Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.1การบริหารยากินและยาเฉพาะที่ - Coggle Diagram
4.1การบริหารยากินและยาเฉพาะที่
การบริหารยา
การจัดการให้ผู้ป่วยได้รับยาโดยคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักการให้ยาและประสิทธิภาพของระบบการบริหารยาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1.วัตถุประสงค์ของการให้ยา
1.2เพื่อการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
1.3เพื่อการตรวจวิเคราะห์โรค
1.1 เพื่อการรักษา
รักษาตามอาการ
รักษาเฉพาะโรค
ทดแทนสิ่งที่ร่างกายขาด
ให้ร่างกายปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
2.ปัจจัยที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
2.1อายุและน้ำหนักตัว
2.2เพศ
2.3กรรมพันธุ์
2.4ภาวะจิตใจ
2.5ภาวะสุขภาพ
2.6ทางที่ให้ยา
2.7เวลาที่ให้ยา
2.8สิ่งแวดล้อม
3.ระบบการตวงวัดยา
3.1ระบบอโพทีคารี
ใช้หน่วยเป็น
ปอนด์
ออนซ์
เกรน
20เกรน=1สครูเปิล
3สครูเปิล=1แดรม
8แดรม=1ออนซ์
12ออนซ์=1ปอนด์
3.2ระบบเมตริก
ใช้หน่วยเป็น
กรัม
มิลลิกรัม
ลิตร
มิลลิลิตร
การเปลี่ยนหน่วยระบบอโพทีคารีเป็นระบบเมตริก
15เกรนเปลี่ยนเป็น1กรัม
1แดรมเปลี่ยนเป็น4กรัม
1ออนซ์เปลี่ยนเป็น30กรัม
1ปอนด์เปลี่ยนเป็น450กรีม
3.3ระบบมาตราตวงวัดประจำบ้าน
มีหน่วยเป็น
หยด
ช้อนชา
ช้อนโต๊ะ
ถ้วยชา
ถ้วยแก้ว
เทียบได้กับระบบเมตริก
15หยด=1มิลลิลิตร
1ช้อนชา=5มิลลิลิตร
1ช้อนโต๊ะ=15มิลลิลิตร
4.คำย่อและสัญลักษณ์เกี่ยวกับคำสั่งการใช้ยา
ความถี่การให้ยา
1.ODวันละ1ครั้ง
2.bidวันละ2ครั้ง
3.tidวันละ3ครั้ง
4.qidวันละ4ครั้ง
5.q-6hrsทุก6ชั่วโมง
วิธีทางการให้ยา
Oรับประทานทางปาก
Mเข้ากล้ามเนื้อ
SCเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
Vเข้าหลอดเลือดดำ
IDเข้าชั้นระหว่างผิวหนัง
sublingอมใต้ลิ้น
Inhalทางสูดดม
Nebulพ่นให้สูดดม
Suppเหน็บ
instillหยอด
เวลากการให้ยา
1.a.c.ก่อนอาหาร
2.p.c.หลังอาหาร
3.h.s.ก่อนนอน
4.p.r.n.เมื่อจำเป็น
5.statทันทีทันใด
5.คำสั่งแพทย์คำนวณขนาดยา
5.1คำสั่งแพทย์
การให้ยาแพทย์จะต้องรับผิดชิบในการเขียนคำสั่งการให้ยาเป็นลายลักษณ์อักษร
ในกรณีเร่งด่วนแพทย์อาจสั่งการรักษาด้วยปากหรือทางโทรศัพท์
หลังจากพ้นวิกฤตแล้วพยาบาลจะต้องให้แพทย์เขียนคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรทันที
หากสั่งคำสั่งผ่านโทรศัพท์พยาบาลจะต้องเขียนคำสั่งด้วยตัวเองพร้อมทั้งเวลาและชื่อของแพทย์และให้แพทย์เซ็นชื่อกำกับทันทีเมื่อแพทย์มาหอผู้ป่วย
การเขียนคำสั่งแพทย์
5.1.1คำสั่งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป
ใช้ตลอดจนกว่าจะมีคำสั่งระงับหรืออาจระบุวันที่ระงับยา
5.1.2คำสั่งใช้ภายในวันเดียว
เป็นคำสั่งที่ใช้ได้ใน1วันเมื่อได้ยาไปแล้วก็ระงับยาได้เลย
5.1.3คำสั่งที่ต้องใช้ทันที
เป็นคำสั่งการใช้ยาครั้งเดียวและต้องใช้ทันที
5.1.4คำสั่งที่ให้เมื่อจำเป็น
เป็นคำสั่งที่กำหนดไว้เมื่อผู้ป่วยมีอาการบางอย่างเกิดขึ้น
ส่วนประกอบของคำสั่งการรักษา
ชื่อของผู้ป่วย
วันที่เขียนคำสั่งการรักษา
ชื่อของยา
ขนาดของยา
วิถีทางการให้ยา
เวลาและความถี่ในการให้ยา
ลายมือผู้สั่งยา
ลักษณะคำสั่งแพทย์ตามทางวิถีทางการให้ยา
1.ทางปาก
ชนิดของการปรุงยา
-tablet
คำสั่งแพทย์
Vitamin C (100) 1 tab bid.pc
2.ทางสูดดม
ชนิดของการปรุงยา
spray
คำสั่งแพทย์
Bricanyl1-2puffinhalbid
3.ทางเยื่อบุ
ชนิดของการปรุงยา
Suppository
คำสั่งแพทย์
Mycostatin 1 tab supphs
4.ทางผิวหนัง
ชนิดของการปรุงยา
-Cream
คำสั่งแพทย์
Hand E blamappliedq-bid
5.ทางกล้ามเนื้อ
ชนิดของการปรุงยา
aqueous solution
คำสั่งแพทย์
Paracetamol 500mg 1amp M PRN q 4-6hrs for fever
6.ทางชั้นผิวหนัง
ชนิดของการปรุงยา
aqueous solution
คำสั่งแพทย์
TAT diluted skin test
7.ทางหลอดเลือดดำ
ชนิดของการปรุงยา
Aqueous solution
คำสั่งแพทย์
Cefazolin 1gmv q-6hr.
8.ทางใต้ผิวหนัง
ชนิดของการปรุงยา
aqueous solution
คำสั่งแพทย์
Regular insulin (RI) 10 U sc stat and if blood sugar>130mg
5.2คำนวณขนาดยา
ความเข้มข้นของยา=ขนาดความเข้มข้นของยาที่มี/ปริมาณยาที่มี
6.รูปแบบการบริหารยา
1.Rightpatient/client(ถูกคน)
2.Rightdrug(ถูกยา)
3.Rightdose(ถูกขนาด)
4.Righttime(ถูกเวลา)
5.Rightroute(ถูกวิถีทาง)
6.Right technique(ถูกเทคนิค)
7.Rightdocumentation(ถูกการบันทึก)
8.การตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย
9.การซักประวัติและการประเมินอาการก่อน-หลังให้ยา
10.การที่จะต้องใช้ยาร่วมกัน
11.สิทธิในการรับรู้เรื่องของยาที่ต้องได้รับ
หลักสำคัญในการให้ยา
การให้ยาทางปากใช้หลักสะอาดและการฉีดยาใช้หลักaseptic technique
ตรวจสอบคำสั่งแพทย์ก่อนให้ยาทุกครั้ง
ก่อนให้ยาต้องทราบวัตถุประสงค์การให้ยาการวินิจฉัยโรคผลของยาที่ต้องการให้เกิดและฤทธิ์ข้างเคียง
ตรวจสอบประวัติกำรแพ้ยาจากตัวผู้ป่วยและญาติในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและทดสอบการแพ้ของยาบางชนิด
5.ตรวจสอบวันหมดอายุของยาปกติแล้วยาเม็ดจะมีอายุอยู่ได้5ปีและยาน้ำจะมีอายุได้3ปีแต่หากเปิดขวดแล้วนิยมใช้เพียง6เดือนเท่านั้น
ไม่ควรเตรียมยาค้างไว้
ไม่ให้ยาที่ฉลากมีการลบเลือนไม่ชัดเจน
ตรวจสอบผู้ป่วยก่อนให้ยาโดยการถามชื่อและนามสกุลก่อนทุกครั้ง
บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการให้ยาและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
ต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้าพยาบาล
ลงบันทึกการให้ยาหลังจากให้ยาทันที
มีการประเมินประสิทธิภาพของยาที่ให้
สังเกตอาการก่อนและหลังการให้ยา
ในกรณีที่ให้ยาผิดต้องรีบรายงานให้พยาบาลหัวหน้าเวรรับทราบ
7.การให้ยาทางปากและยาเฉพาะที่
7.1การให้ยาทางปาก
ข้อควรปฏิบัติในการให้ยาทางปาก
1.ยาที่ระคายเคืองทางเดินอาหารให้กินหลังอาหารหรือนมยกเว้นยาพวกTetracyclineไม่ควรให้ผู้ป่วยรับประทานพร้อมนม
2.การให้ยาเม็ดในเวลาเดียวกันสามารถรวมกันได้ส่วนยาน้ำให้แยกใส่แก้วยาต่างหาก
3.ยาชนิดผงให้ใช้ช้อนตวงปาดแล้วเทใส่แก้วยา
4.ยาจิบแก้ไอควรให้ภายหลังรับประทานยาเม็ดแล้ว
5.ยาลดกรดในกระเพาะอาหารควรให้อันดับสุดท้าย
6.ยาอมใต้ลิ้นควรให้หลังจากรับประทานยาทุกชนิดแล้วและห้ามกลืนหรือเคี้ยวยารอจนกว่ายาละลายยาจะออกฤทธิ์ใน15-30นาทีระหว่างนี้ให้ผู้ป่วยนั่งและนอนพักขณะที่อมยา
อุปกรณ์ในการให้ยาทางปาก
1.ถ้วยยา
2.น้ำเปล่าหรือน้ำหวานแทนน้ำ(หากไม่มีข้อห้าม)
