Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยากินและยาเฉพาะที่ - Coggle Diagram
การบริหารยากินและยาเฉพาะที่
วัตถุประสงค์ของการให้ยามี 3 ประการ
1.1 เพื่อการรักษา เป็นการให้ยาเพื่อรักษาตามสาเหตุของโรค หรือช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทา ทุเลา และ หายจากอาการหรือโรคที่เป็นอยู่ สามารถแบ่งเป็น
1) รักษาตามอาการ
2) รักษาเฉพาะโรค
3) ทดแทนสิ่งที่ร่างกายขาด
4) ให้ร่างกายปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
1.2 เพื่อการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ เช่น ฉีดวัคซีนบีซีจีเพื่อป้องกันวัณโรค
1.3 เพื่อการตรวจวิเคราะห์โรค เช่น ให้กลืนแป้งเบเรี่ยม ซัลเฟต แล้วเอ็กซเรย์เพื่อตรวจดูสภาพของ กระเพาะอาหรและลําไส้
ปัจจัยที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
อายุและน้ําหนักตัว
เพศ
กรรมพันธุ์
ภาวะจิตใจ
ภาวะสุขภาพ
ทางที่ให้ยา
เวลาที่ให้ยา
สิ่งแวดล้อม
ระบบการตวงวัดยา
1 gm = 1cc
1dram=4cc
1tsp=5cc
1grain=60mg
30gm=1oz
30cc=1oz
คําย่อและสัญลักษณ์เกี่ยวกับคําสั่งการให้ยา
bid
วันละ2ครั้ง
tid
วันละ3ครั้ง
od
วันละ1ครั้ง
qid
วันละ4ครั้ง
q6hrs
ทุก 6 ชั่วโมง
วิถีทางการให้ยา
id
เข้าชั้นระหว่างผิวหนัง
iv
เข้าหลอดเลือดดํา
Inhal
ทางสูดดม
sc
เข้าชั้นใต้ผิวหนัง
Nebul
พ่นให้สูดดม
im
เข้ากล้ามเนื้อ
Supp
เหน็บ
o
รับประทานทางปาก
in still
หยอด
subling
อมใต้ลิ้น
เวลาการให้ยา
h.s.
ก่อนนอน
p.r.n.
เมื่อจำเป็น
p.c.
หลังอาหาร
stat
ทันทีทันใด
a.c.
ก่อนอาหาร
คําสั่งแพทย์
คําสั่งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป (Standing order/order for continuous) เป็นคําสั่งที่ สั่งครั้งเดียวและใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีคําสั่งระงับ
คําสั่งใช้ภายในวันเดียว (Single order of order for one day) เป็นคําสั่งที่ใช้ได้ใน 1 วัน เมื่อได้ให้ยาไปแล้วเมื่อครบก็ระงับไปได้
คําสั่งที่ต้องให้ทันที (Stat order) เป็นคําสั่งการให้ยาครั้งเดียวและต้องให้ทันที เช่น Diclofenac 1 amp stat เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วยกเลิกได้
คําสั่งที่ให้เมื่อจําเป็น (prn order) เป็นคําสั่งที่กําหนดไว้ให้ปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยมีอาการ บางอย่างเกิดขึ้น
ส่วนประกอบของคําสั่งการรักษา
2) วันที่เขียนคําสั่งการรักษา
3) ชื่อของยา
1) ชื่อของผู้ป่วย
4) ขนาดของยา
7) ลายมือผู้สั่งยา
5) วิถีทางการให้ยา
6) เวลาและความถี่ในการให้ยา
ลักษณะคําสั่งแพทย์ตามทางวิถีทางการให้ยา
1) ทางปาก (oral)
ยาเม็ด (tablet) ยาแคปซูล (capsule) ยาน้ําเชื่อม (Syrup) อีลิกเซอร์ (elixir) อีมัลชั่น (emulsion) ยาผง (powder) ยาน้ําผสม (mixture) ยาอม (lozenge)
2) ทางสูดดม (inhalation)
ชนิดสเปรย์ (spray) พ่นทางสายให้ ออกซิเจน (nebulae)
3) ทางเยื่อบุ (mucous)
