Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม - Coggle Diagram
การดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม
หลักการอันเป็นข้อบังคับ
จะต้องรู้ จะต้องประพฤติ เริ่มตั้งแต่อายุ 3ขวบเป็นต้นไป
หลักศรัทธา ความเชื่อในศาสนา
ศรัทธาในพระเจ้าเป็นฐาน ต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเจ้า คือ พระอัลลอฮ์
ศรัทธาในมลาอิกะฮ์
ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต
ศรัทธาในพระคัมภีร์อัลกุรอาน
ศรัทธาในวันกียามะฮ์หรือ วันปรโลก
ศรัทธาในการลิขิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า
หลักปฏิบัติหน้าที่ในศาสนา (อิบาดะห์)
การปฏิญาณตนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม
การละหมาด หรือ สวด 5 เวลาต่อวัน
เวลาย่ำรุ่ง
เวลากลางวัน
เวลาเย็น
เวลาพลบค่ำ
เวลากลางคืน
การถือศีลอด
เพิ่มพูนภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ทาให้ร่างกายเคยชินกับความหิว และการรับประทานอาหารตรงตามเวลาใน 24 ชั่วโมง
รับประทานอาหารสองมื้อ คือ มื้อตอนดึกถึงก่อนฟ้ารุ่งสาง และมื้อค่าตอนเมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้า
การบริจาคศาสนทานซะกาต
การประกอบพิธีฮัจญ์
หลักคุณธรรม (อิห์ซาน)
เป็นหลักเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม
ฮาลาล Halal คือ การกระทำที่อนุญาต
ฮารอม Harom Harom คือ การกระทำที่ต้องห้าม
การแต่งกาย การปกปิดส่วนควรสงวนของร่างกาย
เพศชาย ให้ปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า
เพศหญิง ให้ปิดทั้งร่าง ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ
ทุกคนต้องเรียนรู้หลักการของศาสนาอิสลาม ไม่มีขอยกเว้นเป็นหน้าที่พึงปฏิบัติ
พิธีสุหนัต
เด็กชายมุสลิมอายุระหว่าง 2-10 ขวบ จะต้องไรด้รับพิธีสุหนัต
การตัดหนังหุ้มปลายองคชาติ
ทั้งเป็นธรรมเนียมเบื้องต้นเพื่อประโยชน์สำหรับการแต่งงาน
ปัจจุบันนี้ เมื่อไปคลอดที่โรงพยาบาลอาจจะให้แพทย์ที่ทำคลอดทารกเพศชาย ตัดหนังหุ้มปลายองคชาตของทารกนั้น เป็นการทำพิธีสุหนัตด้วยเลยก็ได้
พิธีถือศีลอด
ชาวมุสลิมปฏิบัติในเดือนรอมฎอนตลอด 1เดือน
เป็นการอดอาหารการดื่มกินและเว้นการร่วมประเวณี และการทำชั่วต่างๆ อย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษในช่วงถือศีลอด
มุสลิมทุกคนควรจะได้ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด (ยกเว้นผู้ป่วย / มีประจาเดือน / สตรีมีครรภ์)
การบริจาคศาสนทาน “ซะกาต”
การจ่ายทรัพย์สินส่วนเกินจานวนหนึ่งที่มุสลิมต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเมื่อครบปี
ถ้ามุสลิมคนใดมีทรัพย์สินเงินทองหรือสินแร่ที่เหลือใช้ในรอบปี แล้วไม่ทาการบริจาคผู้นั้นเป็นบุคคลหนึ่งที่ทาผิดบทบัญญัติของอิสลาม
พิธีฮัจญ์
สำหรับชาวมุสลิมผู้มีฐานะดีมีสุขภาพดีบรรลุศาสนภาพโดยผู้ที่ควรไปเข้าร่วมปฎิบัติในพิธีฮัจญ์ ได้แก่ ผู้ชายอายุ 15 ปี และผู้หญิง 19 ปี
การประกอบพิธีฮัจญ์
คือการเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย
ฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายเฉพาะอันหนึ่งในแง่กฎหมายของอิสลาม ถือเสมือนว่าเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมทั่วโลก
เป็นสถานที่พบปะระหว่างมุสลิม กำหนดเวลาของการไปทาพิธีฮัจญ์ในปีหนึ่งๆ มุสลิมทั่วโลกจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกัน 1 ครั้ง
แนวคิดสำคัญ:ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไป
ห้ามทาแท้ง การทาแท้งจะทาไรด้ในกรณีจาเป็นที่ต้องรักษาชีวิตของแม่
การขลิบอวัยวะเพศชายเป็นเรื่องที่แนะนาให้ปฏิบัติ
การช่วยให้ฆ่าตัวตายหรือการุนฆาตเป็นเรื่องต้องห้าม
การผ่าศพชันสูตรเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ยกเว้นเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย
หลังคลอดจะมีการขอรกเอาไปฝังต้องแจ้งให้ทราบ หากมีข้อจากัดไม่สามารถให้นำรกไปได้
