Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม :star: :star:, dip-02 …
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม :star: :star:
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม :<3:
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing)
การพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม
โดยผู้ให้บริการจะต้องมีความไวในการรับรู้และให้การพยาบาลที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุดและรู้สึกพึงพอใจในการเข้ารับบริการด้วย
การปฏิบัติการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดทางการพยาบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการพยาบาลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้รับบริการ
“ข้าม” ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึงข้ามพรมแดน หรือใช้หลักการทางภูมิศาสตร์ แต่หมายถึงการข้าม วัฒนธรรม
“ข้ามวัฒนธรรม” (cross cultural or
transcultural มักใช้แทนกันบ่อยๆ
cross cultural การศึกษาความแตกต่างหรือความหลากหลายภายในวัฒนธรรม
transcultural เป็นการเน้นการเข้าไปอยู่ด้วยและมีการเชื่อมโยงของคนต่างวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญ
พฤติกรรม วาจา ลักษณะนิสัยของคนหรือกลุ่มคนในชาติ ลัทธิ ความเชื่อ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน เครื่องใช้ไม้สอยศิลปะต่างๆ
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
การศึกษาข้ามวัฒนธรรม ( Cross cultural study) การศึกษาวัฒนธรรมข้ามชาติ (Inter - cultural study)
แนวทางหนึ่งที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ที่จะช่วยอธิบายถึงความแตกต่างของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของสังคม
การเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 หรือยุคโลกาภิวัตน์
สังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้นจากปัจจัยหลายประการ
การดูแลประชาชนในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญและเป็นความท้าทายของพยาบาลในปัจจุบันและอนาคต
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม :<3:
มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเทคโนโลยีแบบไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมจึง
ความสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพ
ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงสถานบริการในทุกระดับได้ดีึงส่งผลให้สถานบริการต้องเร่งจัดระบบการ ให้บริการเพื่อรองรับประชาชนที่มีความหลากหลาย
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการประกาศสิทธิของผู้ป่วย
การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง มีการ เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันในการดำรงตำแหน่งในสังคมของชายหญิงเพิ่มขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม และ ประชาชนสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการจึงทำให้พยาบาลชุมชนผู้ซึ่ง รับผิดชอบการให้บริการระดับปฐมภูมิต้องปรับวิธีคิด และกระบวนการทำงานในชุมชน
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม :<3:
กรอบแนวคิดทางการ
พยาบาล 4 มโนมต
ด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่เป็น
สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม บรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
ด้านบุคคล
แต่ละคนย่อมมีแบบแผนการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพ
เป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาลควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
มีแนวคิดอื่นที่มาเกี่ยวข้องกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
แนวคิดของมนุษนิยม
(Humanism)
มุมมองด้านการให้อิสระและเน้นความเป็นมนุษย์ (liberal, humanist perspective)
นี้ เน้นความเสมอภาคเท่าเทียม ความเป็นอิสระ มีเสรีภาพเหมือนคนอื่นๆ
แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralist perspective)
มองในเรื่องความเป็นพลวัตรหรือมีการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งตลอดเวลา
การค้นหาความจริงต้องผ่านตัวคนโดยใช้ระบบคุณค่า การตีความ การรับรู้ ความรู้สึกของคน
ช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีสังคมวัฒนธรรมแตกต่าง เช่น เชื้อชาติ ชาติพันธ์ บทบาทเพศ ชนชั้นทางสังคม
ประเด็นการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการดูแลตามวัฒนธรรมเดิมในโลกวัฒนธรรมใหม
แนวคิดการดูแลหรือการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
สังคมแบบรวมกลุ่ม (collective society)
สังคมแบบต่างคนต่างอยู่ (isolate society)
พัฒนาแนวคิดของการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่โดยเน้นองค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติ
การให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยกายและจิต และเคารพในการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
การสร้างสัมพันธภาพเป็นจุดสำคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแลคนซึ่งไม่ใช่เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลเท่านั้น แต่รวมถึงระหว่างญาติกับพยาบาล
ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย เช่น มีระบบประกันสุขภาพที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ ทั้งของประเทศ จังหวัดและของกลุ่มสังคมในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ
ความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาคนและชุมชนตามแนวพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ไทย
มี 3 องค์ประกอบสำคัญการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาซึ่งมาจากฐานคิดแบบมนุษยนิยม
เน้นความเป็นองค์รวมหรือกลุ่ม
(collectivism) มากกว่าแบบรายบุคคล
การพัฒนาความรู้และทักษะของพยาบาลในการดูแลผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรมต้องปรับเปลี่ยนให้เข้าความเป็นสากลมากขึ้น ขณะเดียวกันยังต้องรักษาหรือคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการดูแลที่มีความเป็นเอกลักษณ์เดิมด้วย
สภาการพยาบาลที่เน้นข้อหนึ่งว่า ผู้ให้การดูแลหรือพยาบาลไทยถือหลักการหรือแนวคิดว่า ต้องให้การดูแลเหมือนกัน ไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย
หลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
การให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจำวันของกลุ่มชนเกิดพื้นฐานและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นลักษณะเฉพาะ
การดูแล
พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ เกิดการพัฒนา
การดูแลทางด้านวัฒนธรรม
คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุง
สภาพการณ์ส่วนบุคคล การเผชิญความตาย
การมองโลก
การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม เช่น ศาสนา เศรษฐกิจ และการศึกษา
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล
การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม
ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้
เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม
ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจง
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม
ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้
เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
:<3:
ความเข้าใจและความสามารถ
1) มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในทุกวัฒนธรรม
2) มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อเชื้อชาติ เพศและพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
3) มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
4) มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดาเนินชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
5) มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
6) สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
7) ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
8) สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม และสอดคล้องตามวัฒนธรรม
9) บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
10) พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
11) ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติศาสนา และวัฒนธรรม โดยคำนึงกฎระเบียบ
12) สามารถรักษาลับของข้อมูล ความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูล ดูวิถีชีวิต และแนวคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล ใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
การวางแผนการพยาบาล ให้กระทำตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัวและเน้นการมีส่วนร่วม
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ สนองตอบต่อค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทำให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตาย อย่างสงบ ประเมินโดยใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก