Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
11.พุทธกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, อุฏฐานะสัมปทา (อุ) หมายถึง…
11.พุทธกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
11.1ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
หมายถึง เศรษบกิจที่พึ่งตนเองได้ เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก เป้นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ทรงดำริขึ้นมา
11.2 หลักทำที่นำมาประยุกต์ใช้ในระบบเศรษฐกิจพอเพียง
11.2.1 หลักมัชฌิมาปฎิปทา
1.อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป
2.กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย
11.2.2 ตนเป็นที่พึ่งของตน
ให้บุคคลพึ่งตนเอง ซึ่งแนวทางของระบบเศรษฐกิจพอเพียงได้มุ่งเน้นให้พึ่งตนเองในการทำมาหาเลี้ยงชีพ และการเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็น
11.2.3 หลักสันโดษ
มุ่งให้บุคคลพอใจในทรัพย์สินที่ตนเองได้มาและใช้จ่ายในสิ่งที่ให้เกิดประโยชน์ รู้จักประหยัดและอดออม ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนีให้ความหมายของคำว่า สันโดษไว้ 3 นัยคือ ยินดีสิ่งที่เป็นของตน,ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ และยินดีด้วยใจที่เสมอ
11.2.4 หลักสัปปุริสธรรม
หลักสัปปุริสธรรม ๗ คือ ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ
หรือคุณสมบัติของคนดี ประกอบด้วย
ธัมมัญญุตา – ความรู้จักเหตุ
อัตถัญญุตา – ความรู้จักอรรถ
อัตตัญญุตา – ความรู้จักตน
มัตตัญญุตา – ความรู้จักประมาณ
กาลัญญุตา – ความรู้จักกาล
ปริสัญญุตา – ความรู้จักบริษัท
ปุคคลัญญุตา – ความรู้จักบุคคล
11.2.5 ทิฎฐธัมมิกัตถะ
คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้มีทรัพย์สินเงินทอง พึ่งตนเองได้ เรียกว่าธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน บางทีเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” โดยมีคำย่อคือ “อุ““อา““กะ““สะ“ ดังนี้คือ
อารักขสัมปทา (อา) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยการรักษา
กัลยาณมิตตตา (กะ) หมายถึง การรู้จักคบคนดี
สมชีวิตา (สะ) หมายถึง ความเป็นอยู่พอดี
11.2.6 โภคาวิภาค4
เป็นวิธีการจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่าย โดยจัดสรรทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้คือ
แบ่ง 1 ส่วน เพื่อใช้บริโภคเลี้ยงตนเองให้เป็นสุข
แบ่ง 2 ส่วน เพื่อจัดสรรไว้สำหรับลงทุนประกอบกิจการงานต่างๆ
แบ่ง 1 ส่วน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
11.2.7 โภคอาทิยะ5
เมื่อมีทรัพย์สิน ควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย
ใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข
ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
ใช้ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ
ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ 5 อย่าง
อติถิพลี (ใช้ต้อนรับแขก), ญาติพลี (ใช้ สงเคราะห์ญาติ), ราชพลี (ใช้บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร), เทวตาพลี (บำรุงเทวดา), ปุพพ เปตพลี (ทำบุญอุทิศให้แก่บุพการี
ใช้เพื่อบำรุงสมณพราหมณ์
11.2.8 กามโภคีสุข4
คือ คนครองเรือนควรจะมีความสุข 4 ประการ
ซึ่งคนครองเรือนควรจะพยายามให้เข้าถึงให้ได้ คือ
อัตถิสุข - สุขเกิดจากการมีทรัพย์
โภคสุข -สุขเกิดจากการบริโภคทรัพย์ หรือใช้จ่ายทรัพย์
อนณสุข – สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
อนวัชชสุข -สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ
11.3 ความสอดคล้องของหลักพุทธธรรมและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หมวดศีล เกี่ยวข้องกับความรอบรู้เป็นความรู้ ในทางโลกทางวัตถุเพื่อการดำรงอยู่เพื่อการประกอบอาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริตคอยกำกับ เป็นเรื่องของกายวาจา
หมวดสมาธิ เกี่ยวข้องกับการมีสติระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเพียรที่มีลักษณะกล้าแข็ง มีความหนักแน่นอดทนไม่ท้อถอย ทำให้เกิดการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงเป็นเกราะกำบังมิให้สิ่งเลวร้ายภายนอกเข้ามากระทบกับสิ่งดีๆ เกิดเป็นความเจริญงอกงามทางจิตใจที่พร้อมจะแผ่ขยายความดีงามจากภายในให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากเงื่อนไข
หมวดปัญญา เกี่ยวข้องกับการมีปัญญารู้ชัด พิจารณากลั่นกรองสิ่งต่างๆ ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ปราศจากอคติและกิเลส เพื่อให้ได้มาซึ่งเหตุผลที่ถูกต้องส่งผลให้เกิดเป็นการก้าวทันต่อโลก เห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างกระจ่าง เกิดเป็นความรู้แจ้งเห็นความจริงของโลก
อุฏฐานะสัมปทา (อุ) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร