Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไฟไหม้น้ำร้อนลวก(Burn And Scald), ดาวน์โหลด (1) - Coggle Diagram
ไฟไหม้น้ำร้อนลวก(Burn And Scald)
การประเมินสภาพ
ก. ประเมินความลึก
ระดับสอง(Second degree) มีการทำลายของผิวหนังบางส่วนเช่นกัน แต่ลึกถึงผิวหนังชั้นใน คือ ต่อมเหงื่อและรูขุมขนจะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้นมีผิวหนังพอง และมีน้ำเหลืองซึม เด็กจะปวดแสบปวดร้อนมาก แผลถูกลวกอาจถูกทำลายถึงระดับนี้ได้ บาดแผลจะหายภายใน2-6สัปดาห์ ขึ้นกับความลึกของบาดแผล ไม่มีแผลเป็น แต่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว
ระดับสาม(third degree) ชั้นของผิวหนังจะถูกทำลายทั้งหมด บาดแผลจะลึกมากถึงชั้นหนังแท้ และอาจลึกถึงชั้นไขมัน ชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก แผลเป็นสีขาว น้ำตาล และไหม้ดำ แต่ไม่เจ็บปวด เพราะปลายประสาทถูกทำลาย แผลชนิดนี้ไม่สามารถหายได้เอง ต้องใช้การปลูกถ่ายผิว และการงอกของเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลานานเป็นเดือน ทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้
ระดับหนึ่ง(First degree burn) เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังถูกทำ บางส่วนเป็นชั้นตื้น มีเฉพาะอาการผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อนเท่านั้น เช่น บาดแผลที่เกิดจากถูกน้ำร้อนลวก ถูกแสงแดดเผา ปวดจะหายใน 48-72 ชั่วโมง ส่วนบาดแผลหายภายใน2-5 วัน
ข.ประเมินความกว้าง
Lund and Browder's chart ซึ่งคิดสัดส่วนของพื้นที่ร่างกายตามอายุของเด็ก หรือพื้นที่บาดแผลได้อย่างคร่าวๆโดยถือว่า1ฝามือของเด็กเท่ากับร้อยละ1 ของพื้นที่ผิวของร่างกายทั้งหมด
ค.ตำแหน่งบาดแผล
บาดแผลบริเวณใบหน้า คอ บริเวณที่ต้องให้ความสำคัญแม้จะบริเวณไม่กว้างแต่มีอันตราย
ปัจจัยส่งเสริมความรุนแรงของการเกิดแผลไหม้
ความลึกของแผลไหม้(Depth of burn)
ความกว้างหรือขนาดของแผลไหม้(Extent of burn)
อายุ(Age)
ส่วนของร่างกายที่ถูกไหม้(Partof body burn)
บาดเจ็บร่วม(Concurrent injury)
ความเจ็บป่วยเดิม(Past medical history)
ประเภทของแผลไหม้(Type of burn)
การช่วยเหลือในที่เกิดเหตุ
1.กำจัดสาเหตุของความร้อนที่เผาไหม้หรือลวกตัวเด็ก ถอดเสื้อผ้า พร้อมเครื่องประดับที่ได้รับความร้อนออก ถ้าถูกสารเคมีให้ล้างด้วยน้ำมากๆ ถ้าถูกไฟดูดต้องตัดทางเดินกระแสไฟก่อน
2.ใช้น้ำเย็น8-23องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรใช้น้ำแข็ง ประคบหรือชะโลม จะช่วยลดการทำลายของเนื้อเยื่อ ลดอาการปวดได้ ทำภายในเวลา 30 นาทีหลังถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก แต่ต้องระวังในเด็กที่มีบาดแผลกว้างมาก
3.ใช้น้ำสะอาดล้างตัวและบาดแผลได้ แต่ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสารอื่น ๆ เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้นและเกิดการติดเชื้อได้ และขณะนำโรงพยาบาลควรใช้ผ้าสะอาดห่อตัวเด็กด้วยเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและให้ความอบอุ่น
ปัญหา
เสี่ยงต่อการไหลเวียนเลือดล้มเหลวและเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ จากการที่มีการเคลื่อนของสารน้ำออกนอกหลอดเลือด
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการบวมของทางเดินหายใจ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายและภูิคุ้มกันลดต่ำลง