Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
7.พระพุทธศาสนากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ - Coggle Diagram
7.พระพุทธศาสนากับหลักการทางวิทยาศาสตร์
7.1หลักพุทธศาสนาและหลักวิทยาศาสตร์
คือ หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการของวิทยาศาสตร์มีทั้งส่วนที่สอดคล้อง และส่วนที่แตกต่างกัน
7.1.1ด้านความเชื่อ
1.หลักการวิทยาศาสตร์ ถือหลักว่า จะเชื่ออะไรนั้นจะต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน เชื่อในเหตุผลและต้องมีหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล
หลักการทางพระพุทธศาสนา มีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ได้สอนให้มนุษย์เชื่อและศรัทธาอย่างงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ แต่สอนให้ศรัทธาในอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ที่จะก่อให้เกิดการแก้ทุกข์แก้ปัญหาชีวิต สอนให้มนุษย์นำเอาหลักศรัทธาโยงไปหาการพิสูจน์ด้วยประสบการณ์ ด้วยปัญญา และด้วยการปฏิบัติ ดังหลักของความเชื่อใน “กาลามสูตร”
7.1.2ด้านความรู้
วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์ความอยากรู้อยากเห็นและแสวงหาคําอธิบาย เช่น กลุ่มที่มุ่งแสวงหาความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) และกลุ่มที่มุ่งแสวงหาความรู้ที่จะนำมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)
7.3 การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนากับการคิดแบบวิทยาศาสตร์
การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นการศึกษาถึงวิธีการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า วิธีการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ มีดังนี้คือ (พระราชวรมุนี. 2540 : 43-46)
ขั้นกำหนดรู้ทุกข์ การกำหนดรู้ทุกข์หรือการกำหนดปัญหาว่าคืออะไร
ขั้นนิโรธ ได้แก่ความดับทุกข์ หรือสภาพที่ไร้ปัญหา ในขั้นนี้ต้องตั้งสมมติฐานว่าสภาพไร้ปัญหานั้นคืออะไร เข้าถึงได้หรือไม่
ขั้นสืบสาวสมุทัย ได้แก่เหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา แล้วกำจัดให้หมดไป สาเหตุของปัญหาที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้คือ ตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
ขั้นเจริญมรรค ได้แก่ ทางดับทุกข์ หรือวิธีแก้ปัญหา ซึ่งเรามีหน้าที่ลงมือทำ ขั้นนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ขั้นย่อย คือ
7.2 ความแตกต่างของหลักการพระพุทธศาสนากับหลักการทางวิทยาศาสตร์
หลักการทางวิทยาศาสตร์
2.หลักการทางวิทยาศาสตร์ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติและหาทางควบคุมธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอกมุ่งแก้ปัญหาภายนอกการทดลองทาวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่นำมาแสดงให้สาธารณชนประจักษ์ชัด
มุ่งเข้าใจปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหลักการทางวิทยาศาสตร์มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผล
3.ยอมรับโลกแห่งสสาร (Matter) ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้มีอยู่ต่างหากจากตัวเรา และสะท้อนขึ้นในจิตสำนึกของคนเราเมื่อได้สัมผัสมัน
หลักการทางพระพุทธศาสนา
1.พระพุทธศาสนาเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากกว่ากฎเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้ชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือ สอนให้คนเป็นคนดีขึ้น
3.คิดทางพระพุทธศาสนานี้ ชี้ว่าสัจธรรมสูงสุด (นิพพาน) ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา ไม่สามารถรับรู้ได้ พระพุทธศาสนาแบ่งสิ่งที่มีอยู่จริงของสองพวกใหญ่ ๆ คือ “สังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) ได้แก่ สสารและ “อสังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง) คือ นิพพาน วิทยาศาสตร์ยอมรับว่าสังขตธรรมมีจริง แต่อสังขตธรรมอยู่เหนือการรับรู้ของวิทยาศาสตร์
2.หลักการพระพุทธศาสนาเป็นการทดสอบความรู้สึกทุกข์ หรือไม่เป็นทุกข์ ไม่สามารถตีแผ่ให้สาธารณชนประจักษ์ด้วยสายตา แต่พิสูจน์ทดลองได้ด้วยความรู้สึกในจิตใจ และหลักการพระพุทธศาสนาไม่ได้เน้นในเรื่องให้สาธารณชนยอมรับหรือไม่ยอมรับ
4.คำสอนทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุข เป็นลำดับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงความสงบสุข อันสูงสุดคือนิพพาน ฉะนั้นกระบวนการปฏิบัติ
ธรรมในพุทธศาสนาจึงส่งเสริมให้มนุษย์อนุรักษ์ธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม