Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรก น้ําคร่ํา และความผิดปกติของทาร…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรก น้ําคร่ํา และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ําคร่ําผิดปกติ
น้ําคร่ํามากกว่าปกติ(polyhydramnios)
อุบัติการณ
การเกิดครรภ์แฝดน้ำ พบประมาณร้อยละ 1 ของการตั้งครรภ
สาเหต
ด้านมารดา
มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก
ความผิดปกติของระบบประสาท การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ความพิการของทารกในครรภ
ไม่ทราบสาเหต
พบความรุนแรงของภาวะครรภ์แฝดน้ำได้เล็กน้อยถึงปานกลาง
การจำแนกชนิด
ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (acute hydramnios )
อายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์ จะมีมีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน มีอาการบวมที่ผนังหน้าท้อง อวัยวะเพศและหน้าขา
ไม่สามารถคลำหาส่วนต่างๆของทารกได้อย่างชัดเจน
ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios )
ปริมาณน้ำคร่ำจะค่อยๆเพิ่มขึ้นอาการและอาการแสดงจะคล้ายๆกันกับภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน จะพบเมื่ออายุครรภ์ 30 สัปดาห์ขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการหายใจลำบาก อึดอัด
ผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์ เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น อึดอัดหายใจลำบาก ท้องอืด เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูกมากเกินไป
อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด
ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
ตกเลือดหลังคลอด
ติดเชื้อหลังคลอด
ผลต่อทารก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด
เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย (prolapsed umbilical cord)
ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่ เนื่องจากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก ทารกจึงหมุนเปลี่ยนท่าไปมาได้ง่าย
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ
ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
➢ จัดท่ามารดานอนตะแคง ยกศีรษะสูงเล็กน้อยประมาณ 30 องศา
➢ สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ congestive heart failure
➢ แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย
ระยะคลอด
ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ แล้วควรจัดให้มารดานอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันภาวะสายสะดือย้อย
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนกับหญิงตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากิดปกติ เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 หรือ 97.5 ของแต่ละอายุครรภ์ โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า 2,000 มล. หรือวัดค่า Amniotic fluid Index: AFI ได้24 - 25 ซม. ขึ้นไป
น้ําคร่ําน้อยกว่าปกติ (oligohydramnios)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร ภาวะน้ำคร่ำน้อยอาจพบร่วมกับความผิดปกติของทารก ความผิดปกติของโครโมโซม ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภและครรภ์เกินกำหนด
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ 26-35 %
ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ โดยเฉพาะระบบของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น
ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 18, turner syndrome
รกเสื่อมสภาพ
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์เสี่ยงต่อ
การเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ถ้าเกิดในอายุครรภ์น้อย ทารกมักมีความพิการรุนแรง
ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) เนื่องจากมีการกดต่อผนังทรวงอก โดยมดลูกที่มีน้ำคร่ำน้อยจะขัดขวางการขยายตัวของปอด และผนังทรวงอก
Amniotic band syndrome คือการเกิดเยื่อพังผืดรัดและดึงรั้งมือและแขนหลายบริเวณ
เนื่องจากการมีน้ำคร่ำน้อยในโพรงมดลูก
ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การวินิจฉัย
การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง (maximum ventrical pocket, MVP) หากพบว่า MVP มีค่าน้อยกว่า 1 หรือ 2 เซนติเมตร ให้ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย
การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร
ในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ ขนาดของถุงน้ำคร่ำ (mean gestational sac) กับขนาดของทารก โดยวัดจาก crown-rump length (CRL)
การพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion) ตามแผนการรักษาของแพทย์
รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ระบายความรู้สึก
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intra Uterine Growth Restriction [IUGR])
ความหมาย
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไปตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้วก็ตาม โดยน้ำหนักแรกคลอดของทารกต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่10 ที่อายุครรภ์นั้นๆ
ทารกที่มีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์(small for gestational age: SGA)
ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ (constitutionally small)
ทารกที่มีขนาดเล็ก
เนื่องมาจากมารดาตัวเล็ก หรือปัจจัยทางพันธุกรรม
2 ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR/ Fetal
growth restriction: FGR)
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทุพ
โภชนาการ
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดามีรูปร่างเล็ก
ภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักของมารดาไม่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางรุนแรง เช่น โรคธาลัสซีเมีย
มารดามีภาวะติดเชื้อ
โรคของมารดา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพของมารดา
การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก
ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้าง และอวัยวะของร่างกาย
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ เช่น cytomegalovirus, rubella, toxoplasma gondii,
listeriosis, วัณโรค, การติดเชื้อมาเลเลีย
ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 21, trisomy 13, trisomy 18
การจำแนกประเภทของ IUGR
ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (symmetrical IUGR)
สตรีตั้งครรภ์มีภาวะทุพโภชนาการ หรือมีน้ำหนักตัวก่อนคลอดน้อยกว่า 45 กิโลกรัมหรือน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นเลยขณะตั้งครรภ
สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมหรือการติดเชื้อในระยะแรกของการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน
การได้รับยาหรือสารเสพติด
ทารกพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะความพิการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด
ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (asymmetrical IUGR)
สตรีตั้งครรภ์มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
สตีตั้งครรภ์เป็นโรคเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงในการจับออกซิเจน เช่น โลหิตจาง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติโรคไต ที่มีการสูญเสียโปรตีนออกทางปัสสาวะ
ภาวะครรภ์แฝด พบว่าอัตราการเกิดทารก IUGR ในครรภ์แฝดสูงเป็น 5 เท่าเมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์เดี่ยวปกต
ความผิดปกติของรกและสายสะดือ ทำให้อาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงทารกลดลง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด
แนะนำให้มารดาพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย
ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยแนะนำให้มารดานับลูกดิ้นทุกวัน การทำ NST,OCT
ระยะคลอด
ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก ½ - 1 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารกได้
กุมารแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ
hypoglycemia, hypothermia, polycythemia
ทารกพิการแต่กําเนิด(congenital anormality)
ความหมาย
ความพิการที่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือความพิการที่อยู่ในอวัยวะภายใน ความพิการแต่กำเนิดในบางราย สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได
สาเหต
ปัจจัยด้านพันธุกรรม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวให้กำเนิดทารกพิการ
สิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ยา การติดเชื้อ สภาพของมารดา และปัจจัยจากมดลูก ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ รวมเรียกว่า Teratogen
ความผิดปกติของทารก
Malformation หมายถึง เป็นความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
Disruption หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
Deformation หมายถึง ความผิดปกติของรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของร่างกายเดิมเคยปกติมาก่อน
Dysplasia หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
1 ปากแหว่งเพดานโหว่
การพยาบาลทารกแรกเกิด
ดูแลด้านจิตใจสำหรับบิดา มารดา ที่ทารกมีปัญหาปากแหว่าง เพดานโหว่
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่พบปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่ เช่นเตรียมลูกสูบยางแดงไว้เพื่อดูดเสมหะในปากหรือจมูก
ดูแลการให้นมแม่
สอนมารดให้นิ้วโป้งปิดบริเวณ
ช้องปากที่แหว่งเมื่อทารกงับหัวนมและลานนม
แนะนำมารดาให้ใช้เพดานเทียมปิดเพดานเพื่อปิดไม่ให้ลมรั่วและป้องกันการสำลัก
กรณีที่ทารกไม่สามารถดูดนมแม
ใช้ช้อนหรือแก้ว เพื่อป้อนนมไหลเข้าคอได้โดยมีการดูดนมน้อยที่สุด
ใช้ syringe ต่อกับท่อยางนิ่ม ป้อนบริเวณกระพุ่งแก้มด้านในหรือให้นมไหลผ่านบริเวณบนลิ้น
จัดท่าทารกให้อยู่ในท่านอนหัวสูงหรือท่านั่ง
ภายหลังการให้ทารกดูดนมหรือให้นมต้องไล่ลมเป็นระยะ ๆ ทุก 15-30 นาท
ทารกศีรษะบวมน้ำหรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
การรักษา
ขณะตั้งครรภ์ครรภ
รายไม่รุนแรงและไม่ความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยมักแนะนำให้ติดตามการเปลี่ยนแปลง
อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก หรือมีความผิดปกติรุนแรงอื่น ๆ
ร่วมด้วย
อาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยซึ่งไม่สามารถเลี้ยงรอดได้
รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ
การดูแลทารก
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ ท่านอน การหายใจ การให้ความอบอุ่น
ให้การพยาบาลตามอาการ วัดขนาดของรอบศีรษะทารกทุกวัน
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจสภาพของทารก
บันทึกอาการและการพยาบาล
2 ดาวน์ซินโดรม
การรักษา
การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ มุ่งเน้นให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
4 ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
การพยาบาล
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ การดูแลเกี่ยวกับท่านอน การหายใจ การให้ความอบอุ่น
ให้การพยาบาลตามอาการและอาการแสดง
สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารกเกี่ยวกับระบบ Motor และ Mental retardation
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของทารก
บันทึกอาการแลอาการแสดง
6 เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
การพยาบาล
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะท่านอนให้นอนในท่าตะแคง หรือ นอนควำ่
ให้การพยาบาลตามอาการ และการพยาบาลก่อนผ่าตัดในรายที่เป็นน้อย ซึ่งอาจช่วยได้
3.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
4.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพทารก
บันทึกอาการและการพยาบาล
6.การให้folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังโหว่ได้
การดูแลและการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ
ตรวจสอบความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อยืนยันภาวะดังกล่าว เช่น การเจาะน้ำคร่ำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
ดูแลให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจเมื่อผลการตรวจวินิจฉัยพบภาวะผิดปกติ
ระยะคลอด
ให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ ฟังเสียงหัวใจทารก และประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ระยะหลังคลอด
ประเมินความต้องการสัมผัสทารก
ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ
5 ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
Open type NTDs คือมีการเปิดของ neural tissue กับสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติในช่วง primary neurulation
Closed type NTDs หรือ spina bifida occulta คือ NTD ที่มีผิวหนังภายนอกคลุมไว้และไม่มี expose
สาเหตุของการเกิด NTDs
Genetic factors
95% ของมารดาที่ให้กำเนิดทารก NTD ไม่มีประวัติในครอบครัวมา
ก่อน แต่มีหลายหลักฐานที่ระบุว่า NTD มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม
Environmental factors
ปัจจัยภายนอกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด NTDอาทิgeography, ethnicity แต่ปัจจัยมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างมีผลการศึกษาเยอะ
ทารกตายในครรภ์(Dead Fetus in Utero [DFU])
ความหมาย
การตายหรือเสียชีวิตเองโดยธรรมชาติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ
ชนิดของทารกตายในครรภ์
การตายของทารกในระยะแรก (early fetal death) คือ การตายก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
การตายของทารกในระยะกลาง (intermediate fetal death) คือการตายระหว่างอายุครรภ์20-28 สัปดาห
การตายของทารกในระยะสุดท้าย (late fetal death) คือการตายตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป บางครั้งหมายถึงทารกตายคลอด
สาเหตุ
ด้านมารดา
มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์ เช่น โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน SLE โรคไตชนิดรุนแรง โรคต่อมธัยรอยด์ โรคอ้วน โรคติดเชื้อต่าง ๆ เป็นต้น
มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
ภาวะทางสูติกรรม เช่น คลอดก่อนกำหนด ปัญหาระหว่างคลอด มดลูกแตก รกลอกตัวก่อนกำหนด ตั้งครรภ์เลยกำหนดหรือการตั้งครรภ์แฝด
ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกำหนด
มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ
ความผิดปกติของสายสะดือ
ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
ยาหรือสารเสพติดอื่น ๆ
ด้านทารก
มีภาวะพิการแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม หรือความพิการอื่น ๆ เช่นspina bifida, gastroschisis, hydrocephalus
ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ สายสะดือ ผิดปกติ เช่น knot หรือ entanglement
การวินิจฉัย
1.จากการซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง หรือสังเกตได้ว่าอาการของการตั้งครรภ์หายไป
การตรวจร่างกาย
2.1 น้ำหนักตัวของมารดาคงที่หรือลดลง เต้านมมีขนาดเล็กลง
2.2 คลำยอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ไม่พบว่าทารกมีการเคลื่อนไหว หรือบางรายที่ทารกเสียชีวิตมานานอาจคลำพบกะโหลกศีรษะทารกยุบตัวหรือผิดรูปได้
2.3 ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
2.4 พบสิ่งคัดหลั่งสีน้ำตาลไหลออกทางช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการ ultrasound
3.1 ทารกไม่มีการเต้นของหัวใจ หรือการเคลื่อนไหวของทารก
3.2 การเกยกันของกะโหลกศีรษะ (overlapping) เรียกว่า spalding sign ซึ่งจะพบได้ภายหลังที่ทารกเสียชีวิตแล้ว 5 วัน
3.3 มีการหักงอของกระดูกสันหลัง เนื่องจากการเปื่อยยุ่ยของเอ็นที่ยึดกระดูกสันหลัง
3.4 ตรวจพบแก๊สในหัวใจ เส้นเลือดใหญ่ หรือช่องท้องทารก เรียกว่า Robert sign
3.5 ฮอร์โมน Estriol: E3 ในปัสสาวะลดลง หลังจากทารกเสียชีวิตแล้ว 24-48 ชั่วโมง
3.6 เอ็นไซม์ Amniotic fluid creatinekinase เพิ่มขึ้น 2 วันหลังจากที่ทารกเสียชีวิตและจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทารกเสียชีวิต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ
ด้านร่างกาย
มีโอกาสเกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว (coagulopathy) หรืออาจเรียกว่าภาวะ “fetal death syndrome”
ด้านจิตใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง อาจพบว่ามีการใช้บุหรี่ สุรา สารเสพติดหรือยากล่อมประสาทสูงกว่าประชากรทั่วไป
การรักษา
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์ทำการ dilatation andcurettage หรือ suction curettage
ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin ได้แก่ PGE2 และ misoprostolทางช่องคลอด หรือให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ
ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือดดำ
การพยาบาล
ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คำพูดที่สุภาพ และนุ่มนวล
2.แนะนำให้สามีและครอบครัวให้กำลังใจ ปลอบใจ เพื่อให้มารดามีกำลังใจและการปรับตัวอย่างเหมาะสม
ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด clotting time ระดับของfibrinogen ในกรณีที่ทารกตายในครรภ์เกิน 2 สัปดาห์
ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนมตามแผนการรักษาของแพทย์
การตั้งครรภ์ที่มีจํานวนทารกมากกว่า 1 คน (multiple pregnancy)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีทารกในโพรงมดลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ใน
กลุ่มการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง (high risk pregnancy
การตั้งครรภ์แฝด 2 คน เรียกว่า twins
การตั้งครรภ์แฝด 3 คน เรียกว่า triplets
การตั้งครรภ์แฝด 4 คน เรียกว่า quadruplets
การตั้งครรภ์แฝด 5 คน เรียกว่า quintuplets
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal)
แฝดที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน และ chorion 2 อันมีรก 2 อัน
เชื้อชาติ (race) พบมากในคนผิวดำ
พันธุกรรม (heredity)
อายุมารดา (maternal age) มารดามีอายุมากกว่า 35 ปี
ปัจจัยด้านภาวะโภชนาการ พบในมารดาที่มีรูปร่างใหญ่ มีภาวะโภชนาการดี
มารดามีประวัติใช้ยากระตุ้นเร่งการตกไข่ เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก
จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ พบมากขึ้นในการตั้งครรภ์หลังๆ
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins / identical twins)
แฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว
สาเหตุการตั้งครรภ์แฝดชนิดนี้เชื่อว่าเป็นไปตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอายุ เชื้อชาติ หรือพันธุกรรม
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก เนื่องจากมีฮอร์โมน hCG มากกว่าครรภ์เดี่ยว
มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากครรภ์แฝดมีการเพิ่มขึ้นของ blood volume
เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
เบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes)
กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ตกเลือดหลังคลอด
ผลต่อทารก
การแท้ง
ทารกตายในครรภ์
ภาวะคลอดก่อนกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
ทารกขาดออกซิเจน (asphyxia)
Twin-twin transfusion syndrome (TTTS)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย ตรวจหน้าท้อง ตรวจภายใน
1 ขนาดของมดลูกโตมากกว่าอายุครรภ์ (size > date)
คลำพบมี ballottement ของศีรษะ
คลำได้ small part มากกว่าปกต
4 ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ได้ 2 แห่ง
.5 ยังคลำทารกได้ที่มดลูก หรือคลำพบส่วนนำของทารกจากการตรวจภายในหลังจากทารกคนหนึ่งคลอด
การตรวจพิเศษ
1 ตรวจด้วยอัลตราซาวด
2 ระดับฮอร์โมน estriol, HCG, HPL สูงกว่าปกต
3 การถ่ายภาพรังสีทางหน้าท้อง (radiographic examination
หลักการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ
เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
เฝ้าระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
ควรงดมีเพศสัมพันธ
ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ
ระยะคลอด
1.การพิจารณาวิธีการคลอด
การคลอดทางช่องคลอด ถ้าน้ำหนักทารกมากกว่า 1,500 กรัม และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆv
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น fetal distress, PROM, previouscesarean section
ในรายที่ได้รับการประเมินจากสูติแพทย์ให้คลอดทางช่องคลอด ให้การดูแล
ให้ติดตั้งเครื่อง EFM ไว้ตลอดเวลาเ
ตรวจความเข้มข้นของเลือด และเตรียมเลือดไว้ให้พร้อม
การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรให้ด้วยความระมัดระวัง
ระยะเวลาที่เหมาะสมระหว่างรอให้แฝดคนที่สองคลอด สามารถรอได้ถึง 30 นาทีแต่ต้องตรวจการเต้นของหัวใจทารกตลอดเวลา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีโดยให้ oxytocin drug
ป้องกันการติดเชื้อโดยดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาและประเมินการติดเชื้อ
แนะนำการดูแลบุตร การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
แนะนำวิธีการคุมกำเนิด