3.ถาด
4.แบบบันทึกการให้ยา
การพยาบาลเพื่อให้ยาได้ถูกหลักการ
1.ดูเบอร์เตียงชื่อ-นามสกุลผู้ป่วยในMARให้ตรงกัน
2.ดูชื่อยาขนาดยาเวลาที่ให้ในMARของผู้ป่วยแต่ละราย
3.เตรียมยาให้ตรงกับMARของผู้ป่วยแต่ละราย
4.อ่านฉลากยาให้ตรงกับMARของผู้ป่วยแต่ละรายดูวันที่หมดอายุของยา
5.เทยาหรือรินยาให้ได้ตรงตามจำนวนกับขนาดของยาในMARของผู้ป่วยแต่ละราย
การเตรียมยา
1.ยาที่จัดมาเป็นแบบวันต่อวัน
หยิบยาใส่ถ้วยยาจำนวนตามที่แพทย์สั่งยาที่หุ้มมาด้วยFoilให้แกะยาที่เตียงของผู้ป่วย
2.ยาชนิดMultidose
ค่อยๆเทยาจากซองยาหรือขวดที่บรรจุยาหรือFoilโดยที่ไม่ให้มือสัมผัสยา
3.ยาน้ำ
ให้หันป้ายยาหรือฉลากยาเข้าหาฝ่ามือ
4.ดูชื่อขนาดยาให้ตรงกับใบMARอีกครั้งก่อนเก็บยาเข้าที่
5.ให้ผู้ป่วยรับประทานยาตรงตามเวลาในใบMAR
6.ดูเบอร์เตียงถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยให้ตรงกับใบMARของผู้ป่วยแต่ละรายตรวจดูป้ายชื่อที่ข้อมือ
7.แจกยาให้ผู้ป่วยรับประทานไม่เกิน30นาที
8.ประเมินสัญญาณชีพผู้ป่วยก่อนให้ยาในกรณีที่ยานั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพหรือประเมินระดับความปวดก่อนให้ยาแก้ปวด
9.ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้าพยาบาล
10.สังเกตการเปลี่ยนแปลงหลังรับประทานยา
11.บันทึกในแผนการพยาบาลและในใบMARทุกครั้งหลังให้ยา
7.2การให้ยาเฉพาะที่
1.การสูดดม
สามารถให้โดยการพ่นยาเข้าสู่ทางเดินหายใจ
2.การให้ยาทางตา
วิธีใช้ยาหยอดตา
ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบMARแจ้งผู้ป่วยให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยต้องกระทำฤทธิ์ข้างเคียงและอาการแพ้ยา
อุ่นยาให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิกายโดยหมุนขวดหรือหลอดยาไปมาระหว่างอุ้งมือทั้ง2ข้างนาน2นาทีหากเก็บยาไว้ในที่เย็น
ล้างมือให้สะอาดทำความสะอาดตาด้วยสำลีชุบNSSโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา
ให้ผู้ป่วยนอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบนและพยาบาลดึงเปลือกตาล่างข้างที่จะหยอดยาลง
หยอดยาตามจำนวนหยดลงไปบริเวณConjunctiva sacห่ำงประมาณ1-2นิ้วระวังอย่าให้หลอดหยดแตะกับตาหรือขนตา
หลับตาพร้อมทั้งใช้มือกดเบาๆที่ข้างจมูกบริเวณหัวตาไว้ประมาณ1-2 นาที
ซับส่วนที่เกินออก
วิธีใช้ยาป้ายตา
ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบMARแจ้งผู้ป่วยให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยต้องกระทำฤทธิ์ข้างเคียงและอาการแพ้ยา
ล้างมือให้สะอาด
นอนหรือนั่งแหงนหน้าเหลือบตาขึ้นข้างบนใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง
บีบยาลงในกระพุ้งตาโดยเริ่มจากหัวตาระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะกับตหรือเปลือกตา
หลับตากลอกตาไปมาหรือใช้นิ้วมือคลึงเบาๆเพื่อให้ยากระจายได้ทั่ว
ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับยาหยอดตาให้ใช้ยาหยอดตาก่อนยาป้ายตาประมาณ5นาที
วิธีใช้ยาล้างตา
ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบMARแจ้งผู้ป่วยให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยต้องกระทำฤทธิ์ข้างเคียงและอาการแพ้ยา
