Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการของกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการออกกฎหมายขึ้นควบคุมการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน
ได้กำหนดความหมายของโรคศิลปะไว้ว่า “การบำบัดโรคทางยาและทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์การช่างฟัน การสัตว์แพทย์การปรุงยา การพยาบาล การนวดหรือการรักษาคนเจ็บป่วยไข้โดยประการใดๆ”
พ.ศ. 2472 มีการแก้ไขโดยการตัดสาขาสัตวแพทย์ออกโดยให้การประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำต่อมนุษย์เท่านั้น จนถึง พ.ศ. 2480 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ซึ่งได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น 2 แผน
แผนโบราณหมายถึง การประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา
แผนปัจจุบัน หมายถึง การประกอบโรคศิลปะอันได้ศึกษาตามหลักทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2518 เพิ่มอีก 2 สาขา คือ กายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้งเพื่อสามารถควบคุมการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
จนกระทั่งในการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 – 31 ตุลาคม 2518 ผู้นำทางการพยาบาลได้พิจารณาเห็นประโยชน์จากการที่แพทย์แผนปัจจุบันได้แยกตัวออกจากการควบคุมของพระราชบัญญัติชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511
พ.ศ.2528 ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2528” และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2528 ดังนั้นกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จึงได้แยกออกจากพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
พ.ศ. 2479 พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็น ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พ.ศ. 2534 คณะกรรมการสภาการพยาบาลมีความเห็นว่า ปัจจุบันสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลง การเจ็บป่วยซับซ้อนขึ้น วิทยาการทางการแพทย์และด้านอื่นๆ ก้าวหน้า ส่งผลให้กฎหมายฉบับนี้ไม่ทันสมัย และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองของประเทศ ตลอดจนกฎหมายบางมาตรามีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้รับการพัฒนาและการยอมรับของประชาชนเช่น การสอบความรู้ในการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และการกำหนดอายุของใบอนุญาตฯ
คณะกรรมการสภาการพยาบาลในสมัยนั้นจึงเห็นควรให้ปรับปรุงสาระสำคัญ ได้แก่ ค่านิยามการพยาบาลและการผดุงครรภ์การกำหนดขอบเขตของการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การสอบขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทุก 5 ปี รวมทั้งปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมและได้เสนอร่างกฎหมายผ่านรัฐสภา จนกระทั่ง “พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528
และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540” ได้ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 75ก วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 จวบจนถึงปัจจุบัน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายพาณิชย์
: เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ ที่ได้กระทำในเรื่องหุ้นส่วน บริษัท ประกันภัย ตั๋วเงิน
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่
เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น
กฎหมายแพ่ง
เป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ที่กำหนดสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกัน
นิติกรรม
หมายถึง
การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล
องค์ประกอบของนิติกรรม
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
ผู้กระทำนิติกรรมต้องแสดงออกใน
ฐานะเอกชน มิใช่เจ้าพนักงานของรัฐ
การกระทำโดยเจตนา
การกระท าอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยใจสมัคร เพื่อให้บุคคลภายนอก
รับรู้ถึงความต้องการหรือเจตนาของตนที่จะทำนิติกรรมตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง
อาจทำโดยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือแสดงกิริยาที่ทำให้เข้าใจอย่างหนึ่งอย่างใด
การแสดงเจตนาโดยปริยาย
เป็นการแสดงเจตนาไม่ชัดแจ้งแต่การกระทำอื่นๆ ที่ทำให้ต่าง
ฝ่ายต่างเข้าใจว่า มีความประสงค์ใดในกิริยาเช่นนั้น
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำที่กฎหมายให้อำนาจบุคคลกระทำได้โดยชัดแจ้ง หรือกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าห้ามกระทำ หากนิติกรรมที่กระทำนั้นขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำที่พ้นวิสัยที่มนุษย์จะทำได้ ให้ถือเป็นโมฆะ กล่าวคือไม่เกิดนิติกรรมที่กระทำตั้งแต่ต้น
นิติกรรมที่ทำขึ้นกับผู้หย่อนความสามารถ จะมีผลเป็นโมฆียะ
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ผลของการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่กรณีตานิติกรรมนั้นๆ
ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว
นิติกรรมที่เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว และมีผลผูกพันทางกฎหมาย
นิติกรรมหลายฝ่าย
นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป และทุกฝ่ายตกลงยินยอมตามข้อตกลง
. นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังไม่มีชีวิต
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน อาทิ สัญญาจ้างงาน สัญญาซื้อขาย
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน อาทิ การให้โดยเสน่หา
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความสามารถของบุคคล (Capacity)
สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ ความสามารถของบุคคลเป็นสิ่งส าคัญต่อการพิจารณาความรับผิดทางกฎหมาย
