Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ, นางสาวกัลชิญา อทุมชาย…
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ
3.1 การตรวจร่างกาย
เป็นการประเมินโครงสร้างและหน้าที่
หรือลักษณะทางกายภาพใช้ เทคนิคการดู คลำ เคาะ ฟัง ในการตรวจร่างกาย
3.1.1 เทคนิคการตรวจร่างกาย
การดู (Inspection)
สังเกตโดยใช้สายตาสังเกต
วิธีการดู 1) ดูให้ทั่ว ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง โดยดู เปรียบเทียบกันทั้งสองข้าง 2) ในการดู ผู้ตรวจต้องทราบด้วยว่าอวัยวะที่ดีปกติเป็นอย่างไร
3) ดูลักษณะที่สัมพันธ์กับโรค เช่น เหลือง ให้นึกถึง ดีซ่าน
การคลำ (Palpation)
วัตถุประสงค์
1) คลำก้อนเพื่อดูลักษณะผิดปกติ
2) คลำอวัยวะที่คิดว่าถูกดันหรือดึงให้ผิดตำแหน่ง
3) เพื่อตรวจสอบอวัยวะที่อยู่ภายใต้ว่าคืออะไร
4) คลำเพื่อดูว่าอวัยวะนั้นใหญ่หรือเล็กลง
5) คลำเพื่อดูหลอดเลือดต่างๆ เช่น ชีพจรที่ข้อมือ
หลักการคลำ
1) คลำบนร่างกายของผู้ป่วยที่ปราศจากเสื้อผ้า
2) ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่าที่สะดวกต่อการคลำ
3) ผู้ตรวจจะใช้นิ้วมือข้างที่ถนัดคลำโดยไม่ใช้ปลายนิ้ว
4) ขณะคลำให้ผู้ตรวจสังเกตสีหน้าท่าทางผู้ป่วยตลอดเวลา
5) การคลำลึกๆเป็นการคลำสองมือ เพื่อแยกอวัยวะต่างๆในช่องท้อง
วิธีการคลำ
2 วิธี
1) การคลำมือเดียว (UNIMANUAL PALPATION)
2) การคล้าสองมือ (BIMANUAL PALPATION)
การเคาะ (Percussion)
เป็นการใช้ปลายนิ้ว ฝ่ามือ สันมือหรือกำปั้นทุบ เพื่อ ตรวจดูว่ามีความเจ็บปวดหรือไม่ และฟังเสียงของการเคาะ เพื่อจะหาตำแหน่ง
การตรวจ แล้วเกิดเสียงสะท้อนกลับคืนมา คือ เสียงโปร่ง (Resonance) โปร่งมาก (Hyperresonance) เสียงกังวาน (Tympany) เสียงทึบ (Dullness) หรือ
เสียงทึบมาก (Flatness)
หลักการเคาะ
1) การเคาะ ควรใช้การเคลื่อนที่ของข้อมือข้างที่ถนัด ไม่ใช้นิ้วมือ หรือข้อศอก
2)การเคาะเพื่อฟังเสียงทึบ
3) การเคาะอวัยวะที่มี 2 ด้าน ให้เคาะตำแหน่งเดียวกันสลับซ้าย ขวา
4) ขณะทำการเคาะควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเสียง
วิธีการเคาะ
การเคาะโดยตรงใช้ปลายนิ้วมือทั้งสองถึงสามนิ้วคือนิ้วชี้นิ้วกลางและ นิ้วนางงอเล็กน้อย
การฟัง (Auscultation)
ตรวจโดยอาศัยการได้ยิน
หลักการฟัง
1) ห้องตรวจต้องเงียบ ไม่มีเสียงรบกวนภายนอก
2) การฟังจากบนลงล่าง หรือซ้ายไปขวา เพื่อเปรียบเทียบเสียงที่ได้ในระดับเดียวกัน
3) ระวังการกระทบกันของท่อสายยาง
4) การใช้หูฟังส่วนนอก ด้านแบน ช่วยเสียงที่มีความถี่ต่ำให้ค่อยลง ทำให้ได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงเพิ่มขึ้น
1 more item...
