Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหา ทางโลหิตวิทยา - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหา
ทางโลหิตวิทยา
📌โรคภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
(IRON DEFICIENCY ANEMIA)
สาเหตุ
พบบ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี มักเกิดจากการได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย ปัญหาการดูดซึมที่ลำไส้ไม่ดีจากท้องร่วงเรื้อรัง หรือมีการอักเสบของลำไส้
อาการและอาการแสดง
ซีด : สีผิวหนัง ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เหงือก เปลือกตาด้านใน
เหนื่อยง่าย: เนื่องจากหัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้นในการที่จะหมุนเวียนเม็ดเลือดแดงที่มีน้อยลงให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์ให้เพียงพอ
ปวดศีรษะ เฉื่อยชา
ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสีย
การรักษา
การให้เหล็กโดยการกิน (Ferrous sulfate) ให้วันละ 3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร รับประทานตอนท้องว่าง หากเด็กกินเพิ่งกินนมต้องรอ 2 ชม.ถึงจะรับประทานยาได้ เพราะนมและอาหารจะขัดขวางการดูดซึมของยา
แก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุ เช่น การให้ยาถ่ายพยาธิ
การให้เลือด รายที่มีภาวะซีดมาก หรือมีอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย โดยให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed red cell)
📌โรคภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงาน(APLASTIC ANEMIA)
สาเหตุ
ความผิดปกติแต่กำเนิด(Congenital)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง จากการ ทำลายของเนื้อเยื่อ stem cell ในไขกระดูก จากหลายสาเหตุดังนี้ -ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) -การได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยาเคมีบำบัด -การได้รับสารเคมีบ่อยๆ ซึ่งเป็นพิษต่อระบบเลือด เช่น ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ -เกิดภายหลังการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ เกิดภายหลังการได้รับรังสีการรักษาในขนาดสูง
พยาธิสภาพ
การได้รับสารเคมี ยา หรือเชื้อจุลชีพบางชนิด รวมทั้งการได้รับรังสีรักษา และภาวะผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในไขกระดูกทำให้มีการทำลายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) มีผลทำให้จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดลดลง หรือทำให้กระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิดไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ เสียไป ทำให้เม็ดเลือดทั้งสามชนิดลดลง และเกิดอาการของโรคขึ้น
อาการและอาการแสดง
Low Platelet เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีจุดจ้ำเลือดตามลำตัวและแขนขา เลือดออกตามไรฟันและเลือดกำเดา เลือดออกในทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
Low RBC ซีด เหนื่อยง่าย ชีพจรเบาเร็ว และถ้ามีการเสียเลือดร่วมด้วย ทำให้มีอาการซีดรุนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
การรักษา
1.การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่ไขกระดูกไม่ทำงานขั้นรุนแรง คือ ซีด เลือดออก และติดเชื้อรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยฮอร์โมน ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไม่รุนแรงมาก
การรักษาด้วยยากดระบบ Immune ใช้ในผู้ป่วยเด็กภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงานที่มีผลต่อการตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าไขกระดูกไม่ทำงานจากปฏิกิริยาทางอิมมูน
การรักษาตามอาการ
📌โรคธาลัสซีเมีย(THALASSEMIA)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบินเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นเกิดปัญหาซีดเรื้อรังตั้งแต่แรกเกิด
ชนิดของโรคแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มอาการรุนแรงมาก ได้แก่ ฮีโมโกลบินบาร์ทโฮฟิทัลลิสเป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่เสียชีวิตในครรภ์มารดาหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด
กลุ่มอาการรุนแรงปานกลางได้แก่ โฮโมซัยกัสเบต้า-ธาลัสซีเมียและเบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี แรกเกิดปกติ จะเริ่มมีอาการตั้งแต่ภายในขวบปีแรก
กลุ่มอาการรุนแรงน้อย ได้แก่ ฮีโมโกลบินเอ็ช ผู้ป่วยจะมีอาการน้อย เช่น
ซีด และเหลืองเล็กน้อย หากมีไข้หรือติดเชื้อผู้ป่วยจะซีดลง
การรักษา
การรักษาทั่วไป ปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ระวังการติดเชื้อ
การให้เลือด เพื่อเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกาย
การผ่าตัดม้าม (Splenectomy)
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากภาวะเหล็กเกิน
📌(INDIOPATHIC
THROMBOCYTOPENIC PURPURA: ITP)ภาวะที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 เซลล์/ไมโครลิตร
สาเหตุ
การสร้างเกล็ดเลือดลดลง เนื่องจากโรคของไขกระดูกเอง
เกล็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ
เกล็ดเลือดถูกใช้ไปมากกว่าปกติ
พยาธิสภาพ
พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีอาการเกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อไวรัสบางชนิด
อาการและอาการแสดง
จุดจ้ำเลือดที่ผิวหนังทั้งที่เป็นจุดเล็กๆ(petechiae) และเป็นจ้ำเลือด(ecchymosis)
เลือดกำเดาไหล
เลือดออกในเยื่อบุต่างๆ
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น ตับ
เลือดออกตามผิวหนัง
การรักษา
ส่วนใหญ่โรคหายได้เอง 70-80 %ภายในเวลา 1-2เดือน ถ้ามีเลือดออกใต้ผิวหนัง หลายแห่งหรือมีจุดเลือดออกในปากควรให้กิน prednisolone
📌ฮีโมฟีเลีย(HEMOPHILIA)
สาเหตุ
ฮีโมฟีเลีย A (Classical Hemophilia)พร่องแฟคเตอร์ 8
ฮีโมฟีเลีย B (Christmas disease) พร่องแฟคเตอร์ 9
ฮีโมฟีเลีย C พร่องแฟคเตอร์ 11
พยาธิสภาพ
ผลจากการขาดองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างไฟบรินได้ เลือดจึงไหลผ่านบริเวณหลอดเลือดไฟบรินได้ เลือดจึงไหลผ่านบริเวณหลอดเลือดตลอดเวลา หากมีเลือดออกในข้อหรือในอวัยวะที่สำคัญ เช่นสมอง ผู้ป่วยเด็กจะแสดงอาการได้เร็ว
การดูแล
ให้ FFP หรือ Cryoprecipitate
ห้ามเลือดและลดการมีเลือดออก ในวันแรกประคบด้วยความเย็นเพื่อให้เลือดหยุด วันต่อมาประคบด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้ลิ่มเลือดละลายเร็วขึ้น
ถ้าเลือดออกในข้อให้ใช้ผ้ายืดพันไว้และให้พักข้อ
อาการและอาการแสดง
เลือดไหลนานและห้ามเลือดยากเมื่อสูญเสียเลือด เนื่องจากเลือดไม่แข็งตัว
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
มีบัตรประจำตัวติดตัวเด็กตลอดเวลาชื่อระบุ โรคที่เป็น
การป้องกันอุบัติเหตุ การจัดสิ่งแวดล้อม การเล่น
การพาเด็กมารับ Vaccine ใช้เข็มเล็กสุด กดนาน 5-10 นาที
ดูแลสุขภาพฟันไม่ให้ฟันผุ หลีกเลี่ยง การใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง
หลีกเลี่ยงกีฬาที่กระทบกระแทก
ไม่ให้ผู้ป่วยอ้วน หรือ น้ำหนักมากเกินไป
ป้องกันภาวะท้องผูก ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย
📌ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-P-D (G-6-P-D DEFICIENCY)
สาเหตุ
ยา ยารักษามาลาเรีย ยาปฏิชีวนะ
สารเคมี เสื้อผ้าที่อบด้วยลูกเหม็น
อาหาร ถั่วปากอ้าดิบๆ
การติดเชื้อ: ไทฟอยด์ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไข้หวัด มาลาเรีย
พยาธิสภาพ
G-6-PD มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความคงทนของเซลล์ ในภาวะที่มีระดับเอ็นไซม์ลดลงหรือมีโครงสร้างที่ผิดปกติเซลล์อื่นๆ ซึ่งมีนิวเคลียสจะสร้างเอ็นไซม์ขึ้นมาใหม่แต่เซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งไม่มีนิวเคลียสจะไม่สามารถสร้างเอ็นไซม์ได้ทำให้เม็ดเลือดแดงมีสภาวะที่ไม่คงทนเนื่องจากฮีโมโกลบินเกิดการเสื่อมสภาพ ตกตะกอนเป็นHeinz bodies ทำให้เม็ดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่นเกิดการแตกทำลายได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
ซีดลงอย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะดำเป็นสีโค๊ก (Hemoglobinuria)
ภาวะไตวาย เนื่องจากมีกรดยูริกเพิ่มจำนวนขึ้นไปอุดหลอดเลือดฝอยในไต
ตัวเหลืองภายหลังคลอดในทารกแรกเกิดที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-P-D
ภาวะซีดเรื้อรัง
การรักษา
หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ1. หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการได้แก่ ชนิดของยาหรือสารเคมีที่ได้รับ
การรักษาภาวะแทรกซ้อน
ให้เลือด ถ้ามีอาการซีดมากๆ
ทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง
📌โรคเลือดออกจากการมีPROTHROMBIN ต่ำ (ACQUIRED PROTHROMBIM COMPLEX DEFICIENCY SYNDROME: APCD)
สาเหตุ
ทารกแรกเกิดมีวิตามิน เค ในเลือดน้อยมาก
ทารกไม่ได้รับวิตามิน เค เมื่อแรกเกิด
การได้รับอาหารเสริมที่ไม่ถูกต้อง
พยาธิสภาพ
เมื่อร่างกายขาด โปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์ทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดหยุดชะงักในระยะของการสร้างโปรทรอมบินและทรอมบิน ทำให้การสร้างไฟบริน เพื่อช่วยในการอุดรอยฉีกขาดของหลอดเลือดหยุดชะงักไปด้วย จึงเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในสมอง
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกในสมอง ทางเดินอาหารผิวหนัง อาการมักเกิดอย่างเฉียบพลันโดยไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ นำมาก่อน
อาการซีด
มีจ้ำเขียวตามตัว หรือเลือดหยุดยาก
อาการตับโต ในผู้ป่วยเด็กบางราย
ในรายที่ไม่เสียชีวิตจากการมีเลือดในสมอง อาจมีอาการพิการทางสมอง
การรักษา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว ให้วิตามินเค 2-5 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลา1- 3 วัน
ให้ Fresh Frozen Plasma ถ้าผู้ป่วยมีอาการเลือดออกรุนแรง
ให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cell) ถ้าซีดมาก