Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 2 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ, นางสาวรัชนีกร พันชน…
หน่วยที่ 2 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
คนไทยมีอัตราการเกิดที่ลดลง วัยแรงงานลดลงแต่คนแก่มีมากขึ้น ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2564 และเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร จากรูปสามเหลี่ยมฐานกว้างยอดแคบ เป็นรูปคล้ายทรงกระบอกมากขึ้น
แนวทางการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ
กลุ่มติดบ้าน
เยี่อมบ้านเพื่อประเมินสภาพปัญหา และความต้องการ ให้บริการสม่ำเสมอ และตรวจคัดกรองสุขภาพ
กลุ่มติดเตียง
ดูแลช่วยเหลือในเรื่องกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร เคลื่อนไหว พลิกตะแคงตัว การขับถ่าย และดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล
กลุ่มที่ช่วยตนเองได้ดี(ติดสังคม)
ส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาความสามารถในการใช้ศักยภาพ และภูมิปัญญา
หลักการการดูแลผู้สูงวัย
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของจตุพลัง “ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชุมชน และท้องถิ่น”
เน้น “การสร้าง นำซ่อม” ประคับประคองให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองให้ได้นานที่สุด
สร้างสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข
เตรียมความพร้อมในระบบเศรษฐกิจ สังคม และบริการสุขภาพ
ผู้สูงอายุเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม ต้องไม่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเป็นภาระสังคม
สิทธิตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ม.11)
มาตรา 11 ข้อ 6 การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม
การลดหย่อนค่าโดยสารยานพาหนะ
ไม่ต้องเข้าแถวรอซื้อตั๋ว มีที่นั่งรอรับตั๋ว
พนักงานช่วยยกสัมภาระ
มาตรา 11 ข้อ 7 การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐที่ปกติมีการเก็บเงินค่าเข้าชม เช่น อุทยานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สวนสัตว์
มาตรา 11 ข้อ 5 การอำนวยความสะดวกและปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุ ในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น
การจัดพาหนะอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ
มาตรา 11 ข้อ 8 การช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิ้ง
ให้คำแนะนำ ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือ ช่วยเหลือเงินเบื้องต้นไม่เกิน 500 บาท/ครั้ง
จัดที่พักให้ในสถานที่ปลอดภัย/เหมาะสม
ฟื้นฟูร่างกาย/จิตใจ เตรียมความพร้อมของครอบครัว
มาตรา 11 ข้อ 5 การอำนวยความสะดวกและปลอดภัยโดยตรง แก่ผู้สูงอายุ ในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น
การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย
สร้างชุมชนน่าอยู่สำหรับสังคมผู้สูงวัย (Age friendly community)
ส่งเสริมบ้านปลอดภัยวัยเกษียณ
มาตรา 11 ข้อ 9 การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้คำแนะนำ และปรึกษาดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้คำแนะนำ ปรึกษา และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว
มาตรา 11 ข้อ 4 การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมภายในชุมชน และส่งเสริมการใช้ศักยภาพ เช่น กีฬาผู้สูงอายุ
มาตรา 11 ข้อ 10 การจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเบื้องต้น และให้บริการผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์
มาตรา 11 ข้อ 3 การประกอบอาชีพและการฝึกอาชีพที่เหมาะสม
การส่งเสริมการฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
มาตรา 11 ข้อ 2 การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
จัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และให้มีหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงขั้นอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 11 ข้อ 12 การขอรับเงินสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี (รายละ 2,000 บาท)
ยื่นแบบคําขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกใบมรณบัตรต่อ สํานักงานเขตท้องที่ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
คุณสมบัติผู้สูงอายุที่เสียชีวิต
อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
สัญชาติไทย
มาตรา 11 ข้อ 1 การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ
จัดช่องทางพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ
บริการสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care)
การเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินอาการ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และเหตุผลที่ไม่มาตามนัด
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage : UC)
คือ รักษาความเจ็บป่วยทั่วไป ทางกาย จิตใจ ฟื้นฟูสุขภาพ คัดกรองต้อกระจก(ไม่รวมแว่นสายตา) วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ทำฟันปลอมทั้งปาก เพื่อการบดเคี้ยวอาหาร การเยี่ยมและบริการที่บ้าน ดูแลวาระสุดท้าย Palliative Care ที่บ้าน
บริการที่ไม่คุ้มครอง
การรักษาภาวะมีบุตรยาก เปลี่ยนเพศ/ความสวยงาม ตรวจวินิจฉัยและรักษาที่เกินความจำเป็น การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถ การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด โรคที่ใช้ระยะเวลารักษาตัวเกิน 180 วัน(ยกเว้น กรณีพิเศษ) การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ Transplantation) ยกเว้น ไต ตับในเด็ก หัวใจ
มาตรา 11 ข้อ 13 การจัดบริการสถานที่ท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมกีฬา และนันทนาการตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติประกาศกำหนด
มาตรา 11 ข้อ 11 จ่ายเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
มีภูมิลําเนาตามทะเบียนบ้าน
มีสัญชาติไทย
ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐ
การจัดสวัสดิการด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุ
กองทุนผู้สูงอายุ
ให้บริการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ
ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหา
ให้การสนับสนุนโครงการ
เงินช่วยเหลืผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส และเดือดร้อน
กองทุนสวัสดิการชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ศูนย์สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม
สถานสงเคราะห์คนชรา
ไม่เป็นผู้พิการหรือสติฟั่นเฟือน และมีโรคเรื้อรัง
ไม่อยู่ในระหว่างดำเนินคดีทางกฎหมาย
สัญชาติไทย อายุ 60 ปีขึ้นไป สมัครใจ
เดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดผู้ดูแล อยู่กับครอบครัวไม่มีความสุข
อุปการะตลอดชีพแก่ผู้สูงอายุที่ไร้ญาติ ไม่มีที่พักอาศัย
ประเภทเสียค่าบริการรายเดือน
ประเภทพิเศษ : ปลูกสร้างเอง
ประเภทสามัญ : ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บ้านพักฉุกเฉิน
ไม่มีที่พักอาศัยระหว่างรอเข้ารับอุปการะ รอพบแพทย์ รอส่งกลับภูมิลําเนา
ไม่มีผู้ดูแลเนื่องจากบุตรหลานไปทําธุระที่อื่น
พลัดหลงโดยหน่วยงานต่างๆนำส่ง
มีปัญหาด้านจิตใจ ต้องห่างจากครอบครัวระยะหนึ่ง
ชั่วคราวไม่เกิน 15 วัน**
โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ โดยอสม. เพื่อนบ้าน
ลดหย่อนภาษีสำหรับผู้เลี้ยงดูบิดา-มารดา
บุตรชอบด้วยกฎหมาย และได้แค่บุตรคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
ลดหย่อนบิดามารดาตนเอง และคู่สมรสได้ 30,000 บาท/คน
บิดามารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ดูแลรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
ผู้มีเงินได้ลดหย่อนตัวเองไม่ได้ แต่สามารถซื้อ และใช้สิทธิบิดามารดาได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ไม่มีเงื่อนไขบิดามารดาต้องมีอายุ 60ปีบริบูรณ์
นางสาวรัชนีกร พันชน 61106010117