Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 ธรรมชาติของภาษา, มโนทัศน์เกี่ยวกับภาษา, ประเภทของภาษา,…
-
มโนทัศน์เกี่ยวกับภาษา
ภาษาย่อย
ภาษาใดก็ตามที่ต่างจากอีกภาษาด้วยปัจจัยทางสังคมของผู้พูด ภาษาเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันเป็นระบบมากจนไม่ใช่คนละภาษาภาษาเด็ก กับภาษาผู้ใหญ่ ของไทยต่างก็เป็นภาษาย่อยของภาษาไทย ภาษาผู้หญิง และภาษาผู้ชายของไทยต่างก็เป็นภาษาย่อยของภาษาไทย
ความหมายที่สองของคำว่า dialect คือหมายถึงภาษาถิ่น ซึ่งก็คือภาษาใดก็ตามที่ต่างจากอีกภาษาเพราะใช้ในถิ่นต่างกัน หรือพูดโดยคนที่มาจากถิ่นต่างกันคำว่า ภาษาย่อย มักใช้ในความหมายที่รวมเอาภาษาถิ่นเข้าไปด้วย
วิธภาษา
-
วิธภาษาที่แตกต่างกันโดยลักษณะทางสังคมของ ผู้พูด เช่น เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ชั้นทางสังคม ฯลฯ เรียกว่า วิธภาษาสังคม วิธภาษาในมิตินี้ก็คือ ภาษาย่อย นั้นเอง
ภาษาถิ่น
ภาษาไทยที่พูดในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย เป็นภาษาเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้เป็นไปตามถิ่น เราจึงสามารถจัดภาษาแต่ละภาษาประจำภาคต่างๆ ให้เป็นภาษาถิ่น และเรียกว่า “ภาษาไทยถิ่น....”
ภาษามาตรฐาน
การใช้ภาษามาตรฐานจะทำให้ผู้ใช้มีศักดิ์ศรี และบางครั้งทำให้กลายเป็น ผู้ถืออภิสิทธิ์เหนือผู้ที่ไม่ได้ใช้หรือผู้ที่ใช้ภาษาอื่นๆ ภาษามาตรฐานมักเป็นภาษาที่มีความมั่นคงแต่ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
-
ประเภทของภาษา
วัจนภาษา
ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม หมายรวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อีกษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ
อวัจนภาษา
ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำแต่เป็นภาษาที่แฝงอยู่ ได้แก่ กริยาท่าทาง ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแปลความ เช่น น้ำเสียง ภาษากาย การยิ้มแย้ม การสบตา การแต่งกาย
-
ความหมายของภาษา
“ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีนหรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม ; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สามารถสื่อความหมายได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ”
-
-