สมดุลเคมี
(Chemical Equilibrium)
ปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่เป็นปฏิกิริยาที่ดำเนินไปทิศทางเดียวคือจากสารตั้งต้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลิตภัณฑ์และเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เช่น การเผาไหม้น้ามันเชื้อเพลิง เป็นต้น ปฏิกิริยานี้จัดเป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับไม่ได้ (Irreversible reaction)
การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
แต่เราก็จะมักพบเสมอว่าบางปฏิกิริยาไม่ดาเนินไปจนเสร็จสมบูรณ์ หมายความว่าตัวทาปฏิกิริยาทั้งหมดไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นผลปฏิกิริยา ยังคงเหลือตัวทาปฏิกิริยาอยู่ ปฏิกิริยาเช่นนี้เรียกว่าปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ (Reversible reaction)
การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เมื่อเปลี่ยนแปลงไปแล้วสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อีก
ภาวะสมดุล
เมื่อสารทาปฏิกิริยากัน ที่ภาวะสมดุลจะมีทั้งสารที่เข้าทาปฏิกิริยา (reactant) และผลผลิต (product) ภาวะสมดุล (equilibrium state) เกิดขึ้นเมื่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า (forward reaction ) เท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ (reverse reaction )
ถ้าในระบบที่พิจารณาถ้าปฏิกิริยาเปลี่ยนไปข้างหน้าและย้อนกลับเกิดขึ้นตลอดเวลา เรียกว่า สมดุลพลวัต หรือสมดุลไดนามิก (dynamic equilibrium) เขียนแทนด้วยลูกศรไป-กลับ
ภาวะสมดุลระหว่างสถานะ
สารต่างๆสามารถเปลี่ยนสถานะได้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานควบคู่ไปด้วย
เราสามารถสังเกตจากสีที่คงที่ หรือ สถานะของสารคงที่ดูเสมือนไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ความจริงแล้วระบบมิได้หยุดนิ่งและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเรียกการเกิดสภาวะแบบนี้ว่า “สมดุลไดนามิก” ดังนั้นภาวะสมดุลระหว่างสถานะ ก็เป็นสมดุลไดนามิก
ภาวะสมดุลในสารละลายอิ่มตัว
เมื่อให้ตัวถูกละลาย ละลายในตัวทาละลาย ตัวถูกละลายก็จะละลายได้เร็วในตอนแรกแล้วละลายได้ช้าลงและเมื่อเกิดสารละลายอิ่ม ตัว เราจะพบว่าตัวถูกละลายไม่ละลายต่อไปอีกไม่
ภาวะสมดุลในปฏิกิริยาเคมี
ภาวะสมดุลในปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้และเกิดปฏิกิริยาในระบบปิด โดยระบบ แบ่งออกเป็น
1) ระบบเปิด (Opened system) คือระบบที่มีการถ่ายเทได้ทัง้ มวลสารและพลังงานกับสิ่ง แวดล้อม
2) ระบบปิด (Closed system) คือระบบที่มีการถ่ายเทเฉพาะพลังงานอย่างเดียว แต่ไม่มีการถ่ายเทมวลสาร
3) ระบบโดดเดี่ยว (Isolated system) คือระบบที่ไม่มีการถ่ายเททัง้ พลังงานและมวลสารแก่สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ในปฏิกิริยาใดจะเกิดสมดุลได้จะต้อง
- เกิดในระบบปิด
- มีสมดุลไดนามิก
- ยังมีสารตั้ง ต้นเหลืออยู่
- ระบบสามารถเข้าสู่สมดุลได้ไม่ว่าจะเรมิ่ ต้นจากไปข้างหน้าหรือย้อนกลับ
- เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
- ความเข้มข้น, ความดัน และ อุณหภูมิมีผลต่อภาวะสมดุล
สมดุลในปฏิกิริยาเคมี
ค่าคงที่สมดุล
กฎของภาวะสมดุลทางเคมี (Law of Chemical Equilibrium) กล่าวว่า “ สำหรับปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ ที่ภาวะสมดุล ผลคูณของความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ เมื่อหารด้วยผลคูณของความเข้มข้นของสารตั้ง ต้นที่เหลือ
โดยที่ความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดยกกำลังด้วยเลขสัมประสิทธิ์บอกจา นวนโมลของสารในสมการที่ดุลแล้วจะมีค่าคงที่เสมอเมื่ออุณหภูมิคงที่”
ข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าคงที่ของสมดุล (K)
- ค่า K ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ คือ เมื่ออุณหภูมิคงที่ ค่า K ก็จะคงที่ แต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยน ค่า Kก็จะเปลี่ยนด้วย ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงค่า K ต้องอ้างอุณหภูมิเสมอ
- ค่า K ในปฏิกิริยาต่างชนิดกันส่วนใหญ่จะมีหน่วยต่างกัน และบางปฏิกิริยาไม่มีหน่วยขึ้นกับสถานะของสาร
- ค่า K ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมการที่เขียน คือ ถ้าเขียนสัดส่วนของจานวนโมลของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ในสมการต่างกัน ค่า K ไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงค่า K จะต้องอ้างอิงถึงสมการด้วยเสมอ
หรือ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีทั้งการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าและการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ เช่นตัวอย่างของปฏิกิริยาเคมีที่ผันกลับได้
นางสาว ชลธิดารัตน์ จินะการณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วัชพล 6305010230