Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยา (การบริหารยากินและยาเฉพาะที่) - Coggle Diagram
การบริหารยา
(การบริหารยากินและยาเฉพาะที่)
วัตถุประสงค์ของการให้ยา
เพื่อการรักษา
รักษาตามสาเหตุของโรค
บรรเทา ทุเลา
หายจากอาการหรือโรค
รักษาตามอาการ
อาการปวด
อาการคลื่นไส้อาเจียน
รักษาเฉพาะโรค
ยาฆ่าเชื้อในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ
ทดแทนสิ่งที่ร่างกายขาด
ผู้ป่วยเป็นโลหิตจาง
ขาดธาตุเหล็ก
ได้รับ เฟอรัส ซัลเฟต
ให้ร่างกายปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
หัวใจเต้นเร็วเกินไป อาจได้รับยาดิจิทาลิส
เพื่อการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
ฉีดวัคซีนบีซีจีเพื่อป้องกันวัณโรค
ให้วิตามินเพื่อ บํารุงร่างกายให้แข็งแรง
เพื่อการตรวจวิเคราะห์โรค
ให้กลืนแป้งเบเรี่ยมซัลเฟต
เอ็กซเรย์เพื่อตรวจดูสภาพของกระเพาะอาหาร
และลําไส้
ฉีดไอโอดีนทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดํา
เพื่อถ่ายภาพเอ็กซเรย์ดูการเคลื่อนขับสารทึบรังสีที่ออกจากไตแต่ละข้าง
การบริหารยา (Drug administration)
การจัดการให้ผู้ป่วยได้รับยา
คำนึงถึงความถูกต้อง
ตามหลักการให้ยาและประสิทธิภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
อายุและน้ำหนักตัว
เด็กเล็ก ๆ ตับและไตยังเจริญไม่เต็มที่
ผู้สูงอายุมาก ๆ การทํางานของตับ และไตลดลง
คนที่มีน้ำหนักตัว มากต้องได้รับขนาดของยาเพิ่มสูงขึ้น
เพศ
ผู้ชายมีขนาดตัวใหญ่กว่าผู้หญิง
ผู้หญิงมีไขมันมากกว่าและมีของเหลวในร่างกายน้อยกว่าผู้ชาย
กรรมพันธุ์
อาจมีความไวผิดปกติต่อยาบางชนิด
บางคนแพ้ยาง่าย
ภาวะจิตใจ
การตอบสนองแบบมีเงื่อนไขจากการเรียนรู้และจดจําประสบการณ์ที่ไม่ดี
ภาวะสุขภาพ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือมีอาการป่วย
ได้รับยาจะมีผลต่อการแสดงออกของฤทธิ์
ยาต่างจากคนปกติ
ทางที่ให้ยา
ยาที่ให้ทางหลอดเลือดจะดูดซึมได้เร็วกว่ายา
ที่ให้รับประทานทางปาก
เวลาที่ให้ยา
ยาบางชนิดต้องให้เวลาที่ถูกต้อง
ยาจึงออกฤทธิ์ตามที่ต้องการ
ยาปฏิชีวนะ
บางชนิดต้องให้ก่อนอาหาร จึงจะดูดซึมได้ดี
สิ่งแวดล้อม
ยาที่รักษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางชนิด
ระบบการตวงวัดยา
พยาบาลจะต้องทราบระบบการตวงวัดยา
เพื่อสามารถคํานวณขนาดของยาได้ถูกต้องกรณีที่แพทย์สั่ง
ระบบอโพทีคำรี
ถ้าเป็นน้ำหนักส่วนใหญ่ใช้หน่วย
เป็นปอนด์ ออนซ์ เกรน
พบบ่อย
20 เกรน (grain) = 1 สครูเปิล (scruple)
3 สครูเปิล (scruple) = 1 แดรม (dram)
8 แดรม (dram) = 1 ออนซ์ (ounce)
12 ออนซ์ (ounce) = 1 ปอนด์ (pound)
ระบบเมตริก
ใช้หน่วยเป็น กรัม มิลลิกรัม ลิตร มิลลิลิตร
เช่น
1 ลิตร = 1000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
1 กิโลกรัม * = 1000 กรัม (gm)
1 กรัม * = 1000 มิลลิกรัม (mg)
1 มิลลิกรัม * = 1000 ไมโครกรัม (mcg)
1 กรัม = 1 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
ระบบมาตราตวงวัดประจําบ้าน
มีหน่วยที่ใช้เป็น หยด ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ถ้วยชา และถ้วยแก้ว
เทียบได้กับระบบเมตริก
คําย่อและสัญลักษณ์เกี่ยวกับคําสั่งการให้ยา
