Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยา จิตสังคม และจิตวิญญาณในผู้สู…
หน่วยที่ 5 กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยา จิตสังคม และจิตวิญญาณในผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสูงอายุ
ปัจจัยภายนอก เช่น การศึกษา เศรษฐานะ เกษียณอายุ
ปัจจัยภายใน เช่น สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรม เป็นต้น
กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยา
ระบบผิวหนัง
ชั้นหนังกำพร้า :ความชื้นลดลง ผิวบาง แตก ลอกหลุดได้ง่าย melanocytes ลดลง เป็นต้น
ชั้นหนังแท้ : ความหนาความยืดหยุ่นจำนวนเซลล์ลดลง หลอดเลือดลดลง ผิวซีด การควมคุมอุณหภูมิไม่ดี เป็นต้น
ชั้นใต้ผิวหนัง : ไขมันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหน้าท้องและต้นขาแต่บริเวณหน้าและหลังมือลดลง ต่อมเหงื่อต่อมกลิ่นลดลง ต่อมน้ำมันโตขึ้นเเต่หลั่งน้ำมันได้น้อยลง เป็นต้น
ผลกระทบ
ผื่นคัน ติดเชื้อ เกิดบาดแผลได้ง่าย แผลหายช้า เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
การพยาบาล
ใช้โลชั่นทาผิวอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
ทาครีมกันแดด ใส่หมวก แว่นตากันแดด
อยู๋ที่ที่อบอุ่นและสวมเสื้อผ้าให้อุ่นพอ
ดื่มน้ำอย่างน้อย 1,500 - 2,000 CC/วัน
ใช้สบู่ที่มีสภาพเป็นกลาง เช่น สบู่เด็กและตัดเล็บให้สั้น
ระบบประสาทและสมอง
ประสาทอัตโนมัติ : จำนวนเซลล์ประสาทลดลง Pigmentation และ Vacuolation เพิ่มขึ้น ทำให้หน้าที่ของประสาทอัตโนมัติเสื่อมลง
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย
รูม่านตาเล็กลง การตอบสนองต่อแสงน้อยลง ความดันโลหิตลดลงเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ มีความเสื่อมของการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
ประสาทสั่งการ
เซลล์ประสาทและการนำกระเเสประสาทลดลง 10-15 %
ความสามารถส่งกระแสประสาทในไซแนปส์ลดลง
สารเคมีที่ปลายประสาทลดลงส่งผลให้มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าช้าลง แต่มีปฏิกิริยาตอบสนองและการเคลื่อนไหวช้าลง
ระบบสมอง
น้ำหนักของสมองลดลงและสารสื่อประสาท Catecholamine, Serotonin และ Acetylcholine ลดน้อยลง
ผลกระทบ
ทำกิจกรรมต่างๆใช้เวลานานขึ้น
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการได้รับกลิ่นลดลง
ความสามารรถด้านการพูด/การสื่อสาร การเรียนรู้ การคิดคำนวณ สติปัญญาและความจำลดลง
มักจะจดจำเรื่องราวในอดีชัดเจนกว่าเหตุการณ์ปัจจุบัน
ระบบรับความรู้สึก
ตา
ลูกตาเล็กลง ความยืดหยุ่นหนังตาลดลง หนังตาตก รูม่านตาเล็กลง
ปฎิกิริยาตอบสนองต่อแสงลดลง
เลนส์หนาและเเข็งมากขึ้น การหักเหของแสงลดลง มองใกล้ไม่ชัด ความไวและความคมชัดต่อการมองภาพลดลง
แก้วตาขุ่นมัวมีสีเหลือง จึงมองแสงที่มีความเข้มสูงได้ดีกว่าแสงที่มีความเข้มต่ำ
ตาแห้ง เยื่อบุตาระคายเคืองง่ายความดันลูกตาสูงทำให้เกิดต้อหินง่าย
หู
การได้ยินลดลง หูตึงพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
การผลิตขี้หูลดลงเเต่มีการสะสมมากขึ้น
การไหลเวียนเลือดลดลงประกอบกับการฝ่อลีบในส่วนของ vestibular จึงมีอาการเวียนศีรษะโดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
จมูกเยื่อบุโพรงจมูกเสื่อมประกอบกับมีการสูญเสียหน้าที่ของเส้นประสาทคู่ที่ 1 ทำให้ความสามารถในการรับกลิ่นลดลง
ลิ้น
ตุ่มรับรสฝ่อลีบลงส่งผลให้รับรสชาติอาหารเสื่อมลง
การสัมผัสทางกาย
การเเตะต้องรวมถึงการรับอุณหภูมิและการรับความเจ็บปวดจะเสื่อมลงโดยเฉพาะบริเวณปลายมือปลายเท้า
การพยาบาล
ประเมินการเรียนรู้อย่างช้าๆและใช้สิ่งช่วยเตือนความทรงจำ
ประเมินสภาพแวดล้อมและจัดวางอุปกรณ์
ส่งเสริมให้ปฎิบัติกิจกรรมง่ายๆอย่างสม่ำเสมอโดยไม่เร่ง
เพิ่มแสงสว่างในที่ทำงาน
ใช้เเว่นสายตายาวในการอ่านหนังสือ
ใช้สีสว่างหรือสีฉูดฉาดกับอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
ใช้ประโยคสั้นๆช้าๆขณะสื่อสารเพื่อให้มองเห็นริมฝีปากผู้พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
หลีกเลี่ยงและระมัดระวังของร้อน
ระบบกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อ
กล้ามเนื้อ : ความแข็งเเรงลดลงซึ่งเกิดจากการสูญเสียน้ำ การขาดโพแทสเซียม เอ็นไซม์และเลือดที่ไหลผ่านกล้ามเนื้อลดลง
กระดูกและข้อ : มีการสูญเสียปริมาตรกระดูกทำให้กระดูกพรุน
ผลกระทบ :
สูญเสียภาพลักษณ์และบทบาททางครอบครัว
เกิดความไม่สุขสบายและรบกวนแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
การพยาบาล
ทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักหรือมีการต้านแรงและไม่เกิดการกระแทก
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมป้องกันอุบัติเหตุ
ใส่อุปกรณ์พยุงข้อ เช่น สนับเข่า ร่วมกับบริหารข้อและกล้ามเนื้อ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
กล้ามเนื้อหัวใจ : เนื้อเยื่อ collagen มากขึ้นส่งผลให้ความยืดหยุ่นลดลง ประสิทธิภาพการหดและคลายตัวลดลง น้ำหนักของหัวใจลดลง
ลิ้นหัวใจ : ตีบแคบ เปิดปิดได้น้อยลง นอกจากนี้หลังจากอายุ 60 ปี left bundle branch จะถูกแทนที่ด้วย Fibrous tissue
ระบบสื่อไฟฟ้าของหัวใจ มีการลดลงของ Pacemaker ใน S-A node ลดลงอย่างช้าๆ
หลอดเลือดแดงโคโรน่า ปริมาณElasticในผนังหลอดเลือดลดลง 1 ใน 3 มีการสะสมของแคลเซียมและไขมันมากขึ้นทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว (Arteriosclerosis)
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา
อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเพราะ
การไหลเวียนเลือดเข้าสู่ Ventricle ซ้ายช้าลงโดยลดลง 50 %
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ (cardiac output) ลดลง
หลอดเลือด
ผนังความยืดหยุ่นลดลง เส้นเลือดแข็งตัวเพิ่มขึ้น
ผนังชั้นใน : หนาตัวขึ้น มีการแตกสลายและมีโปรตีนมาเกาะมากขึ้น
ผนังชั้นกลาง :
มีการเสื่อมสลายเเละมีไขมันมาเกาะสะสมมากขึ้นและจะเริ่มมีแคลเซียมมาสะสมมากขึนด้วยทำให้เส้นเลือดเเข็งตัวและเกิดเส้นเลือดแตกหรืออุดตันได้ส่งผลให้ความดันเปลี่ยนแปลง
ผลกระทบ
1.หัวใจและหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆลดลง
อาจเกิดเลือดไหลย้อนทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
อาจเกิดหัวใจล้มเหลวและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
2.หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
อาจเกิดความดันโลหิตสูง
อาจเกิดหลอดเลือดดำโป่งขอด (Varicose vein) หลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm artery or vein) และหลอดเลือดดำอุดตัน (Venous thromboembolism)
การพยาบาล
แนะนำเรื่องอาหารที่ควรรับประทาน คือ ลดน้ำตาล ลดเค็ม งดอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟ สุรา
แนะนำให้ควบคุมน้ำหนัก
ใส่อุปกรณ์ที่กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและให้บริหารข้อขาและเท้า
หลีกเลี่ยงการนั่งไขว้ขา การยืนนานๆ
ตรวจและฟังเสียงหัวใจอย่างสม่ำเสมอ
ระบบหายใจ
ปลายจมูก : จะงุ้มลงเนื่องจาก Connective tissue มีการเสื่อมลงทำให้ผนังกั้นโพรงจมูกถูกดึงรั้งเข้าด้านใน
ขนโบกพัด (Cilia) ขจัดสิ่งแปลกปลอมหรือฝุ่นละอองได้ลดลง
กล่องเสียง : มี Calcification สะสมที่ฝาปิดกล่องเสียงทำให้ความยืดหยุ่นลดลง กล่องเสียงปิดช้าหรือปิดไม่สนิทอาจทำให้เกิดการสำลัก
หลอดลม : มีการสะสมของแคลเซียมการยืดขยายลดลง
ทรวงอกและปอด : รูปร่างคล้ายถังเบียร์รวมทั้งมีเเคลเซียมเกาะที่กระดูกอ่อนบริเวณชายโครง (Costral cartilage) ทั้ง 2 ข้างร่วมด้วยทำให้มีก๊าซในปอดเพิ่มมากขึ้น (Residual volume) ส่งผลให้คุณภาพการหายใจลดลง
ถุงลม : การยืดขยายตัวลดลง พื้นที่การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง ปริมาณ IgA ในสารคัดหลั่งและ Alveolar macrophage ลดลง
ผลกระทบ
คอแห้งและเจ็บคอ หลังการนอนหลับ เนื่องจากการไหลผ่านของอากาศเข้าทางจมูกลดลงทำให้ต้องใช้ปากในการช่วยหายใจ
เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย
เกิดการสำลักได้ง่าย
ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง
การพยาบาล
จัดท่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจให้อยู่ในท่านั่งศีรษะสูง
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด ให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
จัดโปรแกรมการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การขี่จักรยานและไม่หักโหมจนเหนื่อยเกินไป
แนะนำให้บริหารการหายใจบ่อยๆรวมทั้งให้เลิกสูบบุหรี่
ระบบทางเดินอาหาร
ฟัน : จะหลุดง่ายต้องใช้ฟันปลอม เนื้อเยื่อรอบฟันอักเสบ
กระเพาะอาหาร : กรดน้ำย่อยหลั่งลดลง ทำให้สมรรถภาพการย่อยอาหารลดลง เบื่ออาหารและท้องอืดได้ง่าย
ลำไส้เล็ก : การดูดซึมคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ลดลง
ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก : เยื่อบุลำไส้ฝ่อลีบลง อาหารผ่านช้าทำให้เศษอาหารคั่งค้าง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักลดลง
ตับอ่อน : มีพังผืดมากขึ้นและมีไขมันแทรกมากขึ้น