Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม(Culture)
คือ วิถีการดําเนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์วัตถุ หมายถึง วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
องค์การหรือสมาคม หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคม
องค์พิธีหรือพิธีการ วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต คือ การเกิดจนกระทั่งตาย เช่น พิธีรับขวัญเด็ก
องค์มติหรือมโนทัศน์ วัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคําสอนทางศาสนา เช่น ความเชื่อในเรื่องบาปบุญ
ความสําคัญของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นเครื่องกําหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม
การศึกษาวัฒนธรรมจะทําให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
ทําให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
ทําให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดํารงชีวิต
ทําให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
ทําให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
ทําให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อหลักการในการดําเนินชีวิต
ประเภทของความเชื่อ
ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง เช่น เชื่อว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล มี 2 ลักษณะ คือ เกิดจากประสบการณ์ตรง และเกิดจากการแลกเปลี่ยนพบปะสังสรรค์
ความเชื่อแบบประเพณี
ความเชื่อแบบเป็นทางการ
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความเชื่อแบบอํานาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพเช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค
ความเชื่อแบบพื้นบ้านและวิธีการดูแลสุขภาพเช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการขาดสมดุลธาตุ
ความเชื่อแบบการแพทย์แผนตะวันตกและวิธีการดูแลสุขภาพเช่นการเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ชีวิต
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบพื้นบ้าน
ระยะตั้งครรภ์
ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ คนโบราณเชื่อว่าการตั้งครรภ์เป็นผลจากความสัมพันธ์ของมนุษย์กับดวงดาวในระบบจักรวาล
ระยะคลอดบุตร
ความเชื่อเกี่ยวกับการคลอดบุตร ได้แก่ เรื่องความเป็นสิริมงคล ท่าทางในการคลอด
ระยะหลังคลอด
ความเชื่อเกี่ยวกับภาวะหลังคลอด ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องกรรม
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบแพทย์ตะวันตก
ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ตัวอ่อนหรือทารกได้ก่อกําเนิดขึ้นภายในมดลูก
การดูแลสุขภาพแบบการแพทย์ตะวันตกมีหลักการดูแลคล้ายคลึงการแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความชรา
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา ปัจจัยชี้บ่งถึงความชรา เช่น ภาวะหมดประจําเดือนในเพศหญิง
การดูแลสุขภาพวัยชราแบบพื้นบ้าน ได้แก่ การใช้สมุนไพร
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา กําหนดอายุตั้งแต่ 60 หรือ 65ปีขึ้นไป เป็นเกณฑ์เข้าสู่วัยชรา
การดูแลสุขภาพวัยชราแบบการแพทย์แผนตะวันตก
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตาย
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณ
การดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน จะมุ่งเน้นการตอบสนองทางด้านจิตวิญญาณของผู้ตายและเครือญาติ
จะพิจารณาจากการหยุดทํางานของหัวใจและการทํางานของแกนสมอง
การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการตายแบบแพทย์แผนตะวันตก
ค่านิยมทางสังคม
ค่านิยมทางสังคมจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยทางสังคมหลายอย่างเข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
ครอบครัว เป็นสถาบันสังคมอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล
โรงเรียน คือสถาบันทางสังคมที่มีส่วนในการสร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมากในการสั่งสอนเด็กให้เกิด ความคิด ความเชื่อ
สถาบันศาสนา บุคคลและหน่วยงานของศาสนาต่างๆ ก็มีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมอันถูกต้องได้เป็นอย่างดี
สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน การคบหาสมาคมกับเพื่อนในรุ่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนสนิท หรือการทํากิจกรรมอื่นๆในสังคมวัยรุ่น
สื่อมวลชน ในปัจจุบันบุคคลได้รับความรู้และความคิดจากสื่อมวลชนเป็นอันมากในบางกรณี
องค์การของรัฐบาล รัฐย่อมมีส่วนในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมให้แก่สังคมตามปกติ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและการแสวงหาการรักษาของประชาชนในภูมิภาคต่างๆของโลก
แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือพิการ
ดูแลรักษาสุขภาพเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยเป็นโรค
ฟื้นฟูสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การกินอาหารประเภทน้ําพริกผักจิ้ม
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เช่น การบริโภคอาหารปรุงสุก
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค ในแต่ละสังคมต่างมีระบบการดูแลสุขภาพที่มีความเชื่อมโยงกัน 3 ประเภท ได้แก่ ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน แบบพื้นบ้าน และแบบวิชาชีพ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การดูแลการพักฟื้นของผู้ป่วยจากคนในครอบครัว
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
สามารถจัดแบ่งได้ตามประโยชน์และโทษดังนี้
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์ เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแผด
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ว่าให้คุณหรือโทษ เช่น สังคมแอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดิน
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสาเหตุโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง
แนวทางการดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพของประชาชนนั้นประกอบด้วยระบบย่อย 3 ระบบคือ
ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ (Professional health sector) เป็นส่วนของการปฏิบัติการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ มีการจัดองค์กรที่เป็นทางการ
ระบบการดูแลสุขภาพภาคพื้นบ้าน (Folk sector of care) หรือการดูแลแบบทางเลือก เป็นการปฏิบัติการรักษาที่มิใช่รูปแบบของวิชาชีพ
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน (Popular health sector) เป็นส่วนของการดูแลสุขภาพภาคประชาชนซึ่งถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมาตามวัฒนธรรม