Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘
หมวด ๑ สภาการพยาบาล
มาตรา ๖
ให้มีสภาการพยาบาล มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สภาการพยาบาลเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗
(๑) ควบคุมความประพฤติของผู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๒) ส่งเสริมการศึกษา การบริการ(๑) การวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพการพยาบาล การ ผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๓) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
(๔) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับ
การพยาบาล การผดุงครรภ์ และการสาธารณสุข
(๕) ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการพยาบาล การผดุงครรภ์และ การสาธารณสุข
(๖) เป็นตัวแทนของผูป้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ในประเทศไทย
(๗) ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
มาตรา ๘
(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๒) สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๓) ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระดับ อุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาที่จะทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย
(๔) รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรของสถาบันที่จะทำการ สอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๕) รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของ สถาบนัการศึกษาท่ีจะทา การฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๖) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการสอนและฝึกอบรมตาม ( ๔ ) และ ( ๕ )
(๗) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสถาบันต่าง ๆ
(๘) ออกหนงัสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนงัสือ แสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๙) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
มาตรา ๙
(๑) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(๒) ค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
(๓) ผลประโยชน์จากกิจกรรมอื่นของสภาการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๗
(๔) เงินและทรัพยสิน ซึ่งมีผู้ให้แก่สภาการพยาบาล
(๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินอื่นตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
มาตรา ๑๐
ให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาการพยาบาลและมีอำนาจหน้า ที่ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒ สมาชิก
มาตรา ๑๑
(๑) สมาชิกสามัญ
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(ข) มีความรู้ในวชิาชีพการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์โดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร เทียบเท่าปริญญา หรือประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ที่สภาการพยาบาลรับรอง
(ค) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ง) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(จ) ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
(๒) สมาชิกกิตติมศักดิ์
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาการพยาบาลเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
มาตรา ๑๒
(๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผูป้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ และขอหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความช านาญ เฉพาะทางหรือหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ สภาการพยาบาลว่าด้วยการนั้น
(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาลส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อ พิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่อง ใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาล คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอ ทราบโดยมิชกัช้
(๓) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับเลือกเป็นกรรมการ
(๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฎิบัติตนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๓
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๑ (๑)
หมวด ๓ คณะกรรมการ
มาตรา ๑๔
ให้มีคณะกรรมการสภาการพยาบาล ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ห้าคน ผู้แทนกระทรวงกลาโหมสามคน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยหน่ึงคน ผู้แทนทบวงมหาวทิยาลยัสี่คน ผู้แทนกรุงเทพมหานครหนึ่งคน ผู้แทนสภากาชาดไทยหนึ่งคน นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถมัภข์องสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมาชิกสามญัสภาการพยาบาลอีกสิบ หกคนซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาล เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการเป็น กรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๕
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งสมาชิกกิตติมศักดิ์หรือสมาชิกสามัญเป็นกรรมการที่ปรึกษาได้ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการที่ปรึกษาต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของคณะกรรมการ ให้กรรมการที่ปรึกษาดำรงตำแหน่งตามวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
มาตรา ๑๖
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสภาการพยาบาล อุปนายก สภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง และอุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สอง ต าแหน่งละหนึ่งคน ให้นายกสภาการพยาบาลเลือกสมาชิกสามญัผูม้ีคุณสมบตัิตาม มาตรา ๑๘ เพื่อด ารงตำแหน่ง เลขาธิการหนึ่งคน และเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ และเหรัญญิก ตา แหน่งละหนึ่งคน ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
มาตรา ๑๗
การเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ การแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๕ และการเลือกกรรมการเพื่อด ารงตำแหน่งต่างๆ ตามมาตรา ๑๖ ให้เป็นไปตามขอ้บงัคบัสภาการพยาบาล
มาตรา ๑๘
กรรมการนอกจากปลดักระทรวงสาธารณสุขและกรรมการที่ปรึกษาตอ้งมีคุณสมบตัิ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผูป้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๒) ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๓) ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา ๑๙
ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และ อาจได้รับแต่งตั้งหรือรับเลือกตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองคราวติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๒๐
(๑) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๓
(๒) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘
(๓) ลาออก
มาตรา ๒๑
ในกรณีตำแหน่งกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงไม่เกินกึ่งหนึ่งของจา นวนกรรมการ ดังกล่าวทั้งหมดก่อนครบวาระให้คณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ เป็น กรรมการแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง
มาตรา ๒๒
๑) บริหารกิจการสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามมาตรา ๗
(๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวนและคณะอนุกรรมการอื่น เพื่อท ากิจการหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
(๓) ออกข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วย
(ก) การเป็นสมาชิก
(ข) การกำหนดโรคตามมาตรา ๑๑ (๑) (จ)
(ค) การกำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมอื่นนอกจากที่ กำหนดไว้ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ
(ง) การเลือกและการเลือกตั้งกรรมการ และการแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๗
(จ) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาต แบบ และประเภทใบอนุญาต
(ฉ) หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความช านาญเฉพาะ ทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ช) ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ซ) การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฌ) การประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
(ญ) หลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฎ) หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสอบความรู้ตามอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล
(ฏ) หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสืบสวนหรือสอบสวนในกรณีมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษว่ามี ผู้ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฐ) เรื่องอื่นๆ ที่อยู่ภายในวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาลหรืออยู่ภายในอำนาจหน้าที่ ของสภาการพยาบาลตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๓
(๑) นายกสภาการพยาบาล
(ก) ดำเนินกิจการของสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามมติของ คณะกรรมการ
(ข) เป็นผู้แทนสภาการพยาบาลในกิจการต่างๆ
(ค) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ
(๒) อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่งเป็นผู้ช่วยนายกสภาการพยาบาลในกิจการอันอยู่ใน อำนาจหน้าที่ของนายกสภาการพยาบาลตามที่นายกสภาการพยาบาลมอบหมายและเป็นผกู้ระทำการแทนนายกสภาการพยาบาล
เมื่อนายกสภาการพยาบาลไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบตัิหน้าที่ได้
(๓) อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สองเป็นผู้ช่วยนายกสภาการพยาบาลในกิจการอันอยู่ใน อำนาจหน้าที่ของนายกสภาการพยาบาลตามที่นายกสภาการพยาบาลมอบหมายและเป็นผูท้า การแทน นายกสภาการพยาบาล เมื่อทั้งนายกสภาการพยาบาลและอุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่งไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้
(๔) เลขาธิการมีอำนาจหน้าที่
(ก) ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภาการพยาบาลทุกระดับ
(ข) ควบคุมรับผิดชอบในงานธุรการทั่วไปของสภาการพยาบาล
(ค) รับผิดชอบในการดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก ทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และทะเบียนอื่นๆ
(ง) ควบคุม ดูแล ทรัพย์สินของสภาการพยาบาล
(จ) เป็นเลขานุการคณะกรรมการ
(๕) รองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยเลขาธิการในกิจการอันอยู่ในอ านาจหน้าที่ของเลขาธิการตามที่ เลขาธิการมอบหมาย และเป็นผกู้ระทา การแทนเลขาธิการ เมื่อเลขาธิการไม่อยู่หรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้
(๖) ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ แนะนำ เผยแพร่กิจการของสภาการพยาบาล และให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการพยาบาล การผดุงครรภ์ และการ สาธารณสุข
(๗) เหรัญญิกมีอำนาจหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการบญัชี การเงินและการงบประมาณ ของสภาการพยาบาล
หมวด ๔ การดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๔
มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียง ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด มติของที่ประชุมในกรณีให้สมาชิกสามญัพน้จากสมาชิกภาพ เนื่องจากขาดคุณสมบตัิตาม มาตรา ๑๑ (๑) (ค) (ง) และ (จ) ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจ านวนกรรมการทั้งคณะ การประชุมคณะอนุกรรมการให้นา ความในวรรคหน่ึงและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕
สภานายกพิเศษจะเข้าฟังการประชุมชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังคณะกรรมการในเรื่องใดๆ ก็ได้
มาตรา ๒๖
(๑) การออกข้อบังคับ
(๒) การกำหนดงบประมาณของสภาการพยาบาล
(๓) การให้สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม
(๔) การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม (๔) และ (๕)
หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๒๗
ห้ามมิให้ผู้ใด ซึ่งมิได้เป็นผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือมิได้เป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทา การพยาบาล หรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว
(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง
(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผปู้่วยตามหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้ รับประโยชน์ตอบแทน แต่การกระทำดังกล่าวต้องมิใช่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของ ผู้ป่วย หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
(๓) นกัเรียน นักศึกษา หรือผรู้ับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบนัการศึกษาวชิาการ พยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้ง หรือสถาบันการศึกษาที่ คณะกรรมการรับรอง ทั้งนี้ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝึกหัดหรือผู้ให้การฝึกอบรมซ่ึ่งเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๔) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ สภากาชาดไทยมอบหมายให้กระทา การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์
(๕) (๑)ผปู้ระกอบโรคศิลปะ ผปู้ระกอบวชิาชีพเวชกรรม หรือผปู้ระกอบวชิาชีพอื่น ตามขอ้จา กัด และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพนั้น
(๖) (๒)การพยาบาลหรือการผดุงครรภข์องที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ หรือผสู้อน ในสถาบนัการศึกษา ซ่ึงมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล และการผดุงครรภ์ของต่างประเทศ
(๗) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็น ผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในกรณีที่มีสาธารณภยั หรือเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง
(๘) บุคคลซึ่งช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามระเบียบซึ่งรัฐมนตรีก าหนด โดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๘
การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกหนังสือ อนุมัติหรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความช านาญเฉพาะทาง และหนงัสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๒๙
การขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แบ่งเป็นสามประเภท คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล ผปู้ระกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์และผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๓๐
(๑) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
(ก) (๑)ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการรับรอง และสอบความรู้
(ข) (๒)ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้ เป็นผปู้ระกอบวิชาชีพในประเทศที่ตนไดร้ับปริญญาหรือประกาศนียบตัร ซ่ึงคณะกรรมการไดต้รวจสอบ หลักฐานการศึกษาและสอบความรู้แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยไม่ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็น ผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ผู้นั้นได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรก็ได้
(๒) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
(ก) (๓)ไดร้ับประกาศนียบตัรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ ระดบัตน้ จากสถาบนัการศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการรับรองและสอบความรู้แล้ว
(ข) (๔)ไดร้ับประกาศนียบตัรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ ตนได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลักฐานการศึกษาและสอบความรู้แล้ว แต่ถ้า เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยไม่ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ผู้นั้นได้รับ ประกาศนียบัตรก็ได้
มาตรา ๓๑
ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญแห่งสภาการพยาบาลและ มีคุณสมบัติอื่นตามที่ก าหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๓๒
ผปู้ระกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามที่ได้ก าหนดไว้ในข้อบังคับสภาการ พยาบาล
มาตรา ๓๓
บุคคลผซู้่ึงไดร้ับความเสียหายเพราะผปู้ระกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มี สิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น โดยทำเรื่องยื่นต่อสภาการพยาบาล
มาตรา ๓๔
เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่องการกล่าวหา หรือการกล่าวโทษตามมาตรา ๓๓ หรือในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติการณ์อันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ของผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ผู้ให้เลขาธิการ เสนอเรื่องดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจริยธรรมโดยไม่ชักช้า
มาตรา ๓๕
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมจากสมาชิกสามัญประกอบ ดว้ยประธานคนหน่ึง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคนมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงใน เรื่องที่ไดร้ับตามมาตรา ๓๔ แล้วทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
มาตรา ๓๖
(๑) ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการ พิจารณา
(๒) ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวน ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ นั้นมีมูล
(๓) ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล
มาตรา ๓๗
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนจากสมาชิกสามัญ ประกอบ ด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคนมีหน้าที่สอบสวน สรุปผลการ สอบสวนและเสนอสา นวนการสอบสวน พร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
มาตรา ๓๘
ในการปฏิบตัิหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจริยธรรมและของคณะอนุกรรมการ สอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อนุกรรมการจริยธรรมและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา มีอา นาจเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยค าและมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใดๆ ส่ง เอกสารหรือวัตถุ เพื่อประโยชน์แก่การด าเนินงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าว
มาตรา ๓๙
ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่ง ส าเนาเรื่องที่กล่าวหา หรือกล่าวโทษ ให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่ม ทา การสอบสวน
มาตรา ๔๐
เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอส านวนการ สอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการโดยไม่ชักช้าเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
มาตรา ๔๑
เมื่อคณะกรรมการไดร้ับส านวนการสอบสวน และความเห็นของคณะอนุกรรมการ สอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาส านวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าว
มาตรา ๔๒
ให้เลขาธิการแจ้งค าสั่งสภาการพยาบาลตามมาตรา ๔๑ ไปยังผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ ถูกกล่าวโทษเพื่อทราบโดยไม่ชักช้าและให้บันทึกข้อความตามค าสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ดว้ย
มาตรา ๔๓
ภายใตบ้งัคบัมาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือแสดงดว้ยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว นับแต่วันที่ทราบค าสั่งสภาการพยาบาลที่สั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น
มาตรา ๔๔
ผปู้ระกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดกระท าการฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ และถูกลงโทษจา คุกตาม มาตรา ๔๖ โดยค าพิพากษาถึงที่สุด ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นตั้งแต่วันที่ศาลมี คา พิพากษาถึงที่สุด
มาตรา ๔๕
ผปู้ระกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ถ้าคณะกรรมการได้พิจารณาค าขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธการออกใบอนุญาตผู้นั้นจะยื่นค าขอรับ ใบอนุญาตได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต
หมวด ๕ ทวิ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๕ ทวิ
(๑) สถานที่ประกอบการที่มีผปู้ระกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ปฏิบัติงานอยู่
(๒) สถานที่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่ามีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการ พยาบาลผดุงครรภ์
(๓) สถานที่ที่ทำการสอนหรือเชื่อว่าทำการสอนวิชาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการ พยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๔๕ ตรี
ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตอ้งแสดงบตัรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๕ จัตวา
ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา
มาตรา ๔๕ เบญจ
ในการปฏิบัตหน้าที่ของพนกังานเจ้าหน้าที่ ให้ผรู้ับผิดชอบหรือปฏิบัตหน้าที่ ในสถานที่ตามมาตรา ๔๕ ทวิ อำนวยความสะดวกในการปฏิบตัิงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๖ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๖
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๗
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๔๘
ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตาม มาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