Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
ยารักษาอาการท้องเสีย
สารที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
Loperamide
ยากลุ่มนี้นิยมใช้รักษาอาการท้องเสียมากกว่ายากลุ่มอื่น
ออกฤทธิ์จับกับ μ-receptor ที่ทางเดินอาหารทําให้ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยยืดเวลาที่อุจจาระอยู่ในลำไส้ ลดปริมาตรอุจจาะทำให้อุจจาระเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น
Diphenoxylate Diphenoxylate
ออกฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนไหวของลําไส้เหมือน Morphine แต่ไม่มีฤทธิ์ระงับ ความเจ็บปวด การให้ยาในขนาดต่ำไม่มีผลต่อระบบประสาท
หากใช้ยาติดต่อกันเป็น เวลานานอาจเกิดอาการติดยาได้ มีการนํายาdiphenoxylate มาผสมกับatropineได้ เป็นยาlomotitเพื่อลดการบีบตัวในลําไส้
Opioids (Morphine, Diphenoxylate)
เป็นยาที่ให้ผลดีที่สุดในการบรรเทาอาการท้องเดิน
การออกฤทธิ์ที่ μ-receptor ที่บริเวณผิวเซลล์ ของลําไส้เล็ก โดยมีผลยับยั้งการบีบตัวของลําไส้ทําให้เพิ่มระยะเวลาในการที่อุจจาระอยู่ในลําไส้ ทําให้น้ํามี โอกาสถูกดูดซึมกลับเข้าเยื่อบุลําไส้
ยาอื่นๆ
Lactobacillus acidophilus : ใช้ในผู้ป่วยท้องเดินซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในลําไส้ L. acidophilusเป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลําไส้ สร้างกรด Lactic ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคจึงไม่ควรใช้ยานี้เกิน 2 วันติดต่อกัน
ผงน้ําตาลเกลือแร่ (Oral rehydration salts: ORS) : ผงน้ําตาลเกลือแร่ หรือ โออาร์เอส ใช้รักษาอาการท้องเสียเบื้องต้น เพื่อทดแทนน้ําและเกลือรี่ร่างกาย สูญเสียไปจากอาการท้องเสีย วิธีรับประทาน คือ ให้จิบในปริมาณน้อย ๆ จิบไปเรื่อย ๆ จิบบ่อย ๆ และควรดื่ม ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผสม
สารที่มีฤทธิ์ดูดซับสารพิษที่เป็นต้นเหตุของอาการท้องเสีย
Activated charcoal : เป็นถ่านชนิดพิเศษซึ่งกระตุ้นให้ผิวเซลล์สามารถดูดซับสารพิษได้เร็วใช้ใน ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเดินเนื่องจากสามารถดูดซับสารพิษที่เป็นต้นเหตุของท้องเดินได้ดี ผลข้างเคียงคือ อุจจาระสีดํา
เกลือแร่ Bismuth : สามารถจับกับสารพิษที่สร้างจากเชื้ออหิวาห์และ E. coli ช่วยลดการอักเสบของลำไส้และการเคลื่อนไหวลําไส้ที่มากเกินไป ใช้แก้ท้องเสียที่ไม่รุนแรงมาก และใช้ป้องกันและรักษาท้องเสียเมื่อมีการเดินทาง
Kaolin และ pectin : ออกฤทธิ์โดยยาจะไปเคลือบลมเยื่อเมือกในทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสิ่งระคายเคืองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ดูดซับแก๊สและกรดด่าง สารพิษต่างๆและแบคทีเรีย ทําให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อน ผลข้างเคียงคือ อาเจียน ท้องผูก
