Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 แนวคิดและทฤษฎีของการสูงอายุ, นางสาวรัชนีกร พันชน 61106010117 -…
หน่วยที่ 4 แนวคิดและทฤษฎีของการสูงอายุ
ทฤษฎีการสูงอายุเชิงชีวภาพ
ทฤษฎีการเชื่อมไขว้(Cross- linkage Theory)
เนื้อเยื่อคอลลาเจนเกิดการเปลี่ยนแปลง สูญเสียความยืดหยุ่น ทําให้ผิวหนังหย่อนคล้อย และหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น
เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดแตกง่าย
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
ให้ผู้สุงอายุออกกําลังกายแบบยืดเหยียด เพื่อป้องกันการยึดติดของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อ
แนะนําให้ใช้โลชั่นบํารุงผิวหลังอาบนํ้า
ทฤษฎีระบบประสาท/ต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrine Control Theory)
ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อทําหน้าที่ลดลง
เกิดโรคสมองเสื่อม เบาหวาน โรคของต่อมไทรอยด์
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
จํากัดการบริโภคแป้งและนํ้าตาล
ตรวจร่างกายประจําปี และสังเกตความผิดปกติ
ฝึกสมอง ใช้ความคิด กระตุ้นให้ทํากิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free Radical Theory)
การสะสมของอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ได้แก่ ความเครียด อากาศเป็นพิษ ควันบุหรี่ รังสีUV
เนื้อเยื่อ อวัยวะเสื่อมลง และเกิดมะเร็งผิวหนังได้
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ใช้ครีมกันแดด และสวมแว่นกันแดด
แนะนําให้รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อาหารที่มีวิตามินเอ ซีและอี
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
หลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่หักโหม และการสัมผัสสารเคมี
ทฤษฎีการเสื่อมสลาย (Wear and Tear Theory)
อวัยวะเสื่อมสลายจากการใช้งานมานาน จะทําให้อวัยวะเสื่อมเร็วขึ้น ได้แก่ ข้อเข่า ตับ กระเพาะอาหาร ไตและผิวหนัง
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง แอลกอฮอล์ และแสงแดด
ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ชะลอการเสื่อมของตับ กระเพาะอาหาร และปกป้องเซลล์ผิวหนังถูกทำลาย
จำกัดกิจกรรมที่ใช้ข้อออกแรง ควบคุมน้ำหนักตัว ขึ้นลงบันไดช้าๆ ไม่นั่งพับเพียบหรือนั่งยองๆ
ชะลอความเสื่อมของร่างกาย
ทฤษฎีความผิดพลาด (The Error Theory)
มีการเปลียนแปลงโครงสร้าง DNA ในเซลล์ และเซลล์เสียหน้าที่ทำให้เกิดมะเร็ง
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
แนะนําให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและปรับตัว
หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง และตรวจหาเซลล์มะเร็งเป็นประจํา
ให้คําแนะนําเรื่องการป้องกันไม่ให้ร่างกายเสื่อมลงเร็วกว่ากําหนด เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน (Immunity Theory)
ร่างกายมีการสร้างสารภูมิคุ้มกันลดลง และสร้างภูมิคุ้มกันทําลายตัวเอง
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
กระตุ้นสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และรักษาสุขอนามัย
แนะนําให้ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบ
ทฤษฎีการสูงอายุเชิงสังคม
ทฤษฎีกิจกรรม (Activity theory)
กระตือรือร้นในชีวิตดําเนินกิจกรรมหลังเกษียณอายุ กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมใหม่แตกต่างจากงานทีเคยทํา และเหมาะสมกับสภาพร่างของของตนเอง
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
สนับสนุนให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้นานที่สุด
กระตุ้นให้ทำกิจกรรมใหม่ที่ไม่เคยทำ ทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ทฤษฎีการแบ่งขั้นอายุ (Age stratification)
ทฤษฎีการถดถอยทางสังคม (Disengagement theory)
ผู้สูงอายุจะลดบทบาทของตนเองในสังคม
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
ให้ความเคารพ ยอมรับความคิดเห็น และขอคำปรึกษา
กระตุ้นให้เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาชิกที่อายุน้อยกว่า
จัดสัมนาการเตรียมตัวก่อนเกษียณ
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
คงไว้ซึ่งบุคลิกภาพ แบบแผนพฤติกรรมในอดีต และทํากิจกรรมเดิมที่เคยทำ
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
กระตุ้นผู้สูงอายุทำกิจกรรม กระตือรือร้น คํานึงถึงพฤติกรรมในอดีต และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่แยกตัว ทำกิจกรรมตามลำพัง
กระตุ้นให้นำพฤติกรรมในอดีตที่เคยใช้มาจัดการความเครียด
ทฤษฎีการสูงอายุเชิงจิตวิทยา
ทฤษฎีเอกัตบุคคลของจุง (Jung’s Theory of Individualism)
ผู้สูงอายุจะมีความสุขหรือมีความทุกข์ขึ้นอยู่กับภูมิหลังหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้บุคลิกภาพแตกต่างกัน
แบบแสดงตัว (extrovert)
แบบเก็บตัว (introvert)
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
เข้าใจกับบุคลิกภาพที่แตกต่างกันของผู้สูงอายุแต่ละราย
แบบแสดงตัว (extrovert) : เปิดโอกาสให้ได้แสดงออก
แบบเก็บตัว (introvert) : จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ เป็นส่วนตัว
ทฤษฎีระยะ 8 ขั้นของชีวิต (Eight stages of life theory)
ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดีเกิดจากการประสบความสําเร็จในพันธกิจแต่ละขั้นของชีวิตทั้ง 8 ช่วง ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสูงอายุ
พันธกิจในวัยสูงอายุได้แก่ การปรับตัวต่อความเจ็บป่วย สูญเสียบุคคลที่รัก เปลี่ยนแปลงของร่างกาย และการเตรียมตัวเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
ทําความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง และปัญหาที่ผู้สูงอายุเผชิญแต่ละขั้นของชีวิต
ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์(Maslow is Hierarchy of Human Need Theory)
ผู้สุงอายุมีความต้องการ 5 ขั้น
ความรักและความผูกพัน
การยกย่อง เชิดชู
ความมั่นคงและปลอดภัย : ครอบครัวที่อบอุ่น การงานที่มั่นคง
ร่างกายหรือสรีระ : ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร นํ้า
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
รู้จักตนเองอย่างแท้จริงและพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
สำรวจความต้องการของผู้สูงอายุว่ายังขาดสิ่งใด ควรตอบสนองสิ่งนั้น เริ่มต้นจากปัจจัย 4
นางสาวรัชนีกร พันชน 61106010117