คําสั่งแพทย์ในการรักษาส่วนใหญ่ใช้เป็นคําย่อและสัญลักษณ์
ความถี่การให้ยา
วิถีทางการให้ยา
เวลาการให้ยา
คําสั่งแพทย์ คํานวณขนาดยา
คําสั่งแพทย์
คําสั่งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป
(Standing order / order for Continuous)
สั่งครั้งเดียวและใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีคําสั่งระงับ (discontinue)
บางครั่งแพทย์อาจระบุวันที่ระงับ ยาไว้
การให้ยาปฏิชีวนะ
คําสั่งใช้ภายในวันเดียว
(Single order of order for one day)
เป็นคําสั่งที่ใช้ได้ใน 1 วัน
เมื่อได้ให้ยาไปแล้วเมื่อครบก็ระงับไปได้เลย
คําสั่งที่ต้องให้ทันที (Stat order)
เป็นคําสั่งการให้ยาครั้งเดียวและต้องให้ทันที
คําสั่งที่ให้เมื่อจําเป็น (prn order)
เป็นคําสั่งที่กําหนดไว้ให้ปฏิบัติเมื่อ
ผู้ป่วยมีอาการ บางอย่างเกิดขึ้น
มีไข้ ปวดแผล ชัก
พยาบาลจะต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของคําสั่งการรักษา
ชื่อของผู้ป่วย
ต้องเขียนทั้งชื่อและนามสกุลของผู้ป่วย
ห้ามเขียนแต่ชื่อเพียงอย่างเดียว
วันที่เขียนคําสั่งการรักษา ชื่อของยา
ขนาดของยา วิถีทางการให้ยา
เวลาและความถี่ในการให้ยา
ลายมือผู้สั่งยา
ลักษณะคําสั่งแพทย์ตามทางวิถีทางการให้ยา
แพทย์จะเขียนคําสั่งการให้ยา
รูปแบบเดียวกัน คือ ชื่อยา - ขนาด จํานวน – ทางที่ให้ - ความถี่
พยาบาลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ วิถีทางการให้ยา (route)
รายละเอียด
ทางปาก (oral)
ยาที่ให้ผู้ป่วยรับประทานทางปาก
โดยยาจะดูดซึมทางระบบทางเดิน อาหารและลําไส้
ชนิดของการปรุงยา
ยาเม็ด (tablet)
ยาแคปซูล (capsule)
ยาน้ำเชื่อม (Syrup)
อีลิกเซอร์ (elixir)
อีมัลชั่น (emulsion)
ทางสูดดม (inhalation)
ยาที่ใช้พ่นให้ผู้ป่วยสูดดมทางปากหรือจมูก
ดูดซึมทางระบบ ทางเดินหายใจ
ชนิดของการปรุงยา
ชนิดสเปรย์ (spray)
พ่นทางสายให้ ออกซิเจน (nebulae)
ทางเยื่อบุ (mucous)
ยาที่ใช้สอดใส่หรือหยอดทางอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วย
ดูดซึมเข้าทางเยื่อบุสู่ระบบไหลเวียนของเลือดบริเวณอวัยวะนั้น
ชนิดของการปรุงยา
ชนิดเม็ด (tablet)
ใช้สอด (Suppository) ทางช่องคลอด/ทวารหนัก
อมใต้ลิ้น (Sublingual)
ยาที่ละลายในน้ำ (aqueous solution)
ใช้หยอด (instillate)
ใช้ล้าง (irrigate)
ทางผิวหนัง (skin)
ใช้ทาบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย
ดูดซึมเข้าร่างกายทางผิวหนัง
ชนิดของการปรุงยา
ชนิดโลชั่น (Lotion)
ครีม (Cream)
ยาขี้ผึ้ง (ointment)
ยาเปียก (paste)
ยาถูนวด (inunction) ยาผงใช้โรย (powder)
ทางกล้ามเนื้อ (intramuscular)
ใช้ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อของผู้ป่วย
ดูดซึมเข้าร่างกายทางระบบไหลเวียนเลือดที่ชั้นกล้ามเนื้อ
ชนิดของการปรุงยา
ลักษณะยาที่ละลายในน้ำ (aqueous solution) เท่านั้น
ทางชั้นผิวหนัง (intradermal)
ใช้ฉีดเข้าทางชั้นผิวหนังของผู้ป่วย
ดูดซึมเข้าร่างกายทางระบบไหลเวียนเลือดที่ชั้นผิวหนัง
ชนิดของการปรุงยา
ยาที่ละลายในน้ำ (Aqueous solution)
ทางหลอดเลือดดํา (intravenous)
ใช้ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดําของผู้ป่วย
เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดโดยตรง
ชนิดของการปรุง
ยาที่ละลายในน้ำ (aqueous solution) เท่านั้น
ทางใต้ผิวหนัง (Subcutaneous / hypodermal)
ใช้ฉีดเข้าที่ใต้ผิวหนังของผู้ป่วย
ดูดซึมเข้าระบบไหลเวียนเลือดที่ชั้นใต้ผิวหนัง
ชนิดของการปรุงยา
เป็นลักษณะสารละลาย (Aqueous solution) เท่านั้น
คํานวณขนาดยา
การคํานวณยาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยา
ตามแผนการรักษา
หลักการคํานวณ
ความเข้มข้นของยา (ในแต่ละส่วน) = ขนาดความเข้มข้นของยาที่มี/ปริมาณยาที่มี
รูปแบบการบริหารยา
การให้ยาอย่างถูกต้อง
พยาบาลต้องตระหนักถึงหลักการบริหารยา
(Drug administration)
พยาบาลวิชาชีพจะต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยและวิชาชีพมากยิ่งขึ้นต้องยึดหลักถึง 11 ข้อ
Right patient/client (ถูกคน)
ให้ยาถูกคน หรือถูกตัวผู้ป่วย
เช็คชื่อผู้ป่วยทุกครั้งก่อนให้ยาหรือก่อนฉีดยา
เทียบกับใบ Medication administration record
Right drug (ถูกยา)
ให้ยาถูกชนิด
อ่านชื่อยาอย่างน้อย 3 ครั้ง
ก่อนหยิบภาชนะใส่ยาออกจากที่เก็บ
ก่อนเอายาออกจากภาชนะใส่ยา
ก่อนเก็บภาชนะใส่ยาเข้าที่หรือก่อนทิ้งภาชนะใส่ยา
Right dose (ถูกขนาด)
ให้ยาถูกขนาด
การจัดยาหรือคํานวณยาให้มีขนาดและความเข้มข้นของยาตามคําสั่งการให้ยา
Right time (ถูกเวลา)
ให้ยาถูกหรือตรงเวลา
ให้ยาตรงตามเวลาหรือความถี่ตามคําสั่งการให้ยา
การให้ยาก่อนอาหาร
เพื่อไม่ต้องการให้ยาได้สัมผัสกับอาหาร
ให้ยาก่อนอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง
การให้ยาหลังอาหาร
ให้หลังอาหารทันทีจนถึง 2 ชั่วโมงหลังอาหาร
การให้ยาช่วงใดก็ได้
ไม่มีผลต่อการดูดซึม
การให้แบบกําหนดเวลาหรือ
ให้เฉพาะกับอาหารที่เฉพาะ
ให้พร้อมกับอาหารคําแรก
ห้ามรับประทานพร้อมนม
Right route (ถูกวิถีทาง)
ให้ยาถูกทาง
ให้ยาแก่ผู้ป่วยตามที่แพทย์สั่งการรักษา
Right technique (ถูกเทคนิค)
ให้ยาถูกตามวิธีการ
ใช้เทคนิคที่เหมาะสม
ยึดหลักการปลอดเชื้อ
Right documentation (ถูกการบันทึก)
บันทึกการให้ยาที่ถูกต้อง
พยาบาลลง นามในเวลาเดียวกับที่ให้ยากับผู้ป่วย
Right to refuse
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับความยินยอม
จากผู้ป่วยในการจัดการยา
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการใช้ยา
Right History and assessment
การซักประวัติ และการประเมินอาการก่อน-หลังให้ยา
โดยการสอบถามข้อมูล/ ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยทุกครั้งก่อนการให้ยา
Right Drug-Drug Interaction and Evaluation
การที่จะต้องให้ยาร่วมกัน จะต้อง ดูก่อนว่ายานั้นสามารถให้ร่วมกันได้ไหม
Right to Education and Information
ก่อนที่พยาบาลจะให้ยาผู้ป่วยทุกครั้งต้องแจ้ง
ชื่อยาที่จะให้
ทางที่จะให้ยา ผลการรักษา ผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิด
อาการที่ต้องเฝ้าระวัง
หลักสําคัญในการให้ยา
การให้ยาทางปากใช้หลักสะอาด
การฉีดยาใช้หลัก aseptic technique
ตรวจสอบคําสั่งแพทย์ก่อนให้ยาทุกครั้ง
ก่อนให้ยาต้องทราบวัตถุประสงค์การให้ยา
ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาจากตัวผู้ป่วยและญาติในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
