Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 นโยบายกฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็นจริยธรรมในการดูแล…
หน่วยที่ 3
นโยบายกฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
รัฐธรรแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุขการศึกษา และวัฒนธรรม
ปฏิญญาผู้สูงอายุ
9 ประการเพื่อส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ
1.ได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต
2.ได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง
3.การได้รับความเคารพรัก การดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว
4.การได้รับโอกาสในการศึกษาเรียนรู้
5.การได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้สังคม
6.การได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
7.การมีส่วนร่วมในสังคมและชุมชน
8.การตรากฎหมายเพื่อบังคับใช้ในการพิทักษ์สิทธิ
9.ารปลูกฝังค่านิยมให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2
(พ.ศ.2545 -2564)
วิสัยทัศน์ “ผู้สูงอายุเป็นหลักของสังคม”
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
หลักที่กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครองในด้านต่างๆ
-กระทรวงสาธารณสุข : เรื่องบริการทางการแพทย์ที่จัดไว้ให้โดยความสะดวกรวดเร็ว
-กระทรวงศึกษาธิการ : ส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุในการศึกษา
-กระทรวงแรงงาน : สนับสนุนในการประกอบอาชีพ
-กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-กระทรวงมหาดไทย
-กระทรวงวัฒนธรรม
-กระทรวงคมนาคม : การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ลดค่าโดยสารในช่วง (มิถุนายน-กันยายน). การบินไทยลดหย่อนค่าโดยสารแก่ผู้สูงอายุร้อยละ 15 และรถไฟใต้ดินลดหย่อนค่าโดยสารครึ่งราคา
-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ฟรีค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
-กระทรวงยุติธรรม
-กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-กระทรวงการคลัง : กำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับการหักลดหย่อนภาษีสำหรับบิดามารดา ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
เจตคติและประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
“วายคติ” (Ageism) หมายถึง ทัศนคติเชิงลบที่มีต่อคนวัยใดวัยหนึ่ง โดยทั่วไป จะใช้กับผู้สูงอายุ
Myth = ความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
Stereotype = ภาพในใจหรือการเหมารวมที่เรามองผู้สูงอายุ
Prejudice = เจตคติรังเกียจกลุ่ม ทำให้เกิดความรู้สึกเกลียดชัง ไม่ชอบ และอาจทำให้เกิดอคติ ความลำเอียงที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้สูงอายุ
Discrimination = การแบ่งแยกผู้สูงอายุออกจากบุคคลปกติ เป็นผลมาจากอคติและความลำเอียง
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสูงอายุ
1.แนวคิดพฤฒพลัง (Active ageing)
กระบวนการที่เอื้อให้เกิดการสร้างเหมาะสม และโอกาสในการพัฒนาตนเอง ช่วยลดอัตราการพึ่งพาลงได้
-การพึ่งพาตนเองได้
-การมีส่วนร่วมกับสังคม
-การสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้ตนเอง
2.แนวคิดผู้สูงอายุสุขภาพดี (Healthy ageing)
หมายถึง การเป็นผู้สูงอายุที่ปราศจากโรค มีศักยภาพในการดำรงชีวิตตามปกติ
3.แนวคิดการประสบความสําเร็จในวัยสูงอายุ (Successful ageing)
คือ ผู้สูงอายุที่มีความสำเร็จในชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับ activity
-Interpersonal relationship : ช่วยเหลือ สอนแนะคนอื่น
-Productive activity : ถ่ายทอดข้อมูล เพิ่มคุณค่าแก่สังคม
4.แนวคิดผู้สูงอายุยังประโยชน์ (Productive ageing)
การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและความสามารถในการพึ่งพาตนเองเท่าที่จะทำได้ของผู้สูงอายุ
ประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดูแลผู้สูงอายุ
1.Capacity : ผู้ป่วยมีความสามารถในการแยกแยะผลดีและผลเสีย
2.Dislosure : ผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลอย่างมากเพียงพอที่จะสร้างความเข้าใจสำหรับตัดสินใจ
3.Voluntariness : ผู้ป่วยตัดสินใจโดยปราศจากการขู่เข็ญบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดูแลผู้สูงอายุ
Advance Directive : คนไข้กำหนดหรือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในอนาคตเอาไว้
Living Will : เอกสารทางกฎหมายที่ยืนยันและให้ดำเนินการการรักษาพยาบาลตัดสินใจของคนไข้ตลอดจนการปฏิเสธหรือยอมรับการรักษาชีวิตคนไข้เอาไว้