Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาโรคเบื้องต้น ในกลุ่มอาการที่พบบ่อย - Coggle Diagram
การรักษาโรคเบื้องต้น
ในกลุ่มอาการที่พบบ่อย
อาการซีด (pallor)
1.การเสียเลือด 1.1 การเสียเลือดอย่างรวดเร็ว เช่น การตกเลือด เนื่องจากถูกแทง ถูกยิง หรือมีบาดแผล การตกเลือดจากแผลในกระเพาะ ลำไส้ การตกเลือดจากการคลอดหรือแท้งบุตร เป็นต้น
1.2 การเสียเลือดอย่างเรื้อรัง เช่นการเสียเลือดทางประจำเดือนในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน ทำให้เกิดโรคเลือดจางได้ โรคพยาธิลำไส้ เช่น โรคพยาธิปากขอ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโรคเลือดจางในคนชนบทในเมืองไทย
การทำลายเม็ดเลือดแดง (เม็ดเลือดแดงแตก) ทำให้จำนวนเม็ดเลือดในกระแสเลือดลดลง และสีแดงเข้มของเลือดลดลง ผู้ป่วยจึงซีด
การขาดเหล็ก เช่น การไม่กินอาหารจำพวกไข่ และเนื้อสัตว์ (มังสวิรัติ) การขาดวิตามินบางชนิด เช่น ในกลุ่มของวิตามิน บี (เช่นวิตามิน บี 1 บี 2 บี 6 บี 12 โฟลิค) วิตามิน ซี เป็นต้น การขาดอาหารโปรตีน
การที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่พอ หรือสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ หรือไม่สร้างเม็ดเลือด เช่น
โรคธาลัสซีเมีย โรคเม็ดเลือดแดงกลมตามพันธุ์ (hereditary spherocytosis) โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle-cell anemia) เป็นต้น โรคติดเชื้อ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อเรื้อรัง (chronic infection) จะทำให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ไขกระดูกฝ่อ (aplastic or hypoplastic anemia) ไขกระดูกถูกแทนที่
โลหิตจาง จากภาวะขาดธาตุเหล็ก
หมายถึงภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เกิดจากการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เกิดจากการเสียธาตุเหล็กออกไปกับเลือด มักจะมีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยง่าย หน้ามืด มึนงง เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร การรักษาให้ยาบำรุงโลหิต
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia)
มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย
จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต ผิวหนังดำคล้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะ หักง่าย
ผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะ ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคธาลัสซีเมีย ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและแต่งงานกับคนปกติที่ไม่มียีนแฝง ลูกทุกคนจะมียีนแฝง
การรักษาให้รับประทานวิตามินโฟลิควันละเม็ด ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดมากและมีอาการของการขาดเลือด ตัดม้ามเมื่อต้องรับเลือดบ่อยๆ และม้ามโตมากจนมีอาการอึดอัดแน่นท้อง กินอาหารได้น้อย ไม่ควรรับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงซีดมาก ต้องให้เลือดบ่อยมากจะมีภาวะเหล็กเกิน อาจต้องฉีดยาขับเหล็ก
อ่อนเพลีย
สาเหตุจากภูมิแพ้ หรือ โรคหอบหืด Anemia Depression Sleep disorders การใช้แอลกอฮอล์หรือยาเสพติด
ภาวะเพลียเรื้อรัง บ่อยครั้งที่ภาวะเหนื่อยเรื้อรังเกิดหลังจากป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นว่าเป็นไข้หวัดหรือท้องเสีย บางครั้งก็เกิดในช่วงที่เครียดจัด แต่ก็มีเหมือนกันที่อยู่ดี ๆ ก็เป็นขึ้นมาโดยไม่มีอาการเตือนหรือไม่สบายมาก่อน
การรักษาตามอาการและการดูแลสุขภาพกายและใจจึงเป็นหนทางเดียวในขณะนี้ที่จะช่วยบรรเทาได้ พร้อม ๆ ไปกับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่นว่าทานอาหารให้สมดุล พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด
ปวดกล้ามเนื้อ
Myofascial pain syndrome (MPS)อาการเด่นคือ
1.ปวดร้าวเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
2.อาการของระบบประสาทอิสระซึงพบร่วมได้บ่อยเช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ หนา หรืออาการแสดง เช่น ซีด ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว
การรักษา ยืดกล้ามเนื้อ นวด ทำกายภาพบำบัด ใช้ยาแก้ปวด
โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง มักเกิดจากการทำงานก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น
โรคปวดข้อ
โรคข้อเสื่อม สาเหตุของข้อเสื่อม อายุ อ้วน ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือจากการทำงาน กรรมพันธุ์
อาการของข้อเสื่อม ปวดข้อมักจะปวดข้อตลอดวันหรือปวดมากเวลาใช้งานเวลาพักจะหายปวด ปวดตอนกลางคืน ข้อติดขณะพัก
โรคเส้นเอ็นเสื่อม เส้นเอ็นเมื่อใช้งานมานานๆ ก็เสื่อมสภาพได้ แล้วก็จะมีหินปูนมาจับเกาะอยู่ที่เส้นเอ็น เช่น ข้อศอกเทนนิส(Tennis Elbow) บางครั้ง คนไข้สูงอายุใช้ข้อมือบ่อย ทำให้เป็นเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ในคนที่เป็นเบาหวานพบว่ามีเส้นเอ็นนิ้วมืออักเสบชนิดมีพังผืดรัดได้บ่อย ทำให้นิ้วมือดีดเด้งได้ นอกจากนี้ยังมีการเจ็บปวดบริเวณส้นเท้า ที่เรียกว่า "โรครองช้ำ"