ชนิด เม็ด (tablet) ใช้สอด (suppository) ทางช่องคลอด/ทวารหนัก หรืออมใต้ลิ้น (sublingual) หรือยาที่ ละลายในน้ํา (aqueous solution) ใช้หยอด (instillate) ใช้ล้าง (irrigate)
4) ทางผิวหนัง (skin)
ชนิดโลชั่น (Motion) ครีม (Cream) ยาขี้ผึ้ง (ointment) ยาเปียก (paste) หรือยาถูนวด (inunction) ยาผงใช้โรย (powder)
8) ทางใต้ผิวหนัง (Subcutaneous / hypodermal) ยาที่ใช้ฉีดเข้าที่ใต้ผิวหนังของผู้ป่วย
7) ทางหลอดเลือดดํา (intravenous) ยาที่ใช้ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดําของผู้ป่วย
5) ทางกล้ามเนื้อ (intramuscular) ยาที่ใช้ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อของผู้ป่วย
6) ทางชั้นผิวหนัง (intradermal) ยาที่ใช้ฉีดเข้าทางชั้นผิวหนังของผู้ป่วย
คํานวณขนาดยา
ความเข้มข้นของยา (ในแต่ละส่วน) = ขนาดความเข้มข้นของยาที่มี/
ปริมาณยาที่มี
รูปแบบการบริหารยา
Right patient/client (ถูกคน) คือการให้ยาถูกคน
Right drug (ถูกยา) คือการให้ยาถูกชนิด
Right dose (ถูกขนาด) คือการให้ยาถูกขนาด
Right time (ถูกเวลา) คือการให้ยาถูกหรือตรงเวลา
Right route (ถูกวิถีทาง) คือการให้ยาถูกทาง
Right technique (ถูกเทคนิค) คือการให้ยาถูกตามวิธีการ
Right documentation (ถูกการบันทึก) คือการบันทึกการให้ยาที่ถูกต้อง
Right to refuse คือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยในการจัดการยา ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการใช้ยา
Right History and assessment คือการซักประวัติ และการประเมินอาการก่อน-หลังให้ยา โดยการสอบถามข้อมูล/ ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยทุกครั้งก่อนการให้ยา
. Right Drug-Drug Interaction and Evaluation คือการที่จะต้องให้ยาร่วมกัน จะต้อง ดูก่อนว่ายานั้นสามารถให้ร่วมกันได้ไหม
Right to Education and Information คือก่อนที่พยาบาลจะให้ยาผู้ป่วยทุกครั้งต้องแจ้ง ชื่อยาที่จะให้ ทางที่จะให้ยา ผลการรักษา ผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิด
หลักสําคัญในการให้ยา
การให้ยาทางปากใช้หลักสะอาด และการฉีดยาใช้หลัก aseptic technique
ตรวจสอบคําสั่งแพทย์ก่อนให้ยาทุกครั้ง
ก่อนให้ยาต้องทราบวัตถุประสงค์การให้ยา การวินิจฉัยโรค ผลของยาที่ต้องการให้เกิดและฤทธิ์ ข้างเคียงของยา
ตรวจสอบประวัติการแพ้ยา
ตรวจสอบวันหมดอายุของยา
ไม่ควรเตรียมยาค้างไ
ไม่ให้ยาที่ฉลากมีการลบเลือนไม่ชัดเจน
ตรวจสอบผู้ป่วยก่อนให้ยาโดยการถามชื่อและนามสกุลก่อนทุกครั้ง
บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการให้ยาและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้าพยาบาลเพื่อป้องกันผู้ป่วยไม่ได้รับยา
ลงบันทึกการให้ยาหลังจากให้ยาทันที
มีการประเมินประสิทธิภาพของยาที่ให้
สังเกตอาการก่อนและหลังการให้ยา
ในกรณีที่ให้ยาผิดต้องรีบรายงานให้พยาบาลหัวหน้าเวรรับทราบเพื่อหาทางแก้ไข
การให้ยาทางปากและยาเฉพาะที่
การให้ยาทางปาก หมายถึง การให้ยาที่สามารถรับประทานทางปากได้
การให้ยาเฉพาะที่ เป็นการให้ยาภายนอกเฉพาะตําแหน่ง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่
ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา
(3) ผิดวิถีทาง หมายถึง เขียนใบสั่งยา สั่งใช้ยาผิดวิถีทาง
(4) ผิดความถี่ หมายถึง เขียนใบสั่งยา วิธีรับประทานผิด หรือระบุวิธีรับประทานที่ไม่ เหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้น
(2) สั่งยาผิดชนิด หมายถึง เขียนใบสั่งยา สั่งยาคนละชนิดกับที่ควรจะเป็น
(5) สั่งยาที่มีประวัติแพ้ หมายถึง แพทย์สั่งยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้
(1) สั่งยาผิดขนาด หมายถึง แพทย์สั่งใช้ยาที่มีขนาดมากเกิน Maximum dose
(6) ลายมือไม่ชัดเจน หมายถึง เขียนใบสั่งยาด้วยลายมือที่ทําให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
ความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคําสั่งใช้ยา
(1) ที่หอผู้ป่วย หมายถึง พยาบาลลอกคําสั่งแพทย์หรืออ่านคําสั่งแพทย์ไม่ถูกต้อง
(2) ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ หมายถึง เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่คัดกรองการลง ข้อมูลยาในคอมพิวเตอร์ไม่ครอบคลุม หรือคัดกรองข้อมูลผิดพลาด
(3) ที่เภสัชกรรม หมายถึง เจ้าหน้าที่ห้องยา/เภสัชกร อ่านคําสั่งแพทย์ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรง ตามแพทย์สั่ง
ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา
ความคลาดเคลื่อนใน กระบวนการจ่ายยาของกลุ่มงานเภสัชกรรม ที่จ่ายยาไม่ถูกต้องตามที่ระบุในคําสั่งใช้ยา ได้แก่ ผิดชนิดยา รูปแบบยา ความแรงยา ขนาดยา วิธีใช้ยา จํานวนยาที่สั่งจ่าย จ่ายยาผิดตัวผู้ป่วย จ่ายยาที่เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ จ่ายยาที่ไม่มีคําสั่งใช้ยา เตรียมยาผิด
ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา
(1) การให้ยาไม่ครบ
(2) การให้ยาผิดชนิด
(3) การให้ยาซึ่งผู้สั่งใช้ยาไม่ได้สั่ง
(4) การให้ยาผู้ป่วยผิดคน
(5) การให้ยาผิดขนาด
(6) การให้ยาผิดวิถีทาง
(7) การให้ยาผิดเวลา
(8) การให้ยามากกว่าจํานวนครั้งที่สั่ง
(9) การให้ยาใน อัตราเร็วที่ผิด
(10) การให้ยาผิดเทคนิค
(11) การให้ยาผิดรูปแบบยา
บทบาทพยาบาลในการให้ยาผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยเข้ามานอนรักษาในครั้งแรก พยาบาลตรวจสอบยาให้ตรงกับคําสั่งแพทย์ พร้อมกับ เช็คยาและจํานวนให้ตรงตามฉลากยา หากไม่ตรงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
การซักประวัติ จะถามเรื่องการแพ้ยาทุกครั้งดูสติกเกอร์สีแสดงแพ้ยาที่ติดอยู่ขอบ OPD card
เมื่อมีคําสั่งใหม่ หัวหน้าเวร ลงคําสั่งในใบ MAR ทุกครั้ง
การจัดยาให้ระมัดระวังในการจัดยาเนื่องจากความผิดพลาดด้านบุคคลโดยเฉพาะยาน้ํา
เวรบ่าย พยาบาลจะตรวจสอบรายการยาในใบ MAR กับคําสั่งแพทย์ให้ตรงกัน และดูยาใน ช่องลิ้นชักยาอีกครั้ง
กรณีผู้ป่วยที่ NPO ให้มีป้าย NPO และเขียนระบุว่า NPO เพื่อผ่าตัดหรือเจาะเลือดเช้า ให้ อธิบายและแนะนําผู้ป่วยและญาติทุกครั้ง
กรณีคําสั่งสารน้ํา+ยา B CO 2 ml ให้เขียนคําว่า +ยา B CO 2 ml ด้วยปากกาเมจิก อักษรตัว ใหญ่บนป้ายสติ๊กเกอร์ของสารน้ําให้ชัดเจนเพื่อสังเกตได้ง่าย
การจัดยาจะจัดตามหน้าของยาหลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ใ
มีผู้จัด-ผู้ตรวจสอบ คนละคนกันตรวจสอบก่อนให้ยา ให้ตรวจสอบ 100%
การแจกยาไล่แจกยาตามเตียงพร้อมเซ็นชื่อทุกครั้งหลังให้ยาและให้พยาบาลตรวจดูยา ในลิ้นชักของผู้ป่วยทุกเตียงจนเป็นนิสัยและดูผู้ป่วยประจําเตียงว่ามีหรือไม่
ให้ยึดหลัก 6R ตามที่กล่าวมาข้างต้น
สมรรถนะของพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา
สามารถร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจําเป็น
บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
สามารถสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยา โดยพิจารณาจากข้อมูลทางเลือกที่ถูกต้อง เหมาะสมกับบริบทและเคารพในมุมมองของผู้ป่วย
สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ
สามารถติดตามผลการรักษา และรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้
สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม
สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ตามความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ และเป็นไปตามหลักเวชจริย ศาสตร์
สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยา ได้อย่างต่อเนื่อง
สามารถทํางานร่วมกับบุคลากรอื่นแบบสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาทางปากและยาเฉพาะที่
การประเมินสภาพ
ก่อนให้ยาต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยและยาที่จะให้ผู้ป่วย ต้องทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ยา ภาวะขณะที่จะให้ยา
การวินิจฉัยการพยาบาล
เมื่อรวบรวมข้อมูลจากการประเมินสภาพได้ทั้งหมดแล้วนํามาจัด หมวดหมู่ข้อมูลที่เป็นปัญหา ดูว่าผู้ป่วยมีปัญหาหรือไม่มีปัญหาที่จะได้รับยาขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ประเมินมาได้ ในขั้นตอนแรก แล้วให้การวินิจฉัยพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
หลังจากได้ข้อมูลและปัญหาหรือข้อบ่งชี้ในการให้ยาแล้วทําการ วางแผนหาวิธีการว่าจะให้ยาอย่างไร ผู้ป่วยจึงจะได้ยาถูกต้อง ครบถ้วน ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดหรือได้รับ อันตราย
การปฏิบัติการพยาบาล
เป็นการปฏิบัติการให้ยาตามแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ โดยยึดหลัก ความถูกต้อง 7 ประการ และคํานึงถึงบทบาทพยาบาลในการให้ยาตามที่ได้กล่าวข้างต้น รวมไปถึงการ บันทึกหลังการให้ยาด้วย ปฏิบัติตามหลักการบริหารยาที่ลงมือปฏิบัติจริง
การประเมินผล
เนื่องจากยาที่ให้นอกจากจะมีผลทางการรักษา แล้วยังอาจทําให้เกิดปฏิกิริยา ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ดังนั้นหลังจากให้แล้วต้องกลับมาตามผลทุกครั้ง เพื่อดูผลของยาต่อผู้ป่วยทั้ง ด้านการรักษา และผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงการแพ้ยาด้วย