Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้ยาทางปากและยาเฉพาะที่ - Coggle Diagram
การให้ยาทางปากและยาเฉพาะที่
การให้ยาทางปาก
ยาที่สามารถรับประทานทางปากได้ อาจเป็นชนิดยาเม็ด ยาแคปซูลยาผงหรือยาน้ำ ไม่ควรให้ยาทางปากในผู้ป่วยที่คาสายให้อาหารสู่กระเพาะ (NG-tube) หรือผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนไม่รู้สึกตัวและกลืนลำบาก หรือรับประทานยาเม็ดไม่ได้ต้องบดเป็นผงแล้วผสมน้ำ
ข้อควรปฏิบัติ
ยาที่ระคายเคืองทางเดินอาหารให้กินหลังอาหารหรือนม
ยกเว้น Tetracycline ห้ามกินพร้อมนม
ยาเม็ดที่ให้เวลาเดียวกันรวมกันได้
ยาน้ำเทใส่ในแก้วยา ถ้าเกินให้เททิ้ง
ยาผงให้ใช้ช้อนตวง
ยาลดกดให้อันดับสุดท้าย
ยาอมใต้ลิ้นให้หลังจากอย่างอื่น ห้ามกลืนหรือเคี้ยวให้นั่งพักขณะอมยา
การบริหารยาให้ถูกหลักการ
ตรวจเตียง ชื่อนามสกุลผู้ป่วยในMARให้ตรงกัน
เตรียมยาให้ตรงกับ MAR ของผู้ป่วย
อ่านฉลากยาให้ตรงกับ MAR
ตรวจชื่อยา ขนาด เวลาให้ยาใน MAR
เทยาให้ตรงกับจำนวน ขนาดใน MAR
ขั้นตอนการเตรียมยา
ยาชนิด Unit dose (ยาที่จัดมาเป็นแบบวันต่อวัน) หยิบยาใส่ถ้วยยาจำนวนตามที่แพทย์สั่ง
ยาชนิด Multidose ค่อยๆเทยาจากซองยาหรือขวดที่บรรจุยาหรือ Foil โดยที่ไม่ให้มือสัมผัสยาเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกจากมือปนเปื้อน
ยาน้ำให้หันป้ายยาหรือฉลากยาเข้าหาฝ่ามือเพื่อป้องกันยาหก
ดูชื่อขนาดยาให้ตรงกับใบ MAR อีกครั้งก่อนเก็บยาเข้าที่
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาตรงตามเวลาในใบ MAR
ดูเบอร์เตียงถามชื่อสกุลผู้ป่วยให้ตรงกับใบ MAR ของผู้ป่วย
แจกยาให้ผู้ป่วยรับประทานภายในเวลาที่กำหนด+,-30นาที
ประเมินสัญญาณชีพผู้ป่วยก่อนให้ยา กรณีที่ยานั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้า
สังเกตการเปลี่ยนแปลงหลังรับประทานยาเพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันที
บันทึกในแผนการพยาบาลและในใบ MAR ทุกครั้งหลังให้ยา
การให้ยาเฉพาะที่
เป็นการให้ยาภายนอกเฉพาะตำแหน่ง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ ได้แก่ กราให้ยาโดยผ่านทางเยื่อเมือกของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เพื่อรักษาหรือบรรเทอาการเฉพาะที่
การสูดดม (Inhalation)
ให้ยาในรูปของก๊าซ ไอระเหย หรือละอองเข้าสู่ทางเดินหายใจ ดูดซึมในส่วนลึกของระบบทางเดินหายใจที่มีเส้นเลือดขนาดเล็กอยู่มาก
ทางที่พ่นมีทั้งทางจมูก ทางปาก และทางท่อช่วยหายใจ
การให้ยาทางตา (Eye instillation)
วิธีใช้ยา
ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบ MAR
อุ่นยาให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิกาย
ล้างมือให้สะอาดทำความสะอาดตาด้วยสำลีชุบ NSS โดยเช็ดจากหัวตาไปหางตาเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและยาเก่าออก
ให้ผู้ป่วยนอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบนและพยาบาลดึงเปลือกตาล่างข้างที่จะหยดยาลง
หยอดยาตาตามจำนวนหยดลงไปบริเวณ Corjunctiwa sac ห่างประมาณ 1-2 นิ้วระวังอย่าให้หลอดหยดแตะกับตาหรือขนตา
หลับตาพร้อมทั้งใช้มือกดเบา ๆ ที่ข้างจมูกบริเวณหัวตาไว้ประมาณ 1-2 นาทีเพื่อป้องกันน้ำยาไหลลงคอจะได้ไม่ขมคอและให้ผู้ป่วยกลอกตา
หากจำเป็นต้องหยอดยาหลายชนิดในช่วงเวลาเดียวกันให้เว้นช่วงระยะเวลา 5 นาทีเพื่อให้ยาแต่งจะชนิดออกฤทธิ์ได้ดี
วิธีใช้ยาป้ายตา
ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบ MAR แจ้งผู้ป่วยให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยต้องกระทำฤทธิ์ข้างเคียงและอาการแพ้ยา
ล้างมือให้สะอาด
นอนหรือนั่งแหงนหน้าเหลือบตาขึ้นข้างบนใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง
บีบยาลงในกระทั่งตาโดยเริ่มจากหัวตาระวังอย่าให้ปลายหลอตแตะกับตาหรือเปลือก
ลับตากลอกตาไปมาหรือใช้นิ้วมือคลึงเบา ๆ เพื่อให้ยากระจายได้ทั่ว
ถ้าจําเป็นต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับยาหยอดตาให้ใช้ยาหยอดตาก่อนยาป้ายตาประมาณ 5 นาที
วิธีใช้ยาล้างตา
ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบ MAR แจ้งผู้ป่วยให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยต้องกระทำฤทธิ์ข้างเคียงและอาการแพ้ยา
ล้างมือล้างหน้าให้สะอาด
ล้างถ้วยล้างตาด้วยน้ำสบู่เช็ด ให้แห้งหรือใช้น้ำร้อนลวกก็ได้
รินน้ำยาล้างตาเต็มถ้วยก้มศีรษะเอาตาจุ่มลงถ้วยนั้นใช้มือกดถ้วยให้แน่นเงยหน้าขึ้นโดยไม่ให้น้ำยาหก
ลืมตาในน้ำยาล้างตากลอก ไปมาสักพักก้มศีรษะลงยกถ้วยล้างตาออก
ตรวจดูเสียก่อนว่าน้ำยาล้างตาใสหรือขุ่นถ้าอุ่นให้ทิ้งไปเพราะยาเสื่อมสภาพแล้ว
การให้ยาทางหู (Ear Installation)
ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยตรวจสอบให้ตรงกับใบ MAR แจ้งผู้ป่วยให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อปฏิบัติที่ผู้ป่วยต้องกระทำฤทธิ์ข้างเคียงและอาการแพ้ยา
อุ่นยาให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิกายโดยหมุนขวดหรือหลอดยาไปมาระหว่างกุ้งมือทั้ง 2 ข้างนาน 2 นาทีหากเก็บยาไว้ในที่เป็น
ล้างมือและทำความสะอาดใบหูด้วยผ้าชุบน้ำเช็ดให้แห้ง
เอียงหูหรือนอนตะแคงให้หูข้างที่จะหยอดอยู่ด้านบน
ดูดยาและหยอดยาตามจำนวนหยดดึงใบหูขึ้นปละไปข้างหลัง แต่หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีให้ดึงใบหูลงข้างล่างและไปข้างหลังเพื่อให้ยาไหลลงหูได้สะดวก
เอียงหูข้างนั้นไว้ 2-3 นาทีหรือใช้สำลีอุดหูไว้ 5 นาที
หากต้องการหยอดหูทั้ง 2 ข้างให้ทำซ้ำเหมือนเดิม
การหยอดยาจมกู (Nose instillation)
ให้ผู้ป่วยเงยหน้าขึ้นและพยาบาลยกปีกจมูกผู้ป่วยข้างที่จะหยอดยาขึ้นเบา ๆ แล้วหยดยาผ่านทางรูจมูกห่างประมาณ 1-2 นิ้ว จากนั้นให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมประมาณ 5 -10 นาทีเพื่อป้องกันยาไหลย้อนออกมา
การเหน็บ
วิธีการเหน็บยาทางทวารหนัก (Rectum suppository)
ให้ผู้ป่วยนอนยและพยาบาลใส่ถุงมือสะอาดยกแก้มก้นผู้ป่วยขึ้นจนเห็นรูทวารหนักชัดเจนจึงสอดใส่เม็ดยาเข้าไปแล้วใช้นิ้วชี้ต้นยาพร้อมเขี่ยเม็ดยาให้กระดกขึ้นเพื่อซิดผนังทวารหนักโดยให้ยาเข้าไปอีกประมาณ 3-4 นิ้วหรือเข้าไปจนสุดนิ้วชี้
วิธีการเหน็บยาทางช่องคลอด (Vaginal suppository)
ควรทำหลังจากการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกแล้วให้ผู้ป่วยนอนหงายและพยาบาลใส่ถุงมือปราศจากเชื้อแล้วสอดใส่เม็ดยาหรือแท่งเข้าไปทางช่องคลอดแล้วใช้นิ้วชี้ต้นยาเข้าไปลึกประมาณ 2-3 นิ้วหรือจนเกือบสุดนิ้วชี้
ความคาดเคลื่อนในการบริหารยา
ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา (Prescription error)
สั่งยาผิดขนาดหมายถึงแพทย์สั่งใช้ยาที่มีขนาดมากเกิน Mavirmum dose หรือสั่งยาในขนาดที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย
สั่งยาผิดชนิดหมายถึงเขียนใบสั่งยาสั่งยาคนละชนิดกับที่ควรจะเป็น
ผิดวิถีทางหมายถึงเขียนใบสั่งยาสั่งใช้ยาผิดวิถีทางทำให้ใช้ยาไม่ถูกวิธี
ผิดความถี่หมายถึงเขียนใบสั่งยาวิธีรับประทานผิดหรือระบุวิธีรับประทานที่ไม่เหมาะสม
สั่งยาที่มีประวัติแพ้หมายถึงแพทย์สั่งยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการแพ้ยาซ้ำ
ลายมือไม่ชัดเจนหมายถึงเขียนใบสั่งยาด้วยลายมือที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
ความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคำสั่งใช้ยา (Transcribing error)
ที่หอผู้ป่วยหมายถึงพยาบาลลอกคำสั่งแพทย์หรืออ่านคำสั่งแพทย์ไม่ถูกต้องไม่ตรงตามแพทย์สั่งทำให้ข้อมูลที่คัดลอกไว้นั้นมีความคลาดเคลื่อน
ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หมายถึงเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คัดกรองการลงข้อมูลยาในคอมพิวเตอร์ไม่ครอบคลุมหรือตัดกรองข้อมูลผิดพลาดทำให้ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยมีความคลาดเคลื่อน
ที่เภสัชกรรมหมายถึงเจ้าหน้าที่ห้องยาเภสัชกรอ่านคำสั่งแพทย์ไม่ถูกต้องไม่ตรงตามแพทย์สั่งส่งผลถึงการส่งต่อข้อมูลและการจ่ายยามีความคลาดเคลื่อน
ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (Dispensing Error)
ความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจ่ายยาของกลุ่มงานเภสัชกรรมที่จ่ายยาไม่ถูกต้องตามที่ระบุในคำสั่งใช้ยา
ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา (Administration error)
การให้ยาไม่ครบ (Omission error)
การให้ยาผิดชนิด (Wrong drug error)
การให้ยาซึ่งผู้สั่งใช้ยาไม่ได้สั่ง(Unordered drug)
การให้ยาผู้ป่วยผิดคน (Wrong patient)
การให้ยาผิดขนาด (Wrong-dose error)
การให้ยาผิดวิถีทาง (Wrong-route error)
การให้ยาผิดเวลา (Wrong-time error)
การให้ยามากกว่าจำนวนครั้งที่สั่ง (Extra-dose error)
การให้ยาในอัตราเร็วที่ผิด (Wrong rate of administration error)
การให้ยาผิดเทคนิค (Wrong technique error)
การให้ยาผิดรูปแบบยา (Wrong dosage-form error)
บทบาทของพยาบาลในการให้ยาผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยเข้ามานอนรักษาในครั้งแรกพยาบาลตรวจสอบยาให้ตรงกับคำสั่งแพทย์พร้อมกับเช็คยาและจำนวนให้ตรงตามฉลากยา
การซักประวัติจะถามเรื่องการแพ้ยาทุกครั้ง
ดูสติ๊กเกอร์สีแสดงแพ้ยาที่ติดอยู่ขอบ OPD card และดูรายละเอียดใน OPD card ร่วมด้วยทุกครั้งและพยาบาลติดสติ๊กเกอร์สีบนชาร์ตผู้ป่วยและปั้มตรายางทุกหน้าคำสั่งของแพทย์
เมื่อมีคำสั่งใหม่หัวหน้าเวรลงคำสั่งในใน MAR ทุกครั้ง
การจัดยาให้ระมัดระวังในการจัดยาเนื่องจากความผิดพลาดด้านบุคคลโดยเฉพาะยาน้ำ
เวรบ่ายพยาบาลจะตรวจสอบรายการยาในใบ MAR กับคำสั่งแพทย์ให้ตรงกันและดูยาในของลิ้นชักยาอีกครั้ง
กรณีผู้ป่วยที่ NPC ให้มีป้าย NFO และเขียนระบุว่า NPO เพื่อผ่าตัดหรือเจาะเลือดเข้าให้อธิบายและแนะนำผู้ป่วยและญาติทุกครั้ง
กรณีคำสั่งสารน้ำ + ยา 860 2 ml. ให้เขียนคำว่า + ยา B 60 2 ml ด้วยปากกาเมจิกอักษรตัวใหญ่บนป้ายสติ๊กเกอร์ของสารน้ำให้ชัดเจนเพื่อสังเกตได้ง่าย
การจัดยาจะจัดตามหน้าของยาหลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้วในการจัดยาที่เป็นคำสั่งใหม่ผู้จัดจะดูวันที่ที่สั่งยาใหม่หน้าของยาในการเริ่มยาใหม่
มีผู้จัด-ผู้ตรวจสอบคนละคนกันตรวจสอบก่อนให้ยาให้ตรวจสอบ 100% เช็คดูตามใบ MAR ทุกครั้ง
แจกยาไล่ตามเตียง/เซ็นชื่อทุกคร้ังหลังให้ยา ตรวจดูยาในล้ินชักของผู้ป่วยทุกเตียงจนเป็นนิสัย
ให้ยึดหลัก 6R ตํามที่กล่าวมาข้างต้น
สมรรถนะของพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Competencies of nurses for Rational Drug Use)
ประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา / มีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา
ร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น
สื่อสารให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยาโดยพิจารณาข้อมูลทางเลือกที่ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทและเคารพในมุมมองของผู้ป่วย
บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ
ติดตามผลการรักษาและรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้
ใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วยและไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม
ใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและเป็นไปตามหลักเวชจริยศาสตร์
พัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง
ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาทางปากและยาเฉพาะที่
การประเมินสภาพ
ก่อนให้ยาต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยและยาที่จะให้ผู้ป่วย ต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับกราแพ้ยา ภาวะขณะที่จะให้ยา
ประเมินว่าผู้ป่วยมีข้อห้ามในการให้ยาทางปากหรือไม่
ประวัติการแพ้ยา
ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูหน้าที่การทำงานของตับไต
การได้รับสารน้ำเพียงพอหรือไม่
ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาที่ได้รับ
การปฏิบัติตัวในการได้รับยา
การวินิจฉัยการพยาบาล
เมื่อรวบรวมข้อมูลจากการประเมินสภาพได้ทั้งหมด แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เป็นปัญหาดูว่าผู้ป่วยมีปัญหาหรือไม่มีปัญหาที่จะได้รับยาขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ประเมินมาได้ในขั้นตอนแรกแล้วให้การวินิจฉัยพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
หลังจากได้ข้อมูลและปัญหาหรือข้อบ่งชี้ในการให้ยาแล้วทำการวางแผนหาวิธีการว่าจะให้ยาอย่างไรผู้ป่วยจึงจะได้ยาถูกต้องครบถ้วนผู้ป่วยไม่เจ็บปวดหรือได้รับอันตรายโดยการตั้งเกณฑ์การประเมินของแต่ละข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
เป็นการปฏิบัติการให้ยาตามแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติโดยยึดหลักความถูกต้อง 7 ประการและคำนึงถึงบทบาทพยาบาลในการให้ยาตามที่ได้กล่าวข้างต้นรวมไปถึงการบันทึกหลังการให้ยาด้วยปฏิบัติตามหลักการบริหารยาที่ลงมือปฏิบัติจริง
การประเมินผล
เนื่องจากยาที่ให้นอกจากจะมีผลทางการรักษาแล้วยังอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ดังนั้นหลังจากให้แล้วต้องกลับมาตามผลทุกครั้งเพื่อดูผลของยาต่อผู้ป่วยทั้งต้านการรักษาและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์รวมถึงการแพ้ยาด้วยโดยประเมินดูว่าเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ในขั้นตอนการวางแผนหรือไม่