กฎหมายแพ่งจึงแบ่งสถานะของบุคคลออกเป็น 2 ประเภท
บุคคลธรรมดา
นุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดา ในทางกฎหมายกำหนดให้สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
การตายตามกฎหมายมี 2 กรณี
การตายโดยธรรมชาติ
การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกะ่าตายของบุคคล ทำให้สภาพ
บุคคลสิ้นสุด ก่อให้เกิดผลทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา
การสาบสูญ
การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี ในเหตุการณ์ปกติ
เป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่มีเหตุอันตรายจากการรบ การสงคราม หรือยานพาหนะอับปาง รวมทั้งศาลมีค าสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ
นิติบุคคล
สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
ภายในวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียน ทั้งนี้นิติบุคคลอาจเป็นคนกลุ่มหนึ่ง ทรัพย์สินหรือกิจการประเภทหนึ่งที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ สมาคม
นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นๆ เช่น วัด องค์กรต่างๆ ของรัฐบาล สหกรณ์ตาม พรบ. สหกรณ์ สภาการพยาบาล ตาม พรบ. วิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2540
กฎหมายจึงจำกัดสิทธิของบุคคล ตามความหนักเบาของความหย่อนความหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม
ผู้เยาว์(Minor)
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย บุคคลจะพ้นจากการ เป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะใน 2 กรณี คือ อายุครบ20 ปีบริบูรณ์ หรือการสมรสเมื่อหญิงและชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
นิติกรรมใดๆ ที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม จะเป็นโมฆียะ
กฎหมายยกเว้นให้ผู้เยาว์สามารถกระทำนิติกรรมบางประเภทด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ประโยชน์ สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ หมายถึง นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันใดๆ
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องกระทำเองเฉพาะตัว เช่น การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสมรส
นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานะและจำเป็นแก่การดำรงชีพ หมายถึงนิติกรรมเพื่อการดำรงชีพที่จำเป็น ที่ผู้เยาว์กระทำสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
นิติกรรมการจ าหน่ายทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจการค้า หรือสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตหรือยินยอม ผู้เยาว์สามารถกระทำต่อเนื่องได้
คนไร้ความสามารถ (Incompetence)
คนวิกลจริต หรืออยู่ในภาวะผักที่คู่สมรส ผู้สืบสันดานผู้อนุบาล หรือพนักงานอัยการยื่นเรื่องต่อศาล และศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้สามารถไม่อาจทำนิติกรรมใดๆ หากกระทำนิติกรรมนั้น ถือเป็นโมะียะทั้งหมด
หากจำเป็นต้องทำนิติกรรมใดๆ ผู้อนุบาลต้องเป็นผู้ทำแทน นิติกรรมจึงจะสมบูรณ์
ในบางกรณีคนวิกลจริตบางคน ศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เนื่องจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ได้ร้องต่อศาล การท านิติกรรมใดๆ จะเป็นโมฆียะ
การยกเลิกการเป็นคนไร้ความสามารถกระทำได้ โดยผู้ไร้ความสามารถที่หายวิกลจริตหรือผู้มีสิทธิร้องศาลสั่งครั้งแรก ร้องขอต่อศาล ศาลจะไต่สวนสืบพยาน และเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi – incompetence)
บุคคลที่ศาลจะสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องปรากฎว่าบุคคลนั้นไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง
บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว และศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
ดังนั้นลูกหนี้จึงเป็นผู้หย่อนความสามารถ ไม่สามารถกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน เว้นแต่กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจในการจัดการ จำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้และกระทำการอื่นๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
สามีภริยา
เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันเป็นการทำนิติกรรมบางประเภท เช่น การซื้อขาย แลก
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม
ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทำตั้งแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่กระทำนิติกรรม
สาเหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
โมฆียกรรม
การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ แต่สามารถบอกล้างหรือ
ปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สาเหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมะียกรรมมี 2 ประการ
ความสามารถของบุคคล
การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การบังคับชำระหนี้
เป็นการชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้ หรืองดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
การที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมมากที่สุด โดยการคืนทรัพย์สิน การใช้ราคาทรัพย์สิน
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน มี 2 ประการ
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงินได้ เช่น หมิ่นประมาท
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำหรืองดเว้นการกระทำ โดยจงใจหรือประมาท
ต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต
ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การประทุษกรรม หรือกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม หรือละเว้นการกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายบัญญัติให้กระทำ
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจ หมายถึง การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย ไม่มีสิทธิหรือใช้สิทธิเกินขอบเขต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทำโดยมิได้จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในระดับวิญญูชน
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
การกระทำที่ทำให้บุคคลอื่นขาดประโยชน์ที่เคยได้รับ หรือได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไปภายในของเขตอำนาจของตัวแทน ซึ่งกระทำตามที่ตัวการมอบหมาย
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราว
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ (Malpractice / Professional negligence /Professional misconduct)
การกระทำหรือการพยาบาลโดยขาดความระมัดระวัง หรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอตามวิสัยของวิชาชีพ จนเกิดความเสียหายอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตแก่ผู้ใช้บริการ
สาเหตุของความประมาทอาจเกิดจากการปฏิบัติการพยาบาลเกินขอบเขตวิชาชีพ หรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่หรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้องทำ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ (Failure to follow standard of care)
การประเมินผู้ป่วยแรกรับไม่ครบถ้วน ไม่ซักประวัติการแพ้ยาหรือสารอื่นๆ ไม่สอบถามยาที่ผู้ป่วยได้รับ
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ การแพทย์ไม่ถูกต้อง (Failure to use equipment in a responsible manner)
ไม่ปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่องมือ ไม่ตรวจสอบความปลอดภัยของ
เครื่องมือก่อนนำมาใช้
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร (Failure to communication)
ความบกพร่องด้านการบันทึก (Failure to document)
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ (Failure to assess and monitor)
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย (Failure to act as patient advocate)
บทลงโทษตามกฎหมายอาญาในความผิดฐานประมาทนั้น พิจารณาจากผลของการประมาท
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อันตรายที่มีลักษณะ
เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
แท้งลูก
จิตพิการอย่างเต็มตัว
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
ให้เลือดผิดหมู่ เพราะไม่ตรวจสอบถุงเลือดก่อนให้ ไม่ซักประวัติการแพ้ทำให้ผู้ป่วยเกิด anaphylactic shock หรือประมาทโดยปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขต
กรณีเช่นนี้ผู้กระทำจะได้รับโทษหนักขึ้น คือ จำคุกไม่
เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
เป็นเหตุให้อันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่
เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลคนวิกลจริตหรือผู้ป่วยจิตเวช แต่ไม่ดูแลปล่อยปละละเลยให้ผู้ป่วยออกไปโดยลำพังออกไปก่ออันตรายแก่ผู้อื่นหรือตนเอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ความผิดฐานนี้เกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญาที่ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้ เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการ หรือจิตพิการ
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย (Confidential disclosure)
เปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รู้ความลับผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากการศึกษาอบรม
ทั้งนี้ความผิดฐานเปิดเผยความลับมีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์
เป็นข้อผูกพันหรือหน้าที่ เช่น การออกใบรับรองแพทย์
โรคติดต่อร้ายแรงเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด จำเป็นต้องปกป้องคุ้มครองบุคคลอื่นๆ
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเอง จำเป็นที่แพทย์ต้องเปิดเผยหรือแจ้งเรื่องราวให้แก่ญาติหรือผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ป่วยทราบ
ไม่นำบันทึกรายงานของผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วย
ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยแก่ญาติหรือคนอื่น โดยผู้ป่วยไม่ยินยอม
คำสั่งศาล เช่น ปฏิบัติตามหมายศาลหรือการให้การต่อศาลในฐานะพยาน
ผู้ป่วยรับรู้และยินยอมให้เปิดเผย
การรายงานการทุบตีทำร้ายร่างกายในครอบครัว (Domestic violence)
รายงานบาดแผลที่ผู้ป่วยมารักษา เนื่องจากก่อคดีอาชญากรรม
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในทางกลับกันกฎหมายปกป้องผู้ที่เจตนาดีที่ช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินโดยไม่ประมาท หากเกิดอันตรายผู้กระทำไม่ต้องรับผิดตามหลักที่ เรียกว่า Good Samaritan Act
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
รวมถึงผู้ที่กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น
ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างค ารับรองนั้นโดยทุจริต
ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูก (Induced abortion)
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม
คลินิกรับทำแท้งหรือรับปรึกษาปัญหาครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย ต้องรับโทษ และโทษจะหนักขึ้น หากหญิงที่มาทำแท้งเกิดอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตายทั้งนี้ความยินยอมของหญิงที่ขอทำแท้ง ไม่ใช่เหตุยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม
การทำแท้งตามมาตรานี้เป็นการกระทำที่หญิงตั้งครรภ์ไม่สมัครใจ จึงมีบทลงโทษหนักขึ้น ตามลักษณะการกระทำ
การทำให้ตนเองแท้งลูก
ย่อมมีความผิดและได้รับโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา
กฎหมายอาญาสําหรับพยาบาล
และการกระทําความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญา
มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย รักษาโครงสร้างของสังคมให้มั่นคง คุ้มครองความปลอดภัย รักษาความสงบสุขให้แก่สมาชิกในชุมชน และป้องกันความเสียหายต่อสังคม
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิด และกำหนดโทษอาญาแก่ ผู้ฝ่าฝืน
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
ความผิดประเภทนี้แม้ผู้เสียหายไม่ฟ้องร้องเอง อัยการในฐานะทนายแผ่นดินสามารถดำเนินคดีฟ้องร้องแทนผู้เสียหาย
ความผิดต่อส่วนตัว
ความผิดประเภทนี้ผู้เสียหายเท่านั้นจะฟ้องร้องต่อพนักงานสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนความผิด แล้วส่งเรื่องให้พนักงานอัยการ หลังจากนั้นพนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องคดีต่อศาล
ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระผิด คดีจะขาดอายุความไม่สามารถฟ้องร้องได้
เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้เสียหายไม่มีสิทธ์นำคดีกลับมาฟ้องได้อีก
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
ในขณะที่กระทำผิด ต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
จะเห็นว่าการว่าผู้อื่นจะมีความผิดตามกฎหมาย และถ้าเป็นการฆ่าบุพการี พนักงานเจ้าหน้าที่ ฆ่าโดยมีการไตร่ตรองหรือเตรียมการไว้ก่อน หรือฆ่าโดยการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย ผู้กระทำได้รับโทษเพิ่มขึ้น
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
การถอดความหมายของข้อความหรือศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ
ต้องตีความตามตัวอักษรเท่านั้น ห้ามตีความเกินตัวบท และไม่สามารถนำจารีตประเพณี หรือกฎหมายใกล้เคียงมาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หากขณะกระทำยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่าการการกระทำอย่างเดียวกันนั้นจะเป็นความผิด
ศาลหรือผู้พิพากษาจะนำกฎหมายใหม่มาใช้บังคับลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
กฎเกณฑ์นี้เป็นหลักสำคัญของกฎหมายอาญาที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และการลงโทษบุคคลใด ต้องมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าบุคคลกระทำผิดจริง
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา
การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกัน
ผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
การกระทำโดยประมาท (Negligence)
การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
วิสัย
ลักษณะที่เป็นอยู่ของบุคคลผู้กระทำ หรือสภาพภายในตัวผู้กระทำ
พฤติการณ์
ข้อเท็จจริงประกอบการกระท าหรือเหตุภายนอกของผู้กระทำ เช่น สภาพแวดล้อม แสงสว่าง ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
การกระทำโดยไม่เจตนา
การกระทำที่ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และไม่คาดคิดว่า
จะเกิดจากการกระทำนั้น
การกระทำ
การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึกและอยู่
ภายใต้การบังคับของจิตใจ
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็น
เป็นการกระทำเพราะเหตุถูกบังคับ หรืออยู่ภายใต้อำนาจ
ของใครหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
บุคคลกระทำผิดขณะที่ไม่สามารถรับผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตใจว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
เนื่องจากกฎหมายถือว่าเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะแยกผิดชอบชั่วดีได้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
บางความผิดระหว่างสามี ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
เหตุยกเว้นความรับผิด
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
ความผิดทางอาญาบางประเภท หากผู้เสียหายยินยอมให้กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่บุคคลจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่น ให้พ้นจากอันตรายจากการประทุษร้ายที่ใกล้ถึงตัว
เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อไม่ต้องรับโทษไม่ได้ แต่กฎหมายยอมให้บุคคลยกความไม่รู้นี้ขึ้นเป็นเหตุของการขอลดหย่อนโทษได้
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
การที่บุคคลกระทำความผิด เพราะความกดดันจากการถูกข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมจนเป็นเหตุให้บันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ
เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีความดีมาก่อน รับสารภาพผิด
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป
อายุความ 20 ปี ส าหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ 20 ปี และ อายุความ 1 ปีสำหรับความผิดลหุโทษ
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รูเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิต
สำหรับบุคคลที่อายุต่ ากว่า 18 ปี ที่กระทำความผิดและระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นจำคุกห้าสิบปี
เป็นโทษสูงสุด สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
โทษจำคุก
เป็นโทษจำกัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจำ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษกักขัง
เป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง
โทษปรับ
การชำระเงินต่อศาลตามจำนวนที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษริบทรัพย์สิน
ทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้ในครอบครองเป็นความผิด
ทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวข้องกับสินบนของเจ้าพนักงาน
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด