Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive agent) - Coggle Diagram
ยากดภูมิคุ้มกัน
(Immunosuppressive agent)
กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลซินิวริน
(Calcineurin inhibitors)
Cyclosporine A(CsA)
กลไกการออกฤทธิ์:
ยับยั้งเอนไซม์ calcineurin ส่งผลยับยั้งการสร้างและการหลัง IL-2 จาก T cell Cyclosporin A (CSA) lymphocyte activation anas graft
การนำไปใช้รักษาในคลินิก:
ใช้ป้องกันและรักษา acute rejection (การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะแบบเฉียบพลัน) ในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไตหัวใจปอดและตับโดยนิยมให้ร่วมกับยากลุ่ม Corticosteroids และ cytotoxic agents 3 หรือ mTOR inhibitor หรือใช้ป้องกันและรักษา GVHD ในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไขกระดูกโดยนิยมให้ร่วมกับ Corticosteroids หรือใช้รักษาโรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเองหลายชนิดเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) โรคเรื้อนกวาง (psoriasis) และม่านตาอักเสบ (uveitis)
ผลข้างเคียงจากยา
Cyclosporin A (CSA) พิษต่อไต (nephrotoxicity) ขึ้นกับขนาดยาที่ให้และระดับยาในเลือดพิษต่อระบบประสาท (neurotoxicity) เช่นแขนขาชาสั่น (tremor) อาจทำให้ความดันโลหิตสูงน้ำตาลในเลือดสูงไขมันในเลือดสูงการทำงานของตับผิดปกติเหงือกบวม (gum hyperplasia) lazuunn (hirsutism) ยามีฤทธิ์กดไขกระดูกเพียงเล็กน้อยจึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้น้อยกว่ายากดภูมิคุ้มกันตัวอื่น ๆ เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
Tacrolimus (FK506)
กลไกการออกฤทธิ์:
ออกฤทธิ์เหมือนกับ cyclosporin แต่เป็นยาใหม่กว่า Cyclosporin และฤทธิ์แรงกว่า Cyclosporin 100 เท่า
การนำไปใช้ในคลินิก:
ใช้แทน Cyclosporin ในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation) เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่าและลดขนาดของยา corticosteroids ที่ใช้ร่วมด้วยได้
ผลข้างเคียงจากยา
Tacrolimus (FK506) คล้ายกับ Cyclosporin แต่ยาไม่ทำให้เหงือกหนาและขนดกยามีพิษต่อระบประสาทซึ่งพบได้บ่อยกว่า Cyclosporin เช่นปวดศีรษะสั่น (tremor) นอนไม่หลับและซักนอกจากนั้นอาจพบผมร่วงได้
กลุ่มยาที่มีพิษต่อเซลล์
(Cytotoxic agents)
Azathioprine
กลไกการออกฤทธิ์:
ยับยั้งการสร้างDNA,RNAและโปรตีน ส่วน active metabolite คือ 6 thioinosinic acid มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ต่าง ๆ ในการสร้างสารพิวรีนมีผลยับยั้งการสร้าง DNA และยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์
การนำไปใช้ในคลินิก:
ใช้ร่วมกับยากลุ่ม Corticosteroids และ Cyclosporin ในการรักษาแบบ triple therapy เพื่อป้องกัน acute graft rejection (การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะแบบเฉียบพลัน) จากการปลูกถ่ายไตหรือตับหรือใช้รักษาโรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเองหลายชนิดเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่รนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อยาอื่น SLE โรคโลหิตจาง
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้นคลื่นไส้อาเจียนเกิดพิษต่อตับ (hepatotoxicity) เมื่อให้ในขนาดสูงตัวเหลืองตาเหลืองผมร่วงกล้ามเนื้ออ่อนแรงอ่อนเพลียเป็นผื่น
Mycophenolate mofetil (MMF)
กลไกการออกฤทธิ์:
เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น mycophenolic acid (MPA) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ inosine monophosphate dehydrogenase (เอนไซม์นี้เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์พิวรีน) ส่งผลยับยั้งการสร้าง DNA, RNA และโปรตีนยามีผลยับยั้งการแบ่งตัวของ B และ T lymphocytes
การนำไปใช้รักษาในคลินิก:
ใช้ป้องกันและรักษา acute graft rejection (การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะแบบเฉียบพลัน) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะร่วมกับยาตัวอื่นแทน Azathiopring Mycophenolate
Sirolimus no Everolimus
การนำไปใช้รักษาในคลินิก:
ใช้ป้องกันการเกิด acute graft rejection (การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะแบบเฉียบพลัน) โดยให้ร่วมกับ cyclosporine และ corticosteroids นอกจากนี้ยังมียากลุ่ม cytotoxic agents และ antiproliferative ที่นำมาใช้กดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเช่น Methotrexate Cyclophosphamide และ Leftunomide เป็นต้น
ผลข้างเคียงของยา
Sirotimus หรือ Everolimus กดไขกระดูกทำให้เกร็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) และเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukemia) ทำให้ติดเชื้อง่ายซีดหากใช้ยา Sirolimus ร่วมกับ Cyclosporine จะทำให้พิษต่อไตของ Cyclosporine สูงขึ้นและภาวะไขมันในเลือดสูงรุนแรงขึ้นภาวะโพแทสเซียมต่ำในเลือด (hypokalemia)
กลไกการออกฤทธิ์:
ยาไปยับยั้งการทำงานของ mammalian target of rapamycin; mTOR (ซึ่งเป็นเอนไซม์ kinase ที่สำคัญต่อการออกฤทธิ์ของ IL-2 ยับยั้งการเจริญและแบ่งตัวของ T cell และยับยั้งการตอบสนองของ T cell ต่อ (Sirotimus ไม่ได้ยับยั้งการสร้าง IL-2 เหมือน Cyclosporin tacrolimus)
Leflunomide
กลไกการออกฤทธิ์:
ยาไปยับยั้งการสังเคราะห์ pyrimidine ส่งผลให้การสังเคราะห์และการสร้าง DNA และ RNA ถูกยับยั้งจึงทำให้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านการเจริญเติบโตของเซลล์
การนำไปใช้รักษาในคลินิก:
รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ผลข้างเคียงของยา Lef ใน nomide พิษต่อตับพิษต่อไตไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคตับและโรคไตนอกจากนั้นยังมีพิษต่อทารกในครรภ์ด้วยกดไขกระดูกทำให้เกร็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) และเม็ดเลือดขาวต่ำ (leukemia) ทำให้ติดเชื้อง่าย
กลุ่มอดรีโนคอร์ติคอยด์
(Adrenocorticoids)
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
การออกฤทธิ์ยาจะไปควบคุมการทำงานขของ gene โดยจับกับ steroid receptor ภายในเซลล์ได้เป็น drug-receptor Complex ไปออกฤทธิ์ที่นิวเคลียสโดยไปยับยั้งการสร้าง mRNA ของโปรตีนหลายชนิดรวมทั้ง cytokine ชนิดต่าง ๆ ยาสามารถออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันได้หลายวิธีเช่นกดการทำงานของเซลล์ macrophage, T และ B lymphocyte ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ lymphocyte ยับยั้งการสร้าง cytokine หลายชนิดทำให้จำนวน lymphocyte ในกระแสเลือดลดลงได้ทันทีและได้นานถึง 24 ชั่วโมงโดยทำให้เซลล์ lymphocyte เคลื่อนย้ายออกจากกระแสเลือดมีผลต่อการเคลื่อนย้าย Icell มากกว่า B celt ฤทธิ์ลดการอักเสบมีส่วนช่วยในการรักษาด้วย
การนำไปใช้รักษาในคลินิก:
ในด้านการกดภูมคุ้มกันหากใช้ในขนาดสูง (high dose) สามารถนำไปใช้กดอาการแสดงของโรคภูมิคุ้มกัน (autoimmune disorders) เช่นโรคภูมิแพ้ตนเอง (severe systemic lupus erythematosus, SLE) ใช้ร่วมกับยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่น ๆ เพื่อป้องกันและรักษาการต้านเนื้อเยื่อจากการปลูกถ่ายอวัยวะ (transplant rejection) ใช้รักษาภาวะผู้รับปฏิเสธเซลล์ของผู้ให้ (graft versus host disease; GVHD) ในการปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplantation) มีการใช้ Prednisolone และ methyprednisolone ในขนาดที่แตกต่างกันไปใช้ในขนาดสูงในระยะแรกและค่อยๆลดขนาดยาลง
ผลข้างเคียงของยา
กลุ่มอดรีโนคอร์ติคอยด์ (Adrenocorticoids) ผลข้างเคียงเหมือนกับการใช้ยากลุ่ม Steroids โดยความรุนแรงของผลข้างเคียงขึ้นกับขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาเพื่อลดผลข้างเคียงควรให้ยา Corticosteroids ร่วมกับยาอื่นเช่น cyclosporine จะช่วยลดขนาดการให้ยากลุ่ม corticosteroids ได้การใช้ยา Corticosteroids เป็นระยะเวลานานมีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายหลายระบบเช่นน้ำหนักตัวเพิ่มหน้ากลมคล้ายรูปพระจันทร์ (moon face) ติดเชื้อง่ายอารมณ์แปรปรวนได้ง่ายเยื่อบุกระเพาะอาหารบางลงและเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารระดับน้ำตาลในเลือดสูงน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นบวมความดันโลหิตสูงภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) ภาวะร่างกายเป็นกรด (metabolic acidosis) คลื่นไส้อาเจียนขนดกผื่นคันภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) กล้ามเนื้อฝ่อกล้ามเนื้ออ่อนแรง
กลุ่มสารยับยั้ง cytokines
Anti-IL-2 receptor antibody
กลไกการออกฤทธิ์:
ออกฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้น lymphocyte ด้วย IL-2 ที่เป็น pathway สำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายที่ทำให้เกิดการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะแบบเฉียบพลัน
การนำไปใช้รักษาในคลินิก: ใช้ในผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายไต
4.5 Anti-lymphocyte globulin (ATG) uaz Antilymphocyte globulin (ALG): Lymphoglobulin, Thymoglobulin
กลไกการออกฤทธิ์:
ยาออกฤทธิ์โดยจับกับโมเลกุลบนพื้นผิว T cell ทำให้ลดการแบ่งตัวยับยั้งการกระตุ้นและเกิดการทำลาย T cel ยาออกฤทธิ์แรงกดภูมิคุ้มกันแบบ cell-mediated immune response ทำให้จำนวน T cel ลดลงอย่างมาก
การนำไปใช้รักษาในคลินิก: ใช้รักษาภาวะปฏิเสธการปลูกถ่ายไตแบบเฉียบพลัน (acute renal transplant rejection) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตนิยมใช้ร่วมกับยากดภูมิคุ้มกันอื่น ๆ และใช้รักษาโรคใจกระดูกฝ่อ (aplastic anemia) ผลข้างเคียงของยา ATG และ ALG มักมีไข้หนาวสั่นภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเกล็ดเลือดต่ำเป็นตุ่มตามผิวหนังและปวดข้อเกิดการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้สูง