วิธีการฟัง
1) การฟังโดยตรง (Direct Auscultation)
การฟังด้วยหูฟัง โดยตรง ไม่ผ่านตัวกลางหรือเครื่องมือ
เช่น
ฟังเสียงพูด
เสียงหายใจ ดังวี้ดๆ
2) การฟังโดยใช้เครื่องมือ (Indirect Auscultation)
มีเครื่องมือที่ช่วยในการรับฟังเพื่อให้ได้ยิน ชัดเจนขึ้นนิยมใช้ Stethoscope
3.1.2 เครื่องมือในการตรวจร่างกาย
เครื่องชั่งน้ำหนัก
ที่วัดส่วนสูง
ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermometer)
เครื่องวัดความดันโลหิต
หูฟัง (Stethoscope)
นาฬิกา
เทปวัดขนาดหรือ ความยาว
ไฟฉาย
เข็มปลายทู่หรือปลายแหลม
สำลี
แผ่นทดสอบสายตา (Snellen’s Chard)
ผ้าคลุมตัวผู้ป่วย
ถุงมือสะอาดและสิ่งหล่อลื่น
เครื่องส่องดูลูกตา (Ophthalmoscope)
ส้อมเสียง 16. เครื่องส่องดูภายในรูหู (Otoscope) 17. ไม้เคาะเข่า
ชามรูปไต หรือถุงพลาสติก
เครื่องถ่างรูจมูก (Nasal Speculum)
3.2 ลักษณะทั่วไป ผิวหนัง ผม ขน เล็บ
การรู้สติและสภาวะทางด้านจิตใจ
ภาวะสุขภาพที่ปรากฎ
อาการแสดงของภาวะผิดปกติไม่สุขสบาย
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
กิริยา อารมณ์และความร่วมมือในการตรวจ
เสียงและการพูด
ท่าทาง การเคลื่อนไหว และท่าเดิน
การแต่งตัวและสุขวิทยาส่วนบุคคล
กลิ่นลมหายใจและกลิ่นตัว
สีหน้าที่แสดงออก
1.การตรวจผิวหนัง (Skin) (การดูและการคลำ)
สีผิว (skin color)
ก. ผิวสีซีด (pallor)
เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุช่องปาก
ข. ผิวเหลือง (jaundice)
คือ ตาขาว (sclera)
ค. ผิวสีเขียวคล้ำ (cyanosis)
คือ ริมฝีปาก ใบหน้า ฝ่า มือ-เท้า ลิ้น และเล็บ
ง. ผิวสีแดง (erythema)
คือ ใบหน้า หน้าอกส่วนบน
จ. ผิวสีอื่นๆ
จากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี เช่น ผู้สูงอายุ
ลักษณะผิว (skin texture)
ผิวปกติจะเรียบ เกลี้ยง ไม่ หยาบหรือขรุขระ
เช่น ผิวหนัง ผู้สูงอายุ
ความตึงตัว (skin turgor)
ตรวจโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ หยิบผิวหนังและไขมันใต้ผิวหนังขึ้น มาแล้วปล่อย
ภาวะปกติ ผิวหนังกลับสภาพเดิมทันที
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังตั้งอยู่นานเกิน
อุณหภูมิของผิวหนัง (temperature)
ภาวะปกติ ผิวหนังจะอุ่นทั่วกาย
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังร้อน ในรายมีไข้
ผิวหนังเย็น ในรายที่ทีภาวะช็อก มือเท้าเย็น
ความชุ่มชื้น (moisture)
ภาวะปกติ ผิวจะแห้ง ชุ่มชื้น
ภาวะผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหงื่อขึ้นทั่วร่างกาย
เม็ดผื่นหรือตุ่ม (skin lesion)
เมื่อพบเม็ดผื่นต่างๆ ให้ตรวจดู สี ชนิดหรือประเภท รูปร่าง
จุดเลือดออก
จ้ำเลือดที่เกิดจากการขยายของหลอดเลือด ชั้นตื้น
การบวม (edema)
ระดับการบวม มี 4 ระดับ
1+ กดบุ๋มลงไป 2 ม.ม
2+ กดบุ๋มลงไป 4 ม.ม
3+ กดบุ๋มลงไป 6 ม.ม
4+ กดบุ๋มลงไป 8 ม.ม
การตรวจผมและขน
ใช้เทคนิคการดู คลำ และดมกลิ่น
การตรวจเล็บ
ดูสี รูปร่าง ลักษณะ เล็บ และค้นหาความผิดปกติ
เล็บปกติ ทำมุม 160 องศา
เล็บปุ้ม ทำมุมมากกว่า 180 องศา
3.3 ศีรษะ ใบหน้า คอ และต่อมน้ำเหลือง
3.3.1การตรวจศีรษะ
การดู ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ
ภาวะปกติ เด็ก แรกเกิดของศีรษะใหญ่กว่ารอบอก
การคลำ
ใช้ปลายนิ้ววนเป็น วงกลมและเบาๆไปทั่วศีรษะ
3.3.2การตรวจใบหน้า
1.การดู
สังเกตความ สมมาตรของใบหน้า
เช่น
ให้เลิกคิ้ว หลับตาปี๋ ยิงฟัน ทำปากจู๋
ลักษณะใบหน้าที่ผิดปกติที่พบบ่อยในคลินิก
ได้แก่
Nephrotic syndrome : ใบหน้าบวมมาก จนทำให้สีผิว ค่อนข้างซีด
Cushing syndrome : ใบหน้าจะกลม เรียกว่า moon face แก้มป่อง แดงผมหยาบ
3.3.3การตรวจคอ (การดูและการคลำ)
การดู กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการก้มหน้าจน คางชิดอก เอียงศีรษะไปด้านซ้ายและขวา หมุนศีรษะไปด้านซ้ายและขวา
ภาวะปกติ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ให้ท า และเห็น พื้นที่หรือขอบเขตของคอ
การคลำ กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการหันศีรษะไป ด้านตรงข้ามผู้ตรวจวางมือบริเวณคางและแก้ม บอกให้ผู้ใช้บริการหัน ศีรษะกลับ โดยผู้ตรวจดันหรือกดมือต้านการหันศีรษะ
ภาวะปกติ สามารถต้านแรงผู้ตรวจได้
3.3.4การตรวจหลอดลมคอ (trachea) (การคลำ)
อยู่ในท่านั่งหรือนอนหงาย หน้าตรง ก้มคอลงเล็กน้อยเพื่อให้ กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid หย่อน
ภาวะปกติ หลอดลมอยู่ตรงกลางคอ คือ นิ้วทั้งสองแยงได้สะดวก เท่ากัน คลำได้เนื้อนุ่มๆเท่ากันทั้งสองข้าง
3.3.5การตรวจต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
การดู ผู้ตรวจยืนด้านหน้ากับ ผู้ใช้บริการ ให้แหงนหน้าและกลืนน้ำลาย จะเห็นตำแหน่งไทรอยด์
การคลำ คลำจากด้านหน้า หรือ ด้านหลัง ก็ได้
ภาวะปกติ ส่วน isthmus ของไทรอยด์จะ เคลื่อนที่ข้างบนขณะกลืน
3.3.6การตรวจต่อมน้ำเหลือง (lymphnode)
การดู สังเกตสามเหลี่ยมบริเวณคอ ทั้งสามเหลี่ยมด้านหน้า (anterior triangel) และ สามเหลี่ยมด้านหลัง (posterior triangel) ว่ามีก้อน นูนโตหรือไม่
ภาวะปกติ ไม่พบก้อน
3.4ตา หู จมูก ปาก
ตรวจความสามารถในการมองเห็น (visual acuity)
ตรวจลานตา (visual field)
ตรวจตำแหน่งตา ลูกตา และบริเวณรอบตา
ตรวจรูม่านตา (pupils)
ตรวจความใสของของกระจกตา (cornea)
ตรวจเคลื่อนไหวของลูกตา (extraocular movement)
ตรวจตาขาวและเยื่อบุลูกตา (sclera and conjunctiva)
3.4.2การตรวจหู
ภาวะปกติ ใบหูทั้ง 2 ข้างอยู่ระดับกับตา และเอียง 10องศาในแนวตั้ง ในรูหูพบขี้หู เยื่อ บุปกติ ไม่มีสิ่งผิดปกติ
3.4.3การตรวจจมูกและโพรงอากาศ
ภาวะปกติ ปีกจมูกและจมูกมีขนาดเหมาะสมเท่ากัน ไม่หุบบานมาก ขณะหายใจ ไม่มีการอักเสบ
3.4.4การตรวจปากและช่องปาก
ภาวะปกติ ริมฝีปากสีชมพู ชุ่มชื้น ไม่มี แผล ตุ่ม บวม เยื่อบุช่องปาก เพดานปาก สีชมพู ไม่ซีด
3.5การตรวจเต้านมและรักแร้
ภาวะปกติ เต้านมทั้ง 2 ข้างไม่ควรแตกต่างกันมาก สีผิวอ่อนกว่า ผิวกาย ไม่มีก้อน
สังเกตสีผิวและก้อนบริเวณรักแร้
ภาวะปกติ ไม่พบก้อน คลำไม่พบต่อมน้ำเหลือง
นางสาวกัลชิญา อทุมชาย นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 UDA6280001