ล้างมือล้างหน้าให้สะอาด
ล้างถ้วยล้างตาด้วยน้ำสบู่เช็ดให้แห้งหรือใช้น้ำร้อนลวกก็ได้
ตรวจดูเสียก่อนว่าน้ำยาล้างตาใสหรือขุ่นถ้าขุ่นให้ทิ้งไป
รินน้ำยาล้างตาเต็มถ้วยก้มศีรษะเอาตาจุ่มลงถ้วยนั้นใช้มือกดถ้วยให้แน่น เงยหน้าขึ้นโดยไม่ให้น้ำยาหก
ลืมตาในน้ำยาล้างตากลอกไปมาสักพักก้มศีรษะลงยกถ้วยล้างตาออก
3.การให้ยาทางหู
1.ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบMARแจ้งผู้ป่วยให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยต้องกระทำฤทธิ์ข้างเคียงและอาการแพ้ยา
2.อุ่นยาให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิกายโดยหมุนขวดหรือหลอดยาไปมาระหว่างอุ้งมือทั้ง2ข้างนาน2นาทีหากเก็บยาไว้ในที่เย็น
3.ล้างมือและทำความสะอาดใบหูด้วยผ้าชุบน้ำเช็ดให้แห้ง
4.เอียงหูหรือนอนตะแคงให้หูข้างที่จะหยอดอยู่ด้านบน
5.ดูดยาและหยอดยาตามจำนวนหยดดึงใบหูขึ้นปละไปข้างหลังแต่หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า3ปีให้ดึงใบหูลงข้างล่างและไปข้างหลัง
6.เอียงหูข้างนั้นไว้2-3นาทีหรือใช้สำลีอุดหูไว้5นาที
7.หากต้องการหยอดหูทั้ง2ข้างให้ทำซ้ำเหมือนเดิม
4.การหยอดยาทางจมูก
ให้ผู้ป่วยเงยหน้าขึ้นและพยาบาลยกปีกจมูกผู้ป่วยข้างที่จะหยอดยาขึ้นเบาๆ
แล้วหยดยาผ่านทางรูจมูกห่างประมาณ1-2 นิ้ว
จากนั้นให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมประมาณ5-10นาที
5.การเหน็บยา
วิธีการเหน็บยาทางช่องทวารหนัก
ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงข้างซ้ายและพยาบาลใส่ถุงมือสะอาดยกแก้มก้นผู้ป่วยขึ้นจนเห็นรูทวารหนักชัดเจน
จึงสอดใส่เม็ดยาเข้าไปแล้วใช้นิ้วชี้ดันยาพร้อมเขี่ยเม็ดยาให้กระดกขึ้นเพื่อชิดผนังทวารหนักโดยให้ยาเข้าไปลึกประมาณ3-4นิ้วหรือเข้าไปจนสุดนิ้วชี้
วิธีการเหน็บยาทางช่องคลอด
ควรทำหลังจากการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ให้ผู้ป่วยนอนหงายและพยาบาลใส่ถุงมือปราศจากเชื้อ
แล้วสอดใส่เม็ดยาหรือแท่งเข้าไปทางช่องคลอดแล้วใช้นิ้วชี้ดันยาเข้าไปลึกประมาณ2-3นิ้วหรือจนเกือบสุดนิ้วชี้
8.ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
8.1ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา
1.สั่งยาผิดขนาด
2.สั่งยาผิดชนิด
3.ผิดวิถีทาง
4.ผิดความถี่
5.สั่งยาที่มีประวัติแพ้
6.ลายมือไม่ชัดเจน
8.2ความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคำสั่งใช้ยา
1.ที่หอผู้ป่วย
พยาบาลคัดลอกคำสั่งแพทย์หรืออ่านคำสั่งแพทย์ไม่ถูกต้อง
2.ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์
เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่คัดกรองการลงข้อมูลยาในคอมพิวเตอร์ไม่ครอบคลุม
3.ที่เภสัชกรรม
เจ้าหน้าที่ห้องยาอ่านคำสั่งแพทย์ไม่ถูกต้อง
8.3ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา
กลุ่มงานเภสัชกรรมจ่ายยาไม่ถูกต้องตามที่ระบุในคำสั่งใช้ยา
8.4ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
1.การให้ยาไม่ครบตามที่แพทย์สั่ง
2.การให้ยาผิดชนิด
3.การให้ยาซึ่งผู้สั่งใช้ยาไม่ได้สั่ง
4.การให้ยาผู้ป่วยผิดคน
5.การให้ยาผิดขนาด
6.การให้ยาผิดวิถีทาง
7.การให้ยาผิดเวลา
8.การให้ยามากกว่าจำนวนครั้งที่สั่ง
9.การให้ยาในอัตราเร็วที่ผิด
10.การให้ยาผิดเทคนิค
11.การให้ยาผิดรูปแบบยา
บทบาทพยาบาลในการให้ยาผู้ป่วย
พยาบาลควรปฏิบัติ
1.เมื่อผู้ป่วยเข้ามานอนรักษาในครั้งแรกพยาบาลตรวจสอบยาให้ตรงกับคำสั่งแพทย์พร้อมกับเช็คยาและจำนวนให้ตรงตามฉลากยาหากไม่ตรงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
การซักประวัติจะถามเรื่องการแพ้ยาทุกครั้งดูสติ๊กเกอร์สีแสดงแพ้ยาที่ติดอยู่ขอบOPDcardและดูรายละเอียดในOPDcardร่วมด้วยทุกครั้งและพยาบาลติดสติ๊กเกอร์สีบนชาร์ตผู้ป่วยและปั้มตรายางทุกหน้าคำสั่งของแพทย์และก่อนฉีดยาจะถามอีกครั้งว่ามีประวัติแพ้ยาหรือไม่
เมื่อมีคำสั่งใหม่หัวหน้าเวรลงคำสั่งในใบMARทุกครั้ง
การจัดยาให้ระมัดระวังในการจัดยา
เวรบ่ายพยาบาลจะตรวจสอบรายการยาในใบMARกับคำสั่งแพทย์ให้ตรงกันและดูยาในช่องลิ้นชักยาอีกครั้ง
6.กรณีผู้ป่วยที่NPOให้มีป้ายNPOและเขียนระบุว่าNPOเพื่อผ่าตัดหรือเจาะเลือดเช้าให้อธิบายและแนะนำผู้ป่วยและญาติทุกครั้ง
กรณีคำสั่งสารน้ำ+ยาBco2mlให้เขียนคำว่า+ยาBco2mlด้วยปากกาเมจิกอักษรตัวใหญ่บนป้ายสติ๊กเกอร์ของสารน้ำให้ชัดเจน
การจัดยาจะจัดตามหน้าชองยาหลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
มีผู้จัด-ผู้ตรวจสอบคนละคนกันตรวจสอบช้ำก่อนให้ยาให้ตรวจสอบ 100%เช็คดูตำมใบMARทุกครั้ง
10.การแจกยาไล่แจกยาตามเตียงพร้อมเซ็นชื่อทุกครั้งหลังให้ยาและให้พยาบาลตรวจดูยาในลิ้นชักของผู้ป่วยทุกเตียง
ให้ยึดหลัก6Rตามที่กล่าวมาข้างต้น
สมรรถนะของพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาหรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา
1.1การประเมินประวัติโรคประจำตัวประวัติการใช้ยาและประวัติการแพ้ยา/แพ้อาหาร
1.2 ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
1.3 ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง
1.4 ติดตามความร่วมมือในการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
1.5 การส่งต่อ
สามารถร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น
2.1 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ยาหรือการรักษาแบบไม่ใช้ยาในการรักษาและการส่งเสริมสุขภาพ
2.2 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยเพื่อประกอบการปรับขนาดยาหยุดการให้ยาหรือเปลี่ยนยา
2.3 ประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยาและไม่ใช้ยา
2.4 ใช้ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ของยาที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
2.5 พิจารณาโรคร่วมยาที่ใช้อยู่การแพ้ยาข้อห้ามการใช้ยาและคุณภาพชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้ยา
2.6 คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วย
2.7 พัฒนาความรู้ให้เป็นปัจจุบันใช้แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และคำนึงถึงความคุ้มทุนในการพิจารณาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
2.8 เข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยาและแนวทางการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา
สามารถสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยา
3.1ชี้แจงทางเลือกในการรักษา
3.2 ระบุและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.3 อธิบายเหตุผลและความเสี่ยง/ประโยชน์ของทางเลือกในการรักษาที่ผู้ป่วย
3.4ประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ด่วนตัดสินและเข้าใจเหตุผลในการไม่ร่วมมือของผู้ป่วย
3.5สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
3.6ทำความเข้าใจกับการร่วมปรึกษาหารือก่อนใช้ยาเพื่อผลลัพธ์ที่นำไปสู่ความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
4.1 เข้าใจโอกาสที่จะเกิดผลไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยง/ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตระหนักและจัดการแก้ไขปัญหา
4.2 เข้าใจการสั่งจ่ายยาของแพทย์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
4.3 ตรวจสอบและคำนวณการใช้ยาให้ถูกต้อง
4.4 คำนึงถึงโอกาสที่จะเกิดการใช้ยาผิด
4.5 ใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
4.6 ใช้ระบบที่จำเป็นเพื่อการบริหารยาอย่างมีประสิทธิภาพ
4.7 สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับยาและการใช้ยาแก่ผู้เกี่ยวข้องเมื่อต้องมีการส่งต่อข้อมูลการรักษา
สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ
สามารถติดตามผลการรักษาและรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้
สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วยและไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม
สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและเป็นไปตามหลักเวชจริยศาสตร์
สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง
สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นแบบสหวิชาชีพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาทางปากและยาเฉพาะที
1.การประเมินสภาพ
ก่อนให้ยาต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยและยาที่จะให้ผู้ป่วยต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ยาภาวะขณะที่จะให้ยา
การประเมินข้อมูลด้านอื่นๆ
1.1 ประเมินดูว่าผู้ป่วยมีข้อห้ามในการให้ยาทางปากหรือไม่
1.2 ประวัติการแพ้ยา
1.3 ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูหน้าที่การทำงานของตับไต
1.4 การได้รับสารน้ำเพียงพอหรือไม่
1.5 ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาที่ได้รับ
1.6 การปฏิบัติตัวในการได้รับยา
การวินิจฉัยการพยาบาล
การกลืนบกพร่องเนื่องจาก....
การวางแผนการพยาบาล
หลังจากได้ข้อมูลและปัญหาหรือข้อบ่งชี้ในการให้ยาแล้วทำการวางแผนหาวิธีการว่าจะให้ยาอย่างไรผู้ป่วยจึงจะได้ยาถูกต้องครบถ้วนผู้ป่วยไม่เจ็บปวดหรือได้รับอันตราย
การปฏิบัติการพยาบาล
เป็นการปฏิบัติการให้ยาตามแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติโดยยึดหลักความถูกต้อง7ประการและคำนึงถึงบทบาทพยาบาลในการให้ยาตามที่ได้กล่าวข้างต้นรวมไปถึงการบันทึกหลังการให้ยาด้วยปฏิบัติตามหลักการบริหารยาที่ลงมือปฏิบัติจริง
การประเมินผล
หลังจากให้แล้วต้องกลับมาตามผลทุกครั้งเพื่อดูผลของยาต่อผู้ป่วยทั้งด้านการรักษาและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์รวมถึงการแพ้ยาด้วย