Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สังคมชมพูทวีป - Coggle Diagram
สังคมชมพูทวีป
-
-
ด้านการเมืองการปกครอง
สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีปมักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม คือ พระราชวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และประชาชนมีสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ผู้ปกครองทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญให้สละราชสมบัติได้ อาจทูลเชิญให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กษัตริย์ในสมัยนั้นจึงยังไม่มีอำนาจมาก ครั้นต่อมาถึงสมัยพุทธกาล จึงมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธราชหรือราชาธิปไตย คือ พระราชาทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง
สมัยก่อนพุทธกาล ผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้ปกครองนั้นเรียกกันว่า มหาราชบ้าง ราชาบ้าง ราชัญญะบ้าง และการปกครองก็ยังมิได้มีการกำหนดเขตการปกครองอย่างเป็นระเบียบและเป็นแคว้นต่างๆ หลายสิบแคว้นตามที่ระบุในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 มีทั้งหมด21 แคว้น โดยแบ่งเป็นแคว้นใหญ่ 16 แคว้น และแคว้นเล็กๆ 5 แคว้น
แคว้นแต่ละแคว้น เรียกว่า ชนบท เฉพาะแคว้นที่มีอาณาเขตกว้างขวาง เรียกว่า มหาชนบท ชนบทเหล่านี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง เรียกว่า มัชฌิมชนบท หรือ มัธยมประเทศ ส่วนที่ เป็นหัวเมืองชั้นนอก เรียกว่า ปัจจันตชนบท
-
ชมพูทวีปเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา ศัพท์คำว่า ชมพูทวีป นี้ แปลว่า เกาะแห่งต้นหว้า สันนิษฐานว่า ในอดีตอาจมีต้นหว้ามากมายในดินแดนแห่งนี้ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามานั้น เดิมเป็นถิ่นของพวกดราวิเดียน เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนพุทธกาล พวกอารยันซึ่งเป็นชนผิวขาวได้อพยพเข้ามายึดครองดินแดนส่วนที่อุดมสมบูรณ์ของชมพูทวีป ไล่ชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคา ส่วนพวกอารยันก็ได้เข้าครอบครองดินแดนตอนเหนือ ได้แก่ ภาคเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า มัชฌิมชนบท หรือ มัธยมประเทศ พวกอารยันเมื่อเข้ามายึดครองดินแดนชมพูทวีปแล้ว ได้เรียกชนพื้นเมืองหรือดราวิเดียนว่า ทัสยุ หรือ ทาส หรือ มิลักขะ ซึ่งแปลว่า ผู้เศร้าหมอง ผู้มีผิวสีดำ หรือเรียกว่า อนาริยกะ แปลว่า ผู้ไม่เจริญ ได้เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ อริยกะ ซึ่งแปลว่า ผู้เจริญ ทั้งพวกอารยันและพวกมิลักขะ
-
-