ีคณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงานในกิจการของสํานักงานที่ เก่ียวข้องกับบุคคลภายนอก แต่เลขาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนดก็ได้
มาตรา ๓๘ การดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ให้เป็นไปตามระเบียบท่ี คสช. กําหนด
หมวด ๔ สมัชชาสุขภาพ
มาตรา ๔๒ ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ให้ คสช. แต่งต้ังคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่ คสช. กําหนด
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กําหนดวัน เวลาและสถานที่ในการประชุม
มาตรา ๔๑ ให้ คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหน่ึงครั้ง
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใด ให้ สมัครลงทะเบียนสําหรับการประชุมคร้ังนั้นต่อเจ้าหน้าท่ีที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดตามแบบและหลักเกณฑ์ท่ีคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนด
มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นหรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นท่ี หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คสช. กําหนด
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติ หรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพให้เสนอต่อ คสช.เพื่อพิจารณา
หมวด ๕ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔๘ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา ๒๕
มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๔๖ ให้ คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๕๐ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้ีสิน และเงินงบประมาณของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ไปเป็นของสํานักงานตามพระราชบัญญัติน้ี
มาตรา ๕๑ ให้นําบรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสสําํานนักักงางนาคนณปะฏกิรูปรมรกะาบรบกสฤษุขฎภีกาาพแห่งชาติมาใสชํา้บนักังคงาับนกคับณกะากรปรมฏกิบาัตรกิงฤาษนฎขีกอางสํานักงานโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําส่ังที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือท้ังจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการท่ีโอนมาตามมาตรา ๕๐ ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๓ ให้นําความในมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับกับการออกจากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่สำนักเข้ารับทำงานด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าท่ีผู้อํานวยการสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันท่ีพระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๕ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ตาม มาตรา ๑๙ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันท่ีพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา ๖ บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา๕ให้ยื่นคําขอลงทะเบียนต่อสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานกําหนดเพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจํา
มาตรา ๗ บุคคลที่ได้ลงทะเบียนแล้วให้ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้จากหน่วยบริการประจําของตนหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๕ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๘ผู้ซึ่งมีสิทธิตามมาตรา๕ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา๖อาจเข้ารับบริการครั้งแรกที่หน่วยบริการใดก็ได้
มาตรา ๙ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายกฎระเบียบประกาศมติคณะรัฐมนตรีหรือคําสั่งใดๆที่กําหนดขึ้นสําหรับส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
มาตรา ๑๐ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้วให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้นต่อสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย
มาตรา๑๒ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้วให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้นต่อสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
มาตรา ๓ในพระราชบัญญัตินี้
หน่วยบริการ
เครือข่ายหน่วยบริการ
สถานบริการ
ค่าบริการ
บริการสาธารณสุข
ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กองทุน
คณะกรรมการ
คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
เลขาธิการ
สํานักงาน
พนักงานเจ้าหน้าที่
รัฐมนตรี
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕”
หมวด ๒ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระตามมาตรา๑๕วรรคหนึ่งแล้วกรรมการตามมาตรา๑๓วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) พ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา๑๓วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลสํานักงานให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา๑๓จะดํารงตําแหน่งกรรมการตามมาตรา๔๘ในขณะเดียวกันมิได้
มาตรา ๒๐ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๓ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นคณะหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบการบริหารเงินและการดําเนินงานของสํานักงาน
มาตรา ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๓ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสํานักงาน
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๒๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สํานักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสํานักงานให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสํานักงาน
มาตรา ๓๑ ให้สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับข้อกําหนดนโยบายมติและประกาศของคณะกรรมการและเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสํานักงานทุกตําแหน่ง
มาตรา ๒๗ ทรัพย์สินของสํานักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
มาตรา ๓๔ ให้เลขาธิการมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๒๕ ให้สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดใกล้เคียง
มาตรา๓๕ให้เลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงและให้ถือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งต้องห้ามมิให้ดําเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วย
มาตรา ๒๔ ให้มีสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตรี
หมวด ๔ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๔๓ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณให้คณะกรรมการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการโดยหาผู้กระทําผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา๔๑
มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจํานวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ
มาตรา ๔๐ การรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนรวมทั้งการนําเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
หมวด ๕ หน่วยบริการและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๔และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๔ ให้สํานักงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการแล้วประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
หมวด ๖ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๕๑ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมายได้
มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและคณะอนุกรรมการมีอํานาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงมาให้ถ้อยคําหรือส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาได้
มาตรา ๔๙ การดํารงตําแหน่งวาระการดํารงตําแหน่งการพ้นจากตําแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานให้นํามาตรา๑๔มาตรา๑๕มาตรา๑๖และมาตรา๑๗มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๕๓ ให้กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและอนุกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๔๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข”
หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา๕๖ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา๕๕ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา๕๔ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ของหน่วยบริการหรือของเครือข่ายหน่วยบริการในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบสอบถามข้อเท็จจริงตรวจสอบทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานถ่ายภาพถ่ายสําเนาหรือนําเอกสารที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ
หมวด ๘ การกํากับมาตรฐานหน่วยบริการ
มาตรา๕๙ในกรณีที่ผู้รับบริการผู้ใดไม่ได้รับความสะดวกตามสมควรหรือตามสิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่กําหนดตามพระราชบัญญัตินี้จากหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเรียกเก็บค่าบริการจากตนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา๖๑ผู้ร้องเรียนหรือหน่วยบริการที่ได้รับคําสั่งจากคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามหมวดนี้ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือวันที่ได้รับทราบคําสั่งแล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผลการสอบสวนตามมาตรา๕๗ปรากฏว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานดําเนินการ
มาตรา๖๒เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งตามมาตรา๖๑ผลเป็นประการใดแล้วให้เลขาธิการรายงานผลการดําเนินการหรือคําวินิจฉัยต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อทราบ
มาตรา ๕๗ ในกรณีที่สํานักงานตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กําหนดให้รายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณา
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๖๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา๕๕วรรคสามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๒๒มาตรา๕๒มาตรา๕๔หรือมาตรา๕๗ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
นางสาวจิณห์วรา จันทราโยธากร 6001210835_34_B