การให้บริการทางการแพทย์และพยาบาล
จำกัดการสบตาไม่จ้องผู้ป่วยมากเกินไป
ผู้หญิงมุสลิมจะใส่เสื้อผ้าที่มีการปกคลุมร่างกายหากต้องการตรวจควรมีเสื้อคลุมที่ยาวสามารถปกผิดร่างกายได้ทั่ว หากไม่สามารถจัดหาให้ได้ควรจะอนุญาตให้ใส่เสื้อผ้าของตนเองได้
มุสลิมไม่ได้ห้ามการได้รับบริการสุขภาพจากเพศตรงข้าม
ผู้ให้บริการควรเป็นเพศเดียวกับผู้ป่วย
ถ้ามีความจำเป็นต้องให้บริการจากผู้รักษาเพศตรงข้าม เช่น แพทย์เป็นผู้ชายควรให้ญาติเข้าไปด้วย
การดูแลเรื่องอาหาร
การดูแลอาหารเป็นอาหาร ฮาลาล (ไม่มีหมู ไม่มีแอลกอฮอล์)
มุสลิมจะล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารควรมีการเตรียมสถานที่
มุสลิมจะใช้มือขวาในการจับอาหารและเครื่องดื่มในการประทาน หากผู้ดูแลสัมผัสอาหารควรใช้มือขวา
การดูแลทางจิตวิญญาณ
จัดสถานที่ละหมาด
มีสถานที่ล้างเท้าก่อนทาพิธี
ผู้มีข้อจำกัดด้านสติปัญญา ผู้หญิงหลังคลอด และ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะเป็นข้อยกเว้น การสวดมนต์จะหันหน้าไปทางเมืองเมกกะ (หรือหันหน้าไปทางทิศตะวันตก)
ควรเอาสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาอื่นออกจากห้องผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยระสุดท้าย
การให้การดูแลในทุกด้านของผู้ป่วย ที่กำลังใจเจ็บป่วยจากพยาธิสภาพที่กำลังลุกลามและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์มุ่งแก้ไขปัญหาที่สาคัญ โดยมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว
เป็นการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ด้วยความรัก ความเมตตา มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทั้งผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล
เป้าหมายการดูแล
ยอมรับเรื่องการมีชีวิตและการตายตามบริบทของศาสนาและวัฒนธรรม
ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือญาติ
ลดความเจ็บปวดและอาการไม่สบายต่างๆ
บูรณาการมิติทางสังคม จิตใจ และจิตวิญญาณ
มีการทำงานเป็นทีมเพื่อการดูแลผู้ป่วยและญาติอย่างมีคุณภาพ
การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตชาวมุสลิม
มุสลิมต้องยอมรับการเจ็บป่วย ว่าเป็นสิ่งที่พระอัลลอฮ์กาหนดมาให้และต้องแสวงหาวิธีการรักษา การเจ็บป่วยเป็นสิทธิของพระอัลลอฮ์เพียงผู้เดียวเท่านั้น
ผู้ป่วยต้องอดทนต่อการเจ็บป่วย การเจ็บป่วยย่อมได้รับการลดบาปและได้กุศล
ผู้ป่วยต้องเอามือตนเองวางบนส่วนที่ตนเจ็บ แล้วให้การละหมาด
การขอพรจากพระอัลลอฮ์พร้อมจับมือผู้ป่วยหรือสัมผัส ปลอบโยนให้ผู้ป่วยมีอายุที่ยืนยาวและลดความทุกข์
การส่งเสริมกำลังใจ ตักเตือนให้เขาระลึกถึงความอดทน ทำให้เขารู้สึกอบอุ่น และเชื่อมั่นว่าจะหายป่วย
ต้องไม่ตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ผู้ป่วยและไม่แสดงท่าทีรังเกียจ ญาติต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย ถ้าไม่ดูแลถือว่าเป็นการกระทำที่สังคมรังเกียจ
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายของมุสลิม
เป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นความประสงค์ของพระอัลเลาะฮ์
ชีวิตมนุษย์มาจากพระองค์ประทานมาให้สุดท้ายต้องกลับไปหาพระองค์
อิสลามไม่ให้มนุษย์ฆ่าตัวตาย แต่ทุกคนต้องราลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา เตรียมตัวเตรียมใจและพร้อมที่จะกลับไปสู่พระอัลเลาะฮ์เปรียบเสมือนการก้าวผ่านจากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง
ภาวะใกล้ตายเป็นภาวะที่มุสลิมต้องการอยู่ใกล้พระอัลเลาะฮ์มากที่สุด และเป็นการดูแลให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมาน
พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ให้มนุษย์เกิดและให้มนุษย์ตาย
พระเจ้าเป็นผู้ทรงกำหนดอายุขัยของมนุษย์
มนุษย์ไม่สามารถรู้ได้ว่าที่ใดและเมื่อใดเขาจะตาย
มนุษย์ต้องรำลึกถึงความตายให้มาก
ความตายเป็นข่าวดีและสบายใจสำหรับผู้ศรัทธา