Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการโรคที่พบบ่อย, นางสาวพรรณธิวา สิ่วสำแดง รหัส:601410019-8 - Coggle…
กลุ่มอาการโรคที่พบบ่อย
โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
อาการ
มักแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้
อาการเจ็บมักร้าวไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายมักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที
อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนอาจมีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย ร่วมด้วย
การรักษา
การใช้ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งชนิดอมใต้ลิ้น, ยารับประทาน และให้ทางหลอดเลือดดำ
การให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกร็ดเลือดแข็งตัว เช่น แอสไพริน
การให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจน
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือการเดิน เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
Hyperventilation syndrome
วินิจฉัย
ต้องแยกออกจากสาเหตุทางกายอื่นๆ
เช่น การติดเชื้อ โรคทางระบบประสาท หอบหืด เป็นต้น
การรักษา
พูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ป่วย
รับฟังปัญหาของผู้ป่วย
พัก
หายใจในถุงกระดาษ
พบจิตแพทย์
กล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงและกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ ( Myofascial pain and costrondritis)
อาการ
อาจเจ็บทั่วๆไปไม่รู้ตำแหน่งชัดเจน
ถ้า เป็นจากกล้ามเนื้ออย่างเดียว มักจะปวดแบบตื้อๆ เสียวๆ
เป็นมากขึ้นเวลาหายใจเข้าแรงๆ
มักจะรู้สึกหายใจขัดๆและเหมือนหายใจไม่สุดหรือหายใจไม่อิ่ม
โรคในกลุ่มนี้เราจะแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.Isolated musculoskeletal chest pain syndromes
2.กลุ่ม Rheumatic disease
3.กลุ่มnonrheumatic systemic disease
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มักมีประวัติว่าออกกำลังกายมาก
โดยเฉพาะการยกของหนัก เล่นเวท แต่
โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
กระดูกอ่อนของซี่โครงอักเสบ (COSTOCHONDRITIS)
เจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลันและเจ็บได้มาก ๆ
จนนึกว่าหัวใจขาดเลือด ข้อแตกต่างคือ บริเวณที่อักเสบเวลาจับต้องแล้วจะปวด
ในขณะที่หัวใจขาดเลือดจะเจ็บกินบริเวณกว้างกว่าและกดไม่เจ็บ
รักษาโดยพัก ใช้ยาบรรเทาปวด ใช้ความร้อนประคบ
เจ็บกล้ามเนื้อหน้าอกจากการไอมาก ๆ การบาดเจ็บของซี่โครงหรือกล้ามเนื้อหน้าอกช้ำ
ลักษณะเฉพาะของอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากการการอักเสบของผนังทรวงอก เเรียกว่า musculoskeletal chest pain
นางสาวพรรณธิวา สิ่วสำแดง รหัส:601410019-8