Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหักและข้อเคลื่อน(Fracture and - Coggle Diagram
กระดูกหักและข้อเคลื่อน(Fracture and
ความหมาย
ข้อเคลื่อนหมายถึง ภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากที่ที่จะอยู่ หรือกระดูกหลุดออกจากเบ้า ซึ่งการบาดเจ็บของข้อและกระดูกยังส่งผลให้เนื้อเยื่อที่อยู่รอบกระดูก หลอดเลือด น้ำเหลือง และเส้นเอ็นได้รับอันตรายด้วย
กระดูกหักหมายถึง ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกแยกออกจากกัน อาจเป็นการแตกแยกโดยสิ้นเชิง หรือเป็นเพียงบางส่วน หรือเป็นเพียงการแตกร้าว
การหักของกระดูก
กระดูกต้นแขนหัก(fracture of humerus)
ในทารกแรกเกิดมักเกิดในรายที่คลอดติดไหล่แล้วผู้ทำคลอดสอดนิ้วมือเข้าไปเกี่ยวออกมา ส่วนในเด็กโตอาจเกิดการหกล้มแล้วต้นแขน ข้อศอกกระแทกพื้นโดยตรง จะพบหัวไหล่เด็กบวม ซ้ำ เวลาจับไหล่หรือแขนให้มีการเคลื่อนไหวจะเจ็บปวด
การหักของกระดูกบริเวณนี้ เคลื่อนแยกออกจากกันไม่มาก อาจให้ห้อยแขนข้างที่หักไว้ ด้วยผ้าคล้องแขนนานประมาณ2-3 สัปดาห์
กระดูกไหปลำร้ำหัก(fracture of clavicle)
มีการหักมากที่สุด เกิดกับเด็กได้มากที่สุด โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า10 ปี มักเกิดจากการหกล้ม แขนเหยียดตรงเอาข้อมือเท้าพื้นแรง หรือหกล้มโดยด้านข้างของไหล่กระแทกพื้น หรือถูกของแข็งกระแทกไหล่
มีอาการปวดบริเวณไหล่ เด็กอาจหัวไหล่ตกและก้มมาข้างหน้า อาจสังเกตเห็นก้อนนูนที่กระดูกไหปลาร้า ซึ่งเป็นการโก่งงอของกระดูกร่วมกับ มีก้อนกระดูกเกิดขึ้นใหม่บริเวณกระดูกหัก
ในเด็กอายุมากกว่า3ปี อาจใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องคอ ห้อยแขนให้ข้อศอกงอ90 องศาเช่นกันและพันแขนให้ติดกับล าตัวด้วยผ้ายืดนานประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือพันไหล่ด้วยถุงผ้าที่มีสำลีเป็นไส้ในให้แน่นพอสมควรเป็นรูปเลข8เป็นการป้องกันไม่ให้กระดูก เคลื่อนไหวแยกห่างมากขึ้นและช่วยลดอาการปวด
การรักษา
จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง มีน้อยรายที่จะใช ผ่าตัด ในทารกและเด็กเล็กจะตรึงแขนข้างที่หักให้อยู่นิ่งโด ข้อศอกงอ90 องศา ให้ติดกับลำตัว พันนาน10-14วัน
กระดูกต้นขำหัก(fracture of femur)
แก้ไขโดยในรายที่อายุต่ำกว่า3ปี ถ้าชิ้นกระดูกที่หักเคลื่อนออกจากกันไม่มาก ให้ใส่เฝือกขาแบบยาวนาน3-4 สัปดาห์ แต่ถ้ากระดูกหักเคลื่อนแยกจากกันมากให้รักษาด้วยวิธีBryant’s traction หรือGallow’s traction
พบได้ในทุกวัยโดยเฉพาะในช่วงอายุ2-3ปี ส่วนมากจะเกิดกับเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง เพราะซุกซนกว่า ตำแหน่งที่พบการหักบ่อยคือช่วงกลางของกระดูกต้นขา เด็กจะปวดบริเวณขาข้างที่หัก บวมตำแหน่งกระดูก
การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส (pulled elbow)
เป็นการเคลื่อนที่ของหัวกระดูกเรเดียส ออกมาจากข้อradio-humeral ไม่หมด เกิดได้บ่อยในเด็กอายุต่ำ6ปี อาจเกิดเนื่องจากในขณะจูงมือเด็ก หยอกล้อ ดึงแขนหรือหิ้วเด็กขึ้นมาตรง ๆ ในขณะที่ข้อศอกและแขนท่อนปลายคว่ำมือ เด็กจะร้องปวด งอและเหยียดข้อศอกไม่ได้
ให้ตรึงโคนแขนของเด็กไว้ที่บริเวณเหนือข้อศอกด้วยมือหนึ่ง จับแขนท่อนปลายเด็กไว้ด้วยมืออีกข้างที่ถนัดแล้วค่อยๆหงายมือขึ้นและงอข้อศอกจะได้ยินเสียงกรึ๊บแสดงว่าข้อกลับเข้าที่แล้ว
กระดูกปลายแขนหัก
พบบ่อยในเด็กหัดเดินไปจนถึงวัยรุ่น ส่วนมากเกิดจากแรงกระทำำทางอ้อม เช่น มือเท้าพื้น ตกจากที่สูง ซึ่งตำแหน่งของกระดูกแขนท่อนปล คือบริเวณปลายล่างๆ
ส่วนมากกระดูกปลายแขนหักในเด็กมักเป็นหักแบบไม่แยกจากกันโดยสมบูรณ์ ให้วางแขนเด็กให้ราบบนโต๊ะ ให้มุมโก่งอยู่ด้านบนแล้วใช้แรงกดให้แนบกับพื้นโต๊ะ เนื่องจากกระดูกส่วนที่ยังเชื่อมคาอยู่มีคุณสมบัติคล้ายสปริงแต่ถ้าหักผ่านเข้าข้อต้องผ่าตัดใส่เครื่องยึดดาม
ปัญหาที่พบ
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่มเติม เนื่องจากการทิ่มแทงของกระดูก
ประเมินลักษณะอาการบาดเจ็บที่ได้รับ ดู คลำ การยกขึ้น การงอ เหยียด
เคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง
จัดกระดูกให้เข้าที่และอยู่นิ่งตามแผนการรักษา เช่น การเข้าเฝือกปูน การดึงกระดูก ผ่าตัด