Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (กฏหมายอาญา) -…
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (กฏหมายอาญา)
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม เช่น การกระทำที่มีผลต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรการปลอมและการแปลงเอกสาร การลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ความผิดต่อส่วนตัว
เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงมีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน เช่นความผิดฐานฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ผู้อื่น หมิ่นประมาท
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง เช่นการฆ่าผู้อื่นมีความผิดทางกฏหมาย แต่ถ้ามีการไตร่ตรองหรือเตรียมการไว้ก่อน หรือฆ่าโดยการทรมาณ กระทำทารุณโหดร้าย จะได้รับโทษเพิ่ม
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร เช่น การประทุษร้าย คือการกระทำให้ผู้อื่นไม่สามารถขัดขืนได้ เช่นการฉีดยา ให้ยานอนหลับ หากไม่ได้เป็นการรั้กษาถือว่าเป็นการประทุษร้ายตามกฏหมายอาญา
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ หากขณะกระทำยังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่าการการกระทำอย่างเดียวกันนั้นจะเป็นความผิด ศาลหรือผู้พิพากษาจะนำกฎหมายใหม่มาใช้บังคับลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ
ผู้กระทำต้องรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกำลังทำอะไร เช่น พยาบาลผูกมัดผู้ป่วย พยาบาลรู้ว่ากำลังผูกมัดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แต่ถ้าผูกมัดแน่นเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยพิการได้
การงดเว้นหน้าที่ของตน เช่น พยาบาลไม่ดูดเสมหะให้แก่ผู้ป่วยทำให้เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจจนผู้ป่วยเสียชีวิต
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยเหมือนเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา เช่น พยาบาลรู้ว่าการฉีดยาแก้ปวดเกินขนาดทำให้กดกา่รหายใจ ถ้าผู้ป่วยตาย พยาบาลมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่หากไม่ตายจะมีความผิดฐานพยายามฆ่า
การกระทำโดยประมาท เช่น การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
วิสัย เช่น พยาบาลวิชาชีพย่อมมีความระมัดระวังในการท แผลมากกว่าคนทั่วไป พฤติการณ์ เช่น การช่วยทำคลอดฉุกเฉินในรถทัวร์หรือในแท๊กซี่ จะให้มีเครื่องมือพร้อมและปลอดเชื้อเหมือนกับการคลอดในห้องคลอดของโรงพยาบาลไม่ได้
การกระทำโดยไม่เจตนา เช่น ใช้มีดฟันที่ขาผู้ตาย มีบาดแผลเล็กน้อยแค่ผิวหนังฉีกขาด ถ้ารักษาตามหลักวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ทำให้ถึงตายได้ แต่ผู้ตายปล่อยแผลให้สกปรกเกิดการติดเชื้อและเป็นบาดทะยักตาย กรณีนี้ถือว่าผู้กระทำมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นตายโดยไม่เจตนา
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นความรับผิด
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น หญิงสาวกัดลิ้นผู้ชายที่เข้ามาลวนลามจนขาด ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเอง จึงได้รับการยกเว้นความรับผิด
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ เช่น ความผิดฐานข่มขืนชำเรา หากหญิงยินยอมการกระทำของชายก็ไม่เป็นความผิด
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็นเป็นการกระทำเพราะเหตุถูกบังคับ หรืออยู่ภายใต้อำนาจของใครหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต บุคคลกระทำผิดขณะที่ไม่สามารถรับผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะเป็นโรคจิต จิตบกพร่อง จิตฟั่นเฟือน
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าผู้กระทำทราบว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วยังทำตามคำสั่ง จะไม่ได้รับยกเว้นโทษ
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ บางความผิดระหว่างสามี ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นโทษ ได้แก่ ลักทรัพย์วิ่งราวทรัพย์
เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด กฎหมายยอมให้บุคคลยกความไม่รู้นี้ขึ้นเป็นเหตุของการขอลดหย่อนโทษได้ โดยขึ้นกับสภาพความคิดและพฤติการณ์เฉพาะตัวของผู้กระทำผิด
การกระทำโดยบันดาลโทสะ การที่บุคคลกระทำความผิด เพราะความกดดันจากการถูกข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมจนเป็นเหตุให้บันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษได้แก่ เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีความดีมาก่อน รับสารภาพผิด
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป อายุความ 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ 20 ปี และ อายุความ 1ปี สำหรับความผิดลหุโทษ
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานบุกรุกหรือหมิ่นประมาท กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุด สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
โทษจำคุกเป็นโทษจำกัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจำ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษกักขังเป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง ได้แก่ เปลี่ยนโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน
โทษปรับการเสียค่าปรับ คือ การชำระเงินต่อศาลตามจำนวนที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษา ถ้าไม่ชำระภายใน 30วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นอาจถูกยึดทรัพย์สินหรือกักขังแทนค่าปรับ
โทษริบทรัพย์สิน เช่น ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ใครจัดทำหรือมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวข้องกับสินบนของเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจ ให้รางวัลในการกระทำความผิด
ลหุโทษ คือ ความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำงานเพื่อบริการสังคม
ผู้นั้นกระทำความผิดและต้องโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ
ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 200,000 บาท และผู้กระทำผิดมีความประสงค์จะขอทำงาน เพื่อบริการสังคมหรือทำงานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ
ผู้ที่ถูกลงโทษโดยการทำงานบริการสังคม จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติ
ผู้ที่จะทำงานบริการสังคมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางศีลธรรม วินัย หรือโครงการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร
ละเว้นการคบหาสมาคมหรือประพฤติใดๆ ที่อาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกัน
ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด
ให้ผู้ดูแลรายงานเกี่ยวกับการทำงานให้ศาลทราบ
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ ประเมินผู้ป่วยแรกรับไม่ครบถ้วน ไม่ซักประวัติการแพ้ยาหรือสารอื่นๆ ไม่สอบถามยาที่ผู้ป่วยได้รับ ไม่วางแผนการดูแล ไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือแนวปฏิบัติของโรงพยาบาล ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่องมือ ไม่ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องมือก่อนนำมาใช้ อาจเกิดอันตรายได้ทั้งผู้ใช้งานและผู้ป่วย
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร ไม่รายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือรายงานแพทย์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยอาการทรุดหนัก
ความบกพร่องด้านการบันทึก เช่น ไม่บันทึกสาระของคำสั่งพร้อมกับลงเวลาที่สั่ง รวมถึงช่วงเวลาที่โทรตาม
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ ประเมินอาการในแต่ละเวรไม่ครบถ้วน ไม่ปรับปรุงแผนการดูแล ไม่สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย เช่น ไม่ทักท้วงเมื่อแพทย์มีคำสั่งให้จำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยอาการยังไม่ดีพอที่จะกลับบ้าน
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ จำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต จำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความ
นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ความผิดฐานปลอมเอกสาร รวมถึงผู้ที่กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่ง
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างคำรับรองนั้นโดยทุจริต
ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูก
จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้รับอันตรายสาหัสอย่างอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 –10 ปีหรือปรับตั้งแต่ 20,000 –200,000 บาท และถ้าหญิงตั้งครรภ์ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 –10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 –400,000 บาท
การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก หากหญิงนั้นยอม ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ เพราะความผิดยังไม่สำเร็จ
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา