Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2560 – 2564) …
ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2560 – 2564)
ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
ผลผลิต /ผลลัพธ์
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น สามารถท่องจำและนำสิ่งที่จำไปฝึกคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดใน
เชิงสร้างสรรค์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ มีทักษะการท างานร่วมกับผู้อื่น สอดคล้อง กับทักษะที่จ าเป็นในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ/ประเภท ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีจิตสำนึกประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้ง สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสามัคคีปรองดอง
กลยุทธ์
1.1 พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และจัดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาผู้เรียน ในรูปแบบที่
หลากหลาย สอดคล้องกับทักษะที่จ าเป็นในศตวรรษที่ 21
1.2 พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร การวัดและประเมินผลการศึกษาทุกระดับ/ประเภทการศึกษา ให้ทันสมัย
สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
1.3 ส่งเสริมการพัฒนาเนื้อหาสาระที่ทันสมัยในทุกระดับ/ประเภทการศึกษา เพื่อการผลิต สื่อการเรียนการ
สอน ต าราเรียนที่มีคุณภาพ รวมทั้งต าราเรียนอิเล็กทรอนิกส์
1.5 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองและพลโลก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน
ระบบการศึกษาอย่างเข้มข้น
1.4 ปรับปรุงระบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติให้สอดคล้องกับหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ผลผลิต /ผลลัพธ์
มีการผลิตครูได้สอดคล้องกับความต้องการในการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภท มีครูครบตามเกณฑ์มีครู ประจำชั้นครบทุกห้อง และมีครูที่จบตรงวุฒิตามสาขาวิชาที่สอน ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมีจรรยาบรรณของ
วิชาชีพ รวมทั้งมีคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีสมรรถนะตามมาตรฐาน วิชาชีพ สามารถใช้ศักยภาพในการสอนได้อย่างเต็มที่และขวัญก าลังใจที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่
กลยุทธ์
2.1 วางแผนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ อย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับความต้องการ ในการจัด
การศึกษาทุกระดับ / ประเภทการศึกษา
2.2 ปรับระบบการผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
2.3 เร่งรัดพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งครูประจำการที่สอนไม่ตรงวุฒิ ครูที่สอนคละชั้น และครูใน
สาขาวิชาที่ขาดแคลน
2.4 สร้างขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
2.5 พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
ผลผลิต /ผลลัพธ์
มีการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่มีคุณภาพ เพิ่มจำนวน บัณฑิตในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน มีสมรรถนะ มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานวิชาชีพ และ
สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ประชาชนได้รับการฝึกอาชีพตามความถนัด และความสนใจ รวมทั้งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์การให้การรักษาพยาบาล และการพัฒนาความเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภูมิภาค
กลยุทธ์
3.1 เร่งผลิตและพัฒนาก าลังคนสาขาที่จ าเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
แพทย์ และพยาบาล
3.2 เร่งผลิตและพัฒนาสมรรถนะก าลังคนด้านอาชีวศึกษาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี และ
รองรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
3.3 ส่งเสริมภาพลักษณ์การอาชีวศึกษา เร่งปรับค่านิยม และวางรากฐานทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียน ตั้งแต่วัย
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.4 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษอย่างต่อเนื่องทุกระดับ
3.5 เสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการผลิตและพัฒนาก าลังคน โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ตาม
รูปแบบประชารัฐ ทั้งระหว่างองค์กรภายในและต่างประเทศ
3.6 ส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
ผลผลิต /ผลลัพธ์
ผู้เรียนทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันในทุกระดับและประเภทการศึกษา ได้รับการ
สนับสนุนค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถเรียนรู้จาก แหล่งเรียนรู้ได้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต สถานศึกษาในภูมิภาค/ชนบท ได้รับการยกระดับคุณภาพในการ ให้บริการ เด็กพิการและด้อย
โอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งสามารถเทียบโอนผลการเรียน
และทักษะประสบการณ์เพื่อขอรับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นได้
กลยุทธ์
4.1 ประกันโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนในทุกพื้นที่
ครอบคลุมถึงคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความต้องการพิเศษ
4.2 ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบ และการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจ และวิถีชีวิต
ของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย
4.3 เร่งสร้างความเข้มแข็งของระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อย่าง
กว้างขวาง
4.4 จัดหาทุนและแหล่งทุนทางการศึกษา
4.5 เร่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพมีความ หลากหลาย
และสามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
ผลผลิต /ผลลัพธ์
ผู้เรียน สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับทุกประเภทการศึกษาเข้าถึงทรัพยากร และระบบ
เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ มีองค์ความรู้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น รวมทั้งมีศูนย์กลางในการจัดเก็บรวบรวมสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัลที่ทันสมัยและระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษาของประเทศที่ถูกต้องและเป็น ปัจจุบัน
กลยุทธ์
5.1 พัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการที่ทันสมัย และไม่ซ้ าซ้อน ให้
ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
5.2 พัฒนากระบวนการจัดท าระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษาของประเทศ ระบบ การรายงานผล ของ
ฐานข้อมูลโดยเชื่อมโยงข้อมูลการศึกษาทุกระดับ/ประเภทการศึกษา ให้เป็นอกภาพ เป็นปัจจุบัน และมีมาตรฐานเดียวกัน
5.3 ผลิตและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์หรือสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้เรียน สถานศึกษา และหน่วยงาน
ทางการศึกษาทุกระดับ/ประเภทการศึกษา นำมาใช้เพิ่มคุณภาพการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
5.4 จัดหาอุปกรณ์ /ทรัพยากรพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับผู้เรียนอย่างเพียงพอ ทั่วถึง และ
เหมาะสมกับการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา
ผลผลิต /ผลลัพธ์
ะบบบริหารจัดการมีความคล่องตัวในการบริหารงานการศึกษามากยิ่งขึ้น มีความโปร่งใส และเป็นที่ยอมรับ ของผู้รับบริการ โครงสร้างของกระทรวงได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพโดยการ กระจายอ านาจลงไปสู่ส่วน
ภูมิภาคและสถานศึกษา และมีกลไกการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา สถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทมีธรรมาภิบาลในการบริหาร รวมทั้งผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีศักยภาพเพื่อไปประกอบอาชีพ ในท้องถิ่นได้
กลยุทธ์
6.1 ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการการศึกษาให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยเน้นด้าน คุณธรรม ความ
โปร่งใส ทั้งในระดับส่วนกลาง และในพื้นที่ระดับภาค/จังหวัด
6.2 พัฒนาระบบบริหารงานงบประมาณ/การเงินให้มีประสิทธิภาพ
6.3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาตอบสนองการสร้างอาชีพและเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดวามเหลื่อมล้ า สร้างความ
สมานฉันท์ และเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
6.4 เร่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมรับผิดรับชอบในการจัดการศึกษา รวมทั้งสนับสนุน ทรัพยากรเพื่อ
การศึกษา
6.5 เสริมสร้างภาพลักษณ์หน่วยงานให้เกิดความร่วมมือ และสร้างเครือข่าย/ความเป็นภาคีหุ้นส่วน กับองค์กร
ทั้งภายในและต่างประเทศ
6.6 ส่งเสริมและขยายผลให้สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความพร้อม พัฒนาเป็น สถานศึกษานิติ
บุคคลในก ากับ