Cholestyramine :ใช้บรรเทาอาการท้องเดินซึ่งเกิดจากกรดในน้ําดีในลําไส้มากกว่าปกติ โดยยามีคุณสมบัติเป็นประจุบวกสามารถรวมกับประจุลบของกรดน้ําดีและเปลี่ยนเป็น insolubule Complex และถูกขับออกทางอุจจาระทําให้ลดระดับcholesterol ผลข้างเคียงคือ ท้องอืด ท้องผูก อุจจาระอุดตันในลําไส้ ถ้าใช้นานๆอาจเกิดภาวะขาด วิตามิน A D และกรด folic รสชาติยาไม่น่ารับประทานอาจผสมกับน้ําหวานหรือน้ํา ผลไม้ และติดตามผลการตรวจหาระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดก่อนให้ยาและติดตามผลการ ตรวจเป็นระยะๆขณะให้ยา
สารที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อน :ได้แก่ methylcellulose,psyllium,sterculia,polycarbophil สารกลุ่มนี้ สามารถดูดน้ำเข้าหาตัว ทำให้อุจจาระพองตัวและจับตัวกันเป็นก้อน ใช้บรรเทาอาการอุจจาระเหลวเป็นน้ำ แต่สารเหล่านี้ไม่ได้บรรเทาสูญเสียนำ้และเกลือแร่จากร่างกาย
ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย
เด็กอายุต่ำกว่า3ปี หากมีอาการท้องเสียให้พาไปพบแพทย์
ระมัดระวังอาการขาดน้ําและเกลือแร่
ห้ามซื้อยามารับประทานเอง หากมีไข้สูงหรือถ่ายมีมูกเลือด
หากอาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยาไป 2 วันควรไปพบแพทย์
หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง ย่อยยาก นม เหล้า และอาหารที่มีไขมันมาก ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
ยาระบาย
ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้
Anthraquinone laxatives
พบในใบมะขามแขก(senna)ว่านหางจระเข้(aloe)โกฎน้ําเต้า (rhubarb) ได้แก่ ยา Senna
ออกฤทธิ์ได้โดย Anthraquinone glycosides ซึ่งเป็นสารที่พบในมะขามแขกจะถูกแบคทีเรียในลําไส้ ย่อยให้กลายเป็นกลูโคส และ emodins ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทลําไส้ใหญ่ทําให้การเคลื่อนไหวลําไส้เพิ่มขึ้น
Castor oil
เป็นน้ํามันที่สกัดได้จากเมล็ดละหุ่ง ยาจะถูกย่อยในลําไส้เล็กโดยเอนไซม์ tipase จากตับอ่อนได้กลีเซอ รีนและกรดริซิโนเลอิค (ricinoleic acid) ซึ่งกรดที่เกิดขึ้นมีผลระคายเคืองลําไส้ และลดการดูดซึมกลับของน้ํา และเกลือแร่ด้วยจึงทําให้มีการเพิ่มปริมาณในลําไส้เกิดเร่งการขับถ่ายขึ้น
ยาCastor oil รสชาติไม่น่ารับประทานอาจผสมกับน้ําหวานหรือน้ําผลไม้และควรรับประทานยาในขณะท้องว่าง
Bisacody
ออกฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทในเยื่อมูกของลําไส้ใหญ่ โดยตรงทําให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวแรงและเร็วขึ้นและกระตุ้นเยื่อบุ ทางเดินอาหารให้หลั่ง PGE2 จึงส่งผลให้มีการหลั่งน้ําและ เกลือแร่เพิ่มมากขึ้น
ยาที่อยู่ในรูปแบบเม็ดเคลือบห้ามบดหรือเคี้ยวยา แก้ท้องผูกแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เพื่อให้ยาแตกตัวในลําไส้ ควรรับประทานยาทั้งเม็ดพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีและดื่มน้ําตามมากๆ ใช้แก้ท้องผูกแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
ยาที่ช่วยหล่อลื่นและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม
ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการลดความตึงผิวของก้อนอุจจาระทําให้น้ําและไขมันรวมตัวกัน เป็นผลทําให้อุจจาระนุ่มลงได้และขับถ่ายออกได้สะดวกมากขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของลําไส้
ยา do salts ยาจะทําให้อุจจาระอ่อนนุ่มลงภายใน 24-48 ชั่วโมง ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องให้ออกแรงเบ่ง เช่น ผู้ป่วยได้ เลื่อนผู้ป่วยโรคหัวใจ
ยาระบายที่มีแรงดึงน้ำมาก
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการดึงน้ําจากร่างกายเข้ามาในลําไส้ด้วยแรงดัน Osmotic ทําให้แรงดันในลําไส้เพิ่มขึ้น เกิดการกระตุ้นให้ลําไส้บีบตัวและขับถ่ายอุจจาระออกมา
ตัวอย่างยาใน กลุ่มนี้ ได้แก่ ยาน้ําตาลแลคทูโลส,กลีเซอรีน,ซอร์บิทอล และเพลีเอทธิลีนไกลคอลที่ใช้มาก ได้แก่ ยาเหน็บglycerin ออกฤทธิ์เร็วภายใน 30 นาทีโดยยาจะทําให้เกิดแรงดันออสโมติกและมีผลต่อการระคายเคืองเฉพาะที่ทําให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวเหมาะในเด็กในสตรีมีครรภ์และหยิงให้นมบุตร
การพยาบาลและคำแนะนำผู้ป่วยที่ใช้ยาระบายและยาถ่ายโดยทั่วไป
หากเป็นยาระบายให้รับประทานก่อนนอน เพื่อให้ฤทธิ์ออกในตอนเช้า (6 ชั่วโมงหลังได้ยา) หากเป็นยารูปแบบสวนทางทวาร ยาจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที
ไม่ควรใช้ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลําไส้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี และในหญิงตั้งครรภ์
ไม่ควรใช้ยาระบายลดน้ําหนัก เพราะจะเกิดผลเสียกับร่างกาย เช่น ขาดสารอาหาร
ยา Lactulose มีส่วนผสมของน้ําตาล ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การใช้ยาระบายเป็นประจํา ทําให้ลําไส้เกิดความเคยชิน อาจส่งผลทําให้เกิดอาการติดการใช้ยา อาจแก้ไขโดยเลือกใช้ยาช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระมาใช้ร่วมด้วย
ห้ามเคี้ยวยา Bisacodyl หรือรับประทานพร้อมยาลดกรด เนื่องจากยามี enteric-Coated ต้องรักษารูปยาเพื่อให้ไปแตกตัวและดูดซึมที่ลําไส้เล็ก
ห้ามใช้ยาระบายในผู้ที่มีอาการท้องผูกหรือมีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่มีอุจจาระอัดแข็งเป็นก้อนอุดลําไส้ และผู้ที่ท้องผูกจากพยาธิสภาพของทางเดินอาหาร ควรหาสาเหตุให้ทราบแน่ชัด เพื่อการแก้ไขที่ปลอดภัยและตรงจุดมากกว่า
ยาลดกรดที่ไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร อาจส่งผลรบกวนการออกฤทธิ์ของ Lactulose ได้
ยาที่ทำให้เกิดการเพิ่มของกากใย
กลไกในการออกฤทธิ์หลังจากรับประทานยาเข้าไปจะเกิดการพองตัวในลําไส้ ทําให้เพิ่มปริมาณกากในอุจจาระ ทําให้เกิดการกระตุ้นที่ลําไส้ เกิดการเคลื่อนไหวบีบตัวขับอุจจาระออกมา
ยามีผลไปดูดซับยาตัวอื่นจึงห้ามให้พร้อมกับยาตัวอื่น ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลเรื้อรังในลําไส้ นอกจากการช่วยระบายแล้ว psyllium ยังสามารถยับยั้งการดูดกลับของ bite acid ทําให้ระดับไขมันในเลือด ลดลงด้วย ผลข้างเคียงพบน้อยอาจทําให้เกิดลมในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติได้