Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 นโยบาย กฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็นจริยธรรมในการดูแล…
หน่วยที่ 3 นโยบาย กฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในไทย
2525 กำหนด13 เมษายน เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
2530 รักษาพยาบาลฟรี มีเบี้ยยังชีพ
2540 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2542 ประกาศใช้ "ปริญญาผู้สูงอายุไทย"
2543 จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ(กผส.)
แนวคิดการนำแผนระยะยาวและนโยบายของรัฐสู่การปฏิบัติ
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีศักยภาพ
ให้บริการแก่ผู้สูงอายุโดยไม่ลำเอียง
พิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุ
พัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุ
เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ทรัพย์สินเงินทอง งาน ที่อยู่อาศัย เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
เจตคติและประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
“วยาคติ” (Ageism) หมายถึงทัศนคติเชิงลบที่มีต่อคนวัยใดวัยหนึ่ง
Prejudice : อคติหรือเจตคติรังเกียจกลุ่ม
Stereotype : ภาพในใจหรือการเหมารวม
Myth : ความเชื่อผิดๆ
Discrimination : แบ่งแยก
จริยธรรมในการพยาบาลผู้สูงอายุ
การไม่ทำอันตราย (nonmaleficence)
ความยุติธรรม (justice)
การทำประโยชน์ (beneficence)
การมีสัจจะ และความซื่อสัตย์ (veracity and fidelity)
การเคารพเอกสิทธิ์ หรือความเป็นอิสระ(autonomy)
จริยธรรมที่ต้องคำนึงถึงสำหรับผู้สูงอายุ
ความสามารถ(Ability)
เอกสิทธิ์(Autonomy)
การกำหนดเอง(Self-Determination)
การช่วยฟื้นคืนชีวิตหรือการให้การบำบัดรักษา
“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน"
การขอความยินยอมในการรักษา (Informed consent) ต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน
Disclosure : ได้รับข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ
Voluntariness : ตัดสินใจเองโดยปราศจากการขู่เข็ญบังคับ
Capacity : แยกแยะผลดีและผลเสียได้
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสูงอายุ
แนวคิดผู้สูงอายุสุขภาพดี (Healthy ageing)
ผู้สูงอายุที่ปราศจากโรคมีศักยภาพในการดำรงชีวิต สามารถสร้างประโยชน์ในกับชุมชนและสังคม
แนวคิดการประสบความสำเร็จในวัยสูงอายุ (Successful ageing)
ผู้สูงอายุที่มีความสำเร็จในชีวิต
Interpersonal relationship : ช่วยเหลือ สอนแนะคนอื่น
Productive activity : ถ่ายทอดข้อมูล เพิ่มคุณค่าแก่สังคม กิจกรรมที่สร้างสรรค์
แนวคิดพฤฒพลัง (Active ageing)
กระบวนการที่เอื้อให้เกิดการสร้าง พัฒนาตนเอง มีส่วนร่วม ความมั่นคง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตสูงวัยในอนาคต
มีส่วนร่วมกับสังคมให้นานที่สุด
สร้างหลักประกันและความมั่นคงให้ตนเองตามอัตภาพ
พึ่งพาตนเองได้
"ช่วยลดอัตราการพึ่งพาลงได"
แนวคิดผู้สูงอายุยังประโยชน์ (Productive ageing)
ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และใช้ความสามารถเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ต่อตนเอง และบุคคลอื่น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 - 2564)
เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
"มาตรา 33 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ”
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
บริการทางการแพทย์สะดวกรวดเร็ว สนับสนุนผู้สูงอายุฝึกอาชีพที่เหมาะสม สงเคราะห์การจัดการศพ ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ ช่วยเหลือค่าโดยสาร และผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีมีสิทธิได้รับการหักลดหย่อนภาษีสำหรับบิดามารดา ที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป
ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย
ได้รับปัจจัยพื้นฐาน การพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิ ความเคารพรัก โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ ได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ เรียนรู้ในการดูแลและเข้าถึงบริการสุขภาพ มีส่วนร่วมในสังคมและชุมชน และปลูกฝังค่านิยมให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุตามวัฒนธรรม