Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยากินและยาเฉพาะที่ - Coggle Diagram
การบริหารยากินและยาเฉพาะที่
วัตถุประสงค์ของการให้ยา
เพื่อการรักษา เป็นการให้ยาเพื่อรักษาตามสาเหตุของโรค หรือช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาและโรคที่เป็นอยู่
รักษาตามอาการ
รักษาเฉพาะโรค
ทดแทนสิ่งที่ร่างกายขาด
ให้ร่างกายปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
เพื่อการตรวจวิเคราะห์โรค
เพื่อการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
อายุและน้ำหนักตัว
เพศ
กรรมพันธุ์
ภาวะจิตใจ
ภาวะสุขภาพ
ทางที่ให้ยา
เวลาท่ีให้ยา
สิ่งแวดล้อม
ระบบการตวงวัดยา
ระบบอโพทีคารี
น้ําหนักส่วนใหญ่ใช้หน่วยเป็นปอนด์ ออนซ์ เกรน
20 เกรน (grain) = 1 สครูเปิล (scruple)
3 สครูเปิล (scruple) = 1 แดรม (dram)
8 แดรม (dram) = 1 ออนซ์ (ounce)
12 ออนซ์ (ounce) = 1 ปอนด์ (pound)
ระบบเมตริก
เป็นน้ําหนักส่วนใหญ่ใช้หน่วยเป็น กรัม มิลลิกรัม ลิตร มิลลิลิตร
1 ลิตร = 1000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
1 กิโลกรัม * = 1000 กรัม (gm)
1 กรัม * = 1000 มิลลิกรัม (mg)
1 มิลลิกรัม * = 1000 ไมโครกรัม (mcg)
1 กรัม = 1 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
ระบบมาตราตวงวัดประจําบ้าน
หน่วยที่ใช้เป็น หยด ช้อนชํา ช้อนโต๊ะ ถ้วยชํา และถ้วยแก้ว
15หยด* = 1มิลลิลติร(ซี.ซี.)
1ช้อนชํา* = 5มิลลิลติร(ซี.ซี.)
1 ช้อนหวาน = 8 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
1 ช้อนโต๊ะ * = 15 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
1 ถ้วยชา = 180 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
1 ถ้วยแก้ว = 240 มิลลิลิตร (ซี.ซี.)
คำย่อและสัญลักษณ์เกี่ยวกับคำสั่งการให้ยา
ความถี่การให้ยา
OD = omni die = วันละ 1 ครั้ง
bid = bis in die = วันละ 2 ครั้ง
tid = ter in die = วันละ 3 ครั้ง
qid = quarter in die = วันละ 4 ครั้ง
q 6 hrs = quaque 6 hora = ทุก 6 ชั่วโมง
วิถีทางการให้ยา
O = รับประทานทางปาก
M = เข้ากล้ามเนื้อ
SC = เข้าชั้นใต้ผิวหนัง
V = เข้าหลอดเลือดดํา
ID = เข้าชั้นระหว่างผิวหนัง
subling = อมใต้ลิ้น
Inhal = ทางสูดดม
Nebul = พ่นให้สูดดม
Supp = เหน็บ / สอด
instill = หยอด
เวลาการให้ยา
a.c. = ante cibum = ก่อนอาหาร
p.c. = post cibum = หลังอาหาร
h.s. = hora somni = ก่อนนอน
p.r.n. = pro re nata = เมื่อจําเป็น
stat = statim = ทันทีทันใด
คำสั่งแพทย์ คำนวณขนาดยา
คำสั่งแพทย์
ในกรณีเร่งด่วนหรือภาวะ ฉุกเฉินแพทย์อาจสั่งการรักษาด้วยปากหรือทางโทรศัพท์หลังจากที่พ้นภาวะวิกฤติแล้ว พยาบาลต้องให้ แพทย์เขียนคําสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรทันที
การสั่งคําสั่งการรักษาทางโทรศัพท์พยาบาลจะต้อง เขียนคําสั่งด้วยตนเองพร้อมทั้งเวลาและชื่อของแพทย์ผู้สั่งการรักษาและให้แพทย์เซ็นชื่อกํากับทันทีเมื่อ แพทย์มาบนหอผู้ป่วย
การเขียนคําสั่งแพทย์มี 4 ชนิด
คําสั่งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป
คําสั่งใช้ภายในวันเดียว
คําสั่งที่ต้องให้ทันที
คําสั่งที่ให้เมื่อจําเป็น
ส่วนประกอบของคำสั่งการรักษา
ชื่อของผู้ป่วย
วันที่เขียนคําสั่งการรักษา
ชื่อของยา
ขนาดของยา
เวลาและความถี่ในการให้ยา
ลายมือผู้สั่งยา
ลักษณะคำสั่งแพทย์ตามทางวิถีทางการให้ยา
โดยทั่วไปแพทย์จะเขียนคําสั่งการให้ยาเป็น รูปแบบเดียวกันคือ ชื่อยา–ขนาด–จํานวน–ทางที่ให้–ความถี่
คำนวณขนาดยา
ความเข้มข้นของยา (ในแต่ละส่วน) =
ขนาดความเข้มข้นของยาที่มี หาร ปริมาณยาที่มี
รูปแบบการบริหารยา
Right time (ถูกเวลา)
การให้ยาถูกหรือตรงเวลา โดยการให้ยาตรงตามเวลาหรือความถี่ตามคาสั่งการให้ยา
Right route (ถูกวิถีทาง)
การให้ยาถูกทาง โดยการให้ยาแก่ผู้ป่วยตามที่แพทย์สั่งการรักษา เป็นการประกันว่าผู้ป่วยได้รับยาสอดคล้องกับวิถีการบริหารยา
Right documentation (ถูกการบันทึก)
การบันทึกการให้ยาที่ถูกต้อง โดยพยาบาลลงนามในเวลาเดียวกับที่ให้ยากับผู้ป่วยในเอกสารที่ได้กําหนดไว้
Right to refuse
การตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยในการจัดการยา
Right dose (ถูกขนาด)
การให้ยาถูกขนาด โดยการจัดยาหรือคํานวณยาให้มีขนาดและ ความเข้มข้นของยาตามคำสั่งการให้ยา
Right History and assessment
การซักประวัติ และการประเมินอาการก่อน-หลังให้ยา โดยการสอบถามข้อมูล/ ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยทุกครั้งก่อนการให้ยา
Right technique (ถูกเทคนิค)
การให้ยาถูกตามวิธีการ ใช้เทคนิคที่เหมาะสม โดยการ เตรียมยาและให้ยาที่ถูกต้องยึดหลักการปลอดเชื้อสําหรับยารับประทานทางปาก และหลักการปราศจาก เชื้อสําหรับยาฉีด มีการประเมินค่าความดันโลหิตสําหรับยาที่แพทย์สั่งให้ประเมินก่อน
Right drug (ถูกยา)
การให้ยาถูกชนิด โดยการอ่านชื่อยําอย่างน้อย 3 ครั้ง
Right Drug-Drug Interaction and Evaluation
การที่จะต้องให้ยาร่วมกัน จะต้อง ดูก่อนว่ายานั้นสามารถให้ร่วมกันได้ไหม เมื่อให้ร่วมกันจะมีผลทําให้ยาออกฤทธิ์มากขึ้นหรือน้อยลง หรือมี ผลต่อประสิทธิภาพยา
Right patient/client (ถูกคน)
การให้ยาถูกคน หรือถูกตัวผู้ป่วย โดยการเช็คชื่อผู้ป่วยทุก ครั้งก่อนให้ยา
Right to Education and Information
ก่อนที่พยาบาลจะให้ยาผู้ป่วยทุกครั้งต้องแจ้ง ชื่อยาที่จะให้ทางที่จะให้ยาผลการรักษาผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดและอาการที่ต้องเฝ้าระวังก่อนการให้ยาทุกครั้ง
หลักสำคัญในการให้ยา
ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาจากตัวผู้ป่วยและญาติ
ตรวจสอบวันหมดอายุของยา
ไม่ให้ยาที่ฉลากมีการลบเลือนไม่ชัดเจน
ตรวจสอบผู้ป่วยก่อนให้ยาโดยการถามชื่อและนามสกุลก่อนทุกครั้ง
บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการให้ยา
ต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้าพยาบาล
ก่อนให้ยาต้องทราบวัตถุประสงค์การให้ยา
ไม่ควรเตรียมยาค้างไว้
ตรวจสอบคําสั่งแพทย์ก่อนให้ยาทุกครั้ง
ลงบันทึกการให้ยาหลังจากให้ยาทันที
มีการประเมินประสิทธิภาพของยา
สังเกตอาการก่อนและหลังการให้ยา
ในกรณีที่ให้ยาผิดต้องรีบรายงานให้พยาบาลหัวหน้าเวรรับทราบเพื่อหาทางแก้ไข
การให้ยาทางปากใช้หลักสะอาด และการฉีดยาใช้หลัก aseptic technique
การให้ยาทางปากและยาเฉพาะที่
การให้ยาทางปาก
การให้ยาที่สามารถรับประทานทางปากได้
ยาที่ระคายเคืองทางเดินอาหารให้กินหลังอาหารหรือนม
การให้ยาเม็ดในเวลาเดียวกัน สามารถรวมกันได้ ส่วนยาน้าให้แยกใส่แก้วยาต่างหาก
ยาชนิดผงให้ใช้ช้อนตวงปาดแล้วเทใส่แก้วยา
ยาจิบแก้ไอควรให้ภายหลังรับประทานยาเม็ดแล้วเพื่อให้ยาค้างอยู่ที่คอไม่ถูกน้ําล้างออก
บันทึกในแผนการพยาบาลและในใบ MAR ทุกครั้งหลังให้ยา
การให้ยาเฉพาะที่
เป็นการให้ยาภายนอกเฉพาะตําแหน่ง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่
การให้ยาทางตา (Eye instillation)
การให้ยาทางหู (Ear instillation) เป็นการหยอดยาเข้าไปในช่องหูชั้นนอก
การหยอดยาจมูก (Nose instillation) ให้ผู้ป่วยเงยหน้ําขึ้น
การเหน็บยา เป็นการให้ยาที่มีลักษณะเป็นเม็ด เข้าทางเยื่อบุตามอวัยวะต่าง ๆ
ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา (Prescription error)
ความคลาดเคลื่อนที่พบในใบสั่งยา (ใบ Order)
สั่งยาผิดขนาด
สั่งยาผิดชนิด
ผิดวิถีทาง
ผิดความถี่
สั่งยาที่มีประวัติแพ้
ลายมือไม่ชัดเจน
ความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคำสั่งใช้ยา (Transcribing error)
ความคลาดเคลื่อน ของกระบวนการคัดลอกคําสั่งใช้ยาจากคําสั่งใช้ยาต้นฉบับที่ผู้สั่งใช้ยาเขียน
ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (Dispensing Error)
ความคลาดเคลื่อนใน กระบวนการจ่ายยาของกลุ่มงานเภสัชกรรม ที่จ่ายยาไม่ถูกต้องตามที่ระบุในคําสั่งใช้ยา
ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา (Administration error)
การบริหารยาที่ แตกต่างไปจากคาสั่งใช้ยาของผู้สั่งใช้ยาที่เขียนไว้ในใบบันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลในการให้ยาผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยเข้ามานอนรักษาในครั้งแรก พยาบาลตรวจสอบยาให้ตรงกับคําสั่งแพทย์ พร้อมกับ เช็คยาและจํานวนให้ตรงตามฉลากยาหากไม่ตรงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
การซักประวัติ จะถามเรื่องการแพ้ยาทุกครั้งดูสติ๊กเกอร์สีแสดงแพ้ยาที่ติดอยู่ขอบ OPD card
เมื่อมีคําสั่งใหม่ หัวหน้าเวร ลงคําสั่งในใบ MAR ทุกครั้ง
การจัดยาให้ระมัดระวังในการจัดยาเนื่องจากความผิดพลาดด้านบุคคลโดยเฉพาะยาน้ํา
เวรบ่าย พยาบาลจะตรวจสอบรายการยาในใบ MAR กับคําสั่งแพทย์ให้ตรงกัน และดูยาในช่องลิ้นชักยาอีกครั้ง
กรณีผู้ป่วยที่ NPO ให้มีป้าย NPO และเขียนระบุว่า NPO เพื่อผ่าตัดหรือเจาะเลือดเช้า ให้อธิบายและแนะนําผู้ป่วยและญาติทุกครั้ง
สมรรถนะของพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Competencies of nurses for Rational Drug Use)
สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือมีความจาเป็นต้องใช้ยาในการรักษา
สามารถร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจําเป็น (Consider the options)
สามารถสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยา โดยพิจารณาจากข้อมูลทางเลือกที่ถูกต้อง เหมาะสมกับบริบทและเคารพในมุมมองของผู้ป่วย (Reach a shared decision)
บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ (Provide information)
สามารถติดตามผลการรักษา และรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ (Monitor and review)
สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม (Prescribe safely)
สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ตามความรู้ความสามารถทางวิชําชีพ และเป็นไปตํามหลักเวชจริยศาสตร์ (Prescribe professionally)
สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยา ได้อย่างต่อเนื่อง (Improve prescribing practice)
สามารถทางานร่วมกับบุคลากรอื่นแบบสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Prescribe as part of a team)
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาทางปากและยาเฉพาะที่
1.การประเมินสภาพ
ประเมินดูว่าผู้ป่วยมีข้อห้ามในการให้ยาทางปากหรือไม่
ประวัติการแพ้ยา
ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูหน้าที่การทํางานของ ตับ ไต
การได้รับสารน้ําเพียงพอหรือไม่
ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาที่ได้รับ
การปฏิบัติตัวในการได้รับยา
การวินิจฉัยการพยาบาล
นําข้อมูลจากการประเมินสภาพมาจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เป็นปัญหา
3.การวางแผนการพยาบาล
วางแผนหาวิธีการว่าจะให้ยาอย่างไร ผู้ป่วยจึงจะได้ยาถูกต้อง ครบถ้วน ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดหรือได้รับ อันตราย
การปฏิบัติการพยาบาล
การปฏิบัติการให้ยาตามแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ โดยยึดหลัก ความถูกต้อง 7 ประการ
การประเมินผล
หลังจากให้แล้วต้องกลับมาตามผลทุกครั้ง เพื่อดูผลของยาต่อผู้ป่วยทั้ง ด้านการรักษา และผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์