ตรวจสอบวันหมดอายุของยา
ไม่ควรเตรียมยาค้างไว้
ตรวจสอบผู้ป่วยก่อนให้ยา
บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์
ต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้าพยาบาล
ลงบันทึกการให้ยาหลังจากให้ยาทันที
มีการประเมินประสิทธิภาพของยาที่ให้
สังเกตอาการก่อนและหลังการให้ยา
กรณีที่ให้ยาผิดต้องรีบรายงานให้พยาบาลหัวหน้าเวรรับทราบเพื่อหาทางแก้ไข
การให้ยาทางปากและยาเฉพาะที่
การให้ยาทางปาก
ให้ยาที่สามารถรับประทานทางปากได้
ชนิดยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง หรือยาน้ำ
ข้อควรปฏิบัติในการให้ยาทางปาก
ยาที่ระคายเคืองทางเดินอาหารให้กินหลังอาหารหรือนม
ยกเว้นยาพวก Tetracycline ไม่ ควรให้ผู้ป่วยรับประทานพร้อมนม
ให้ยาเม็ดในเวลาเดียวกัน
ยาชนิดผงให้ใช้ช้อนตวงปาดแล้วเทใส่แก้วยา
ยาจิบแก้ไอควรให้ภายหลังรับประทานยาเม็ด
ยาลดกรดในกระเพาะอาหารควรให้อันดับสุดท้าย
ยาอมใต้ลิ้น ควรให้หลังจากรับประทานยาทุกชนิด
อุปกรณ์ในการให้ยาทางปาก
ถ้วยยา หรือ Syringe
ถาดหรือรถใส่ยา
แบบบันทึกการให้ยา
น้ำเปล่า หรือ น้ำส้ม
การพยาบาลเพื่อให้ยาได้ถูกหลักการ
ดูเบอร์เตียง ชื่อ นามสกุล ผู้ป่วยใน MAR ให้ตรงกัน
ดูชื่อยา ขนาดยา เวลาที่ให้ใน MAR ของผู้ป่วยแต่ละราย
เตรียมยาให้ตรงกับ MAR ของผู้ป่วยแต่ละราย
อ่านฉลากยาให้ตรงกับ MAR ของผู้ป่วยแต่ละราย ดูวันที่หมดอายุของยา
เทยาหรือรินยาให้ได้ตรงตามจํานวนกับขนาดของยาใน MAR ของผู้ป่วยแต่ละราย
การให้ยาเฉพาะที่
เป็นการให้ยาภายนอกเฉพาะตําแหน่ง
หลักการบริหารยา
การสูดดม (Inhalation)
การให้ยาทางตา (Eye instillation)
การให้ยาทางหู (Ear instillation)
การหยอดยาจมูก (Nose instillation)
การเหน็บยา
ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
ความคลาดเคลื่อนที่ทําให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยา ที่ควรได้รับ
ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา
(Prescription error)
ความคลาดเคลื่อนที่พบในใบสั่งยา
เกิดจากแพทย์เขียนผิดพลาด หรือไม่ชัดเจน
ความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคําสั่งใช้ยา (Transcribing error)
ความคลาดเคลื่อน ของกระบวนการคัดลอกคําสั่งใช้ยาจากคําสั่งใช้ยาต้นฉบับ
ที่หอผู้ป่วย
พยาบาลลอกคําสั่งแพทย์หรืออ่านคําสั่งแพทย์
ไม่ถูกต้อง
ไม่ตรง ตามแพทย์สั่ง
ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์
ข้อมูลยาในคอมพิวเตอร์ไม่ครอบคลุม
คัดกรองข้อมูลผิดพลาด
ที่เภสัชกรรม
จ้าหน้าที่ห้องยา/เภสัชกร อ่านคําสั่งแพทย์ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรง ตามแพทย์สั่ง
ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา
(Dispensing Error)
ความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจ่ายยาไม่ถูกต้องตามที่ระบุในคําสั่งใช้ยา
ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
(Administration error)
แตกต่างไปจากคําสั่งใช้ยาของผู้สั่งใช้ยาที่เขียนไว้ในใบบันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วย
การให้ยาไม่ครบ
การให้ยาผิดชนิด
การให้ยาซึ่งผู้สั่งใช้ยาไม่ได้สั่ง
การให้ยาซึ่งผู้สั่งใช้ยาไม่ได้สัง
การให้ยาผู้ป่วยผิดคน
การให้ยาผิดขนาด
การให้ยาผิดวิถีทาง
การให้ยาผิดเวลา
การให้ยามากกว่าจํานวนครั้งที่สั่ง
การให้ยาในอัตราเร็วที่ผิด
การให้ยาผิดเทคนิค
การให้ยาผิดรูปแบบยา
บทบาทพยาบาลในการให้ยาผู้ป่วย
ผู้ป่วยเข้ามานอนรักษาในครั้งแรก
พยาบาลตรวจสอบยาให้ตรงกับคําสั่งแพทย์
เช็คยาและจํานวนให้ตรงตามฉลากยา
หากไม่ตรงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
การซักประวัติ
ถามเรื่องการแพ้ยาทุกครั้ง
ดูสติ๊กเกอร์สีแสดงแพ้ยาที่ติดอยู่ขอบ OPD card
ดูรายละเอียดใน OPD card ร่วมด้วยทุกครั้ง
เมื่อมีคําสั่งใหม่หัวหน้าเวรลงคําสั่ง
ในใบ MAR ทุกครั้ง
ยาที่แพทย์สั่งในห้องยาไม่มีปริมาณ mg ตามสั่ง
ยาที่เป็นเศษส่วน และมากกว่าหนึ่ง มักจัดผิดให้วงกลมด้วยปากกาแดงให้เป็นที่สังเกต
ยาก่อนนอนทําเครื่องหมายดอกจันทร์ในใบ MAR
จัดยาให้ระมัดระวังในการจัด
เวรบ่าย
พยาบาลจะตรวจสอบรายการยาในใบ MAR กับคําสั่งแพทย์ให้ตรงกัน
ดูยาใน ช่องลิ้นชักยาอีกครั้ง
กรณีผู้ป่วยที่ NPC ให้มีป้าย NPO
เขียนระบุว่า NPO
เพื่อผ่าตัดหรือเจาะเลือดเช้า
อธิบายและแนะนําผู้ป่วยและญาติทุกครั้ง
กรณีคําสั่งสารน้ำ+ยา B Co 2 ml
เขียนคําว่า +ยา B CO 2 ml
ด้วยปากกาเมจิก อักษรตัว ใหญ่บนป้ายสติ๊กเกอร์
การจัดยาจะจัดตามหน้าของยา
หลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
มีผู้จัด-ผู้ตรวจสอบ คนละคนกันตรวจสอบก่อนให้ยา
การแจกยาไล่แจกยาตามเตียงพร้อมเซ็นชื่อทุกครั้ง
ให้ยึดหลัก 6R
สมรรถนะของพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Competencies of nurses for Rational Drug Use)
สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา
ประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา
ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง
ติดตามความร่วมมือในการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
การส่งต่อ
สามารถร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสม
สามารถสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยา
บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ
สามารถติดตามผลการรักษา และรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้
สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม
สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ตามความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ
สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยา ได้อย่างต่อเนื่อง
สามารถทํางานร่วมกับบุคลากรอื่นแบบสหวิชาชีพ
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาทางปากและยาเฉพาะที่
การประเมินสภาพ
ประเมินดูว่าผู้ป่วยมีข้อห้าม
ในการให้ยาทางปากหรือไม่
การกลืนเป็นอย่างไร
อาการ คลื่นไส้ อาเจียน
ประวัติการแพ้ยา
ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การได้รับสารน้ำเพียงพอหรือไม่
ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาที่ได้รับ
การปฏิบัติตัวในการได้รับยา
การวินิจฉัยการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผล