Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
ยาระงับการหลั่งกรด
ยาที่มีฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับเซอโรโตนิน : ออกฤทธิ์ปิดกั้นที่ 5HT3- receptor ซึ่ง serotonin receptors อยู่ที่ปลาย ประสาทเวกัสและบริเวณ CTZ ให้ผลดีในการระงับอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบําบัด หรือหลังผ่าตัด
ยาที่มีฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับโดปามินชนิดที่ 2
Metochlopramide :ออกฤทธิ์ปิดกั้น D2 receptor มีผลยับยั้งฤทธิ์ของ DA และมี ผลต่อ serotonin โดยปิดกั้น 5-HT3 ดูดซึมผ่านตับได้ดี ผ่าน Blood brain barrier และ placenta ใช้ระงับอาเจียนในผู้ที่ได้รับยาเคมีบําบัด ขนาดที่ใช้ในการรักษา คือ ครั้งละ ไม่เกิน 0.5 mg/ น้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือครั้งละ 10-15 mg รับประทาน วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร 30 นาที และก่อน
นอน
Domperidone : ออกฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารและเป็นยาระงับอาการอาเจียนมีฤทธิ์ ต้าน DA ที่ส่วนของ peripheral ไม่เข้าในสมองส่วนกลาง ให้ผลเช่นเดียวกับ metoclopramide แต่ผลข้างเคียงน้อยกว่าจึงเป็นที่นิยมรับประทานยาก่อน อาหาร แต่การใช้ยานี้ต้องระมัดระวัง เพราะอาจทําให้เกิด QT prolong ซึ่งอาจ นําไปสู่ภาวะ Torsade คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง
Medicine Agency จึงได้แนะนําการใช้ยา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
Medicine Agency แนะนําข้อห้ามใช้ของยา domperidone ได้แก่
-ไม่ใช้ร่วมกับยากลุ่ม strong CYP3A4 inhibitors เพราะจะทําให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่รุนแรง
Haloperidol :ออกฤทธิ์แย่งจับกับ D2 receptor ที่สมองส่งผลให้มีการหลั่งของ DA ลดลง ยานี้สามารถระงับอาการอาเจียนที่เกิดจาก Gastroenteritis มะเร็งและยา แต่มีผลข้างเคียงคือ ทําให้ง่วงนอน ความดันโลหิตต่ำ
Chlorpromazine : ใช้ระงับอาเจียนหลังผ่าตัดหรือแพ้รังสี หรืออาเจียนจากภาวะไตวาย ระงับอาเจียนจากการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยา tetracycline นอกจากนี้ยังใช้รักษาโรคจิต
ยาที่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก :ใช้ป้องกันการอาเจียนจากเมารถหรือเมาเรือ โดยรับประทานก่อนเดินทาง 30นาที เชือว่ายาออกฤทธิ์ลดการนำกระแสประสาทเข้าสู่CTZและยับยั้งการกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียนที่ระบบประสาทCholinergic
สารสกัดจากกัญชา : ออกฤทธิ์ต้านการอาเจียนโดยการออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ Cannabinoid ที่ศูนย์อาเจียน มักใช้ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการใช้ยาเคมีบําบัด เมื่อใช้ยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล อาการไม่พึงประสงค์ที่พบคือ หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ความดันเลือดลดต่ำ เคลิบเคลิ้มเป็นสุข เกิดการติดยาได้
ยาที่มีฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับฮีสตามินชนิดที่ 1 :ออกฤทธิ์แย่งจับH1 receptorที่หูและที่สมอง ใช้ป้องกันหรือระงับอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเคลื่อนไหว หกใช้เพื่อป้องกันการเมารถ เมาเรือให้รับประทานยาก่อนเดินทาง 30นาทีและใช้แก้คลื่นไส้อาเจียน แพ้ท้อง
ยาอื่นๆ
Cisapride : ออกฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของ ทางเดินอาหาร และมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท cholinergic ทางอ้อม จึงน้ํามาใช้กับผู้ป่วยที่มีการ เคลื่อนไหวของทางเดินอาหารลดลง เนื่องมาจากกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต หรือผู้ป่วยที่ได้รับการ ผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร
กลุ่มยานอนหลับ เช่น diazepam, lorazepam มีฤทธิระงับอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบําบัด ใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม metoclopramide เนื่องจากมี คุณสมบัติลดความวิตกกังวล คลายเครียด
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้อาเจียนโดยรวม
หลีกเลี่ยงการใช้ยา Metoclopramide ในผู้ป่วยลมชักและโรคพาร์กินสัน
ระวังการให้ยาที่เพิ่มความดันในลูกตาแก่ผู้ป่วยโรคตเอหิน
ห้ามให้ยาที่มีฤทธิ์เพิ่มการเคลื่อนไหวทางเดินอาหารในผู้ป่วยลําไส้อุดตัน
ยารักษาแผลในทางเดินอาหาร
ยาป้องกันการทำลายเยื่อบุทางเดินอาหาร
Colloidal bismuth compound
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก: ใช้ในการรักษาแผลทั้งในกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้นได้
ผลข้างเคียง:อาจทําให้ปาก ลิ้น และอุจจาระดํา คลื่นไส้
กลไกการออกฤทธิ์: จับกับแผลในกระเพาะอาหารจึงป้องกันการระคายและการถูกทําลายจากกรดและ pepsin ยาสามารถออกฤทธิได้ดีในภาวะที่เป็นกรดคือ ยายังกระตุ้นการหลั่งPGsเพิ่มการสร้าง mucus และ bicarbonate จึงช่วยลดอาการปวดท้องอย่างรวดเร็ว
Carbenoxolone
กลไกการออกฤทธิ์: พวกชะเอมออกฤทธิ์เพิ่มการสมานแผลทั้งในกระเพาะ อาหารและลําไส้เพิ่มการสร้างการหลั่งและความเหนียวของเมือก ทําให้เซลล์บุทางเดินอาหารคงทนขึ้น
ผลข้างเคียง :บวมน้ํา ความดันโลหิตสูงเนื่องจากยาออกฤทธิ์คล้าย Mosterone สูญเสียโพแทสเซียมทางปัสสาวะ และระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจเนื่องจากยามีผลทําให้เกิดการคั่ง ของโซเดียมอาจเกิดหัวใจวายได้
Sucralfate
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา: ให้รับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงและก่อนนอน เนื่องจาก Sucralfate ต้องอาศัยสภาวะความเป็นกรดในการออกฤทธิ์ ดังนั้น จึงไม่ควรให้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการ หลั่งกรด เช่น H2 blocker หรือ PPIs รวมทั้งยาลดกรด
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก: ใช้ในการรักษา peptic ulcer, ป้องกันการเกิดแผลที่เกิดจากความเครียดและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ
เภสัชจลนศาสตร์: Sucralfate ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจากทางเดินอาหารได้น้อย และถูกขับออกทางอุจจาระ ยาออกฤทธิ์ในกระเพาะอาหารและลําไส้ออกฤทธิ์ ได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดยาออกฤทธิ์ได้นาน6ชั่วโมง จึงสามารถให้ยาขนาด1gวันละ4ครั้ง
ผลข้างเคียงของยา Sucralfate: พบได้น้อย แต่ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ท้องผูก เป็นผลเนื่องจากยามี สารประกอบเชิงซ้อนของยา ที่มีaluminum hydroxide ผสมและอาจพบอาการคลื่นไส้อาเจียน
กลไกการออกฤทธิ์: ออกฤทธิ์โดยจับกับกรดกระเพาะอาหารได้เป็นสารที่มีลักษณะเหนียวข้น เคลือบแผลในทางเดินอาหาร จึงปกป้องแผลจากกรดและ pepsinได้ ทําให้แผลหายเร็วขึ้น
ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ :ยาsucralfate มีผลไปลดการดูดซึมของยาdigowin fluoroquinolone, antibiotics, cimetidine, ketoconazoleและจึงไม่ควรให้ยาเหล่านี้ร่วมกัน
Prostaglandins analogs
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา: ยามีค่าครึ่งชีวิตสั้น คือ 20-40 นาที หากจะให้ผลที่ดีต่อการรักษา จึงควรให้รับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก:ใช้ป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยา NSAIDsในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ใช้ยา NSAIDs พร้อมกันหลายชนิด
กลไกการออกฤทธิ์: ออกฤทธิ์ควบคุมการสร้างเยื่อเมือกใน ทางเดินอาหาร และมีฤทธิ์ยับยั้งการหลังกรดจาก parietal cells ใน กระเพาะอาหารได้
ผลข้างเคียง : ยาจะไปเพิ่มการหลั่งสารคัดหลั่งในทางเดินอาหารมากขึ้น ทําให้ ท้องเสียและปวดท้อง และมีผลทําให้มดลูกบีบตัว อาจทําให้แท้งบุตรได้
ยาที่ใช้ขจัดเชื้อแบคทีเรีย : การเกิดแผลในทางเดินอาหาร หากตรวจพบว่ามี การติดเชื้อดังกล่าว ร่วมกับมีความจําเป็นที่จะต้องได้รับยากําจัด เชื้อ H. pylori มักจะนิยมใช้การรักษาแบบ triple therapy เนื่องจากสามารถลดการเกิด reCurence rate ของแผลในทางเดินอาหารได้ดี
ยาระงับการหลั่งกรด
ยาต้านฤทธิ์ฮีสตามีนชนิดที่ 2
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก :รักษาแผลในทางเดินอาหาร,โรคกรดไหลย้อนและสภาวะที่มีการหลั่งกรดมากกว่าปกติ
ผลข้างเคียง
เมื่อให้ยาเข้าเส้นเลือดดำอย่างรวดเร็ว หัวใจอาจเต้นช้าผิดปกติได้
ยากลุ่มนี้ผ่านรกได้และถูกขับออกทางน้ำนม
อาการข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ อาการสับสน ตื่นเต้นตกใจ พูดไม่ชัด
ผลข้างเคียงที่พบน้อย ได้แก่ ตับอ่อนอับเสบเฉียบพลัน สับสน ซึมเศร้า
Cimetidine มักพบผลข้างเคียงจากยามากกว่ายาตัวอื่น ๆ ในกลุ่ม เช่น ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน ง่วง ซึม ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นคัน
เภสัชจลนศาสตร์ : ยาถูกดูดซึมได้ดีที่ลําไส้เล็ก ส่วนใหญ่มีค่าครึ่งชีวิตสั้น ประมาณ 1-4 ชั่วโมง ระยะเวลาการออกฤทธิ์อยู่ในช่วง6-9 ชั่วโมง(ขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ให้)
ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ
Cimetidine เป็น enzyme inhibitor มีผลยับยั้งเอนไซม์ CYP450 ทําให้ส่งผลรบกวนการออกฤทธิ์ของยาอื่นๆเช่น ทําให้ระดับยา chloroquine, metforminในเลือดสูงขึ้น เป็นต้น
H2 blockerเป็นยาเบสจะไปยับยั้งการขับยาอื่นที่เป็นเบสออกสู่ท่อไต เพราะถูกขับออกด้วย basic pump ชนิดเดียวกัน
กลไกการออกฤทธิ์ :ยากลุ่มนี้มีโครงสร้างคล้ายกับ histamine จึงทําให้ออกฤทธิ์แย่งจับ competitive inhibitor) กับ H2-receptors ที่ parietal cell ของกระเพาะอาหาร จะส่งผลให้ histamine ออกฤทธิ์ได้น้อยลง สามารถป้องกันไม่ให้ gastrin และ ACh ไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดได้ สามารถลดการ หลั่งกรดได้ทั้งในขณะท้องว่างหรือขณะนอนหลับ
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
Famotidine 20 mg (OP) วันละ 2 ครั้ง หรือ 40 mg ก่อนนอน
Nizatidine 150 mg (OP) วันละ 2 ครั้ง หรือ 300 mg ก่อนนอน
Cimetidine400mg(Per Oral:OP)วันละ 2 ครั้งหรือ 800 mg ก่อนนอน
Ranitidine 150 mg (OP) วันละ 2 ครั้ง หรือ 300 mg ก่อนนอน
ยาระงับ proton pump
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก: ยากลุ่มนี้เป็นยาตัวเลือกอันดับแรกในการรักษาโรคที่มีสาเหตุ ส่ยวข้องกับการหลั่งกรดจากกระเพาะอาหาร ได้แก่ แผลในทางเดินอาหาร (peptic ulcer), โรคกรดไหลย้อน econ) และสภาวะที่มีการหลังกรด มากกว่าปกติ
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก: ยากลุ่มนี้เป็นยาตัวเลือกอันดับแรกในการรักษาโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการหลั่งกรดจากกระเพาะอาหาร ได้แก่ แผลในทางเดินอาหาร,โรคกรดไหลย้อนและสภาวะที่มีการหลังกรด มากกว่าปกติ
เภสัชจลนศาสตร์: ยาดูดซึมได้รวดเร็วในทางเดินอาหาร แต่เนื่องด้วยกรดในกระเพาะอาหารอาจจะทําลายยาได้ จึงต้องทําอยู่ในรูปแบบยา enteric-Coated tablets
ผลข้างเคียง :ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างต่ำ แต่อาจทําให้เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง มีผื่นแดงตามผิวหนัง
กลไกการออกฤทธิ์:เมื่อถูกดูดซึมจากลําไส้เล็กส่วนต้นแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นactive formในสภาวะที่เป็นกรดของกระเพาะอาหาร โดยเข้าจับกับ sulfhydry groupกับเอนไซม์ H/K ATPase แบบไม่ผันกลับที่parietal cells ของกระเพาะอาหาร ทําให้เกิดการยับยั้งการทํางานของ proton pump
ยาลดกรด(Antacid)
ยาลดกรดที่ออกฤทธิ์เฉพาะแห่ง
Magnesium hydroxide
เกิดกระบวนการosmotic pressure ทำให้น้ำดึงจากtissueเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้น้ำในstoolมากขึ้น
ผลข้างเคียง
ยาขับออกทางไตได้ดี
ได้รับยาขนาดสูง มีอาการท้องเดินรุนแรง อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่
ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตอาจทำให้เกิดระดับmagnesiumในเลือด
ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกรดเกลือในกระเพาะอาหาร ยาจะถกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้น้อย
Calcaium carbonate
ออกฤทธิ์ลดกรดได้ดี ยาถูกดูดซึมประมาณ15%ปริมาณยาที่ถูกดูดซึมไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและอาหารที่รับประทาน
ผลข้างเคียง
หากได้รับยาเป็นเวลานานและทำการหยุดใช้ยา ทำให้เกิดภาวะการหลั่งกรดมากหลังหยุดใช้ยาหรือผลการเร่งการดูดซึมแคลเวียมเป็นเวลานาน คือ milk alkali syndrome มีอาการทางระบบประสาท สับสน
หากรับประทานยาร่วมกับนมหรือครีม ทำให้มีแคลเซียมคั่งบริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น ไต หรือมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ร่วมกับมีภาวะด่าง
พบบ่อย ท้องผูก อุจจาระแข็ง ทำให้ถ่ายลำบาก ท้องอืด เรอ คลื่นไส้
Aluminum hydroxide
ยาไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกรดเกลือในกระเพาะอาหารได้เกลือและน้ำ ยาไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียง
ใช้เป็นเวลานาน เกิดภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ
รบกวนการดูดซึมของยาอื่นๆ เช่น indomethacin, tetracycline, anticholinergic
มีผลลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องผูก
ยาลดกรดที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุด
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก
อาการปวดหรือไม่สุขสบายในช่องท้องส่วนบน อาการเจ็บแสบยอดอก และภาวะกรดไหลย้อน
ใช้รักษาอาการปวดแสบท้อง แผลในทางเดินอาหาร
ยาลดกรดที่ออกฤทธิ์โดยทั่วไป
ใช้รักษาภาวะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องและไม่เหมาะสำหรับรักษาโรคPUD
ถ้าได้รับเกินขนาดอาจก่อให้เกิดภาวะด่างที่รุนแรง ทำให้มีภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลวที่รุนแรง
ยาลดกรเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะมีส่วนหนึ่งถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมีผลให้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย
ผลทางเภสัชวิทยาของยาดลดกรด
ขนาดที่ให้และสภาวะของกระเพาะอาหารว่ามีอาหารอยู่หรือไม่
เริ่มยับยั้งการทํางานของ pepsin เมื่อ pH ในกระเพาะอาหารมากกว่า 2
ทําให้pHในกระเพาะอาหารสูงขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการลดกรดของยา
การเพิ่ม pH ในกระเพาะอาหารจะไปกระตุ้นการหลั่งกรดและ pepsin เพื่อเป็นการชดเชย
การเพิ่ม pH ในทางเดินอาหารจะกระตุ้นหรือลดการเคลื่อนไหวของลําไส้ขึ้นกับชนิดของยา
ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มลดกรด
ระวังการใช้ยาลดกรดร่วมกับยาชนิดเม็ดที่เคลือบสารป้องกันการแตกตัวจากกรดในกระเพาะอาหาร
ยาลดกรดมีผลทําให้ pH ของปัสสาวะเป็นด่าง ซึ่งจะมีผลทําให้การขับถ่ายยาที่เป็นด่างลดลง
การใช้ยาลดกรดในขนาดสูงๆ จะการหลั่งฮอรืโมนgastrin เพิ่มขึ้น เป็นผลให้มีการหลั่งกรดเกลือมากขึ้น
การใช้ยาลดกรดร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone เช่น
ยาnorfloxacin จะทําให้การดูดซึมยาปฏิชีวนะเหล่านี้ลดลง
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาลดกรดโดยรวม
ในผู้ป่วยที่รับยาลดกรดชนิดAl(OH)เป็นระยะเวลานาน ควรแนะนําให้รับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง ถั่ว งา เป็นต้น
ในผู้ป่วยที่ได้รับรับยาลดกรดชนิด Mg(OH) เป็นระยะเวลานาน ควรติดตามประเมินอาการ
ยาลดกรดอาจมีผลลดการดูดซึมของยาตัวอื่น จึงไม่ควรให้ยาร่วมกับยาตัวอื่น
สังเกตลักษณะการขับถ่ายอุจจาระถ้าเกิดอาการท้องผูกหรืออาการท้องเดิน ควรรายงานแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนชนิดยา
แนะนําวิธีรับประทานยาที่ถูกต้องให้ผู้ป่วยเพื่อให้ผลที่ดีต่อการรักษา เช่น เขย่าก่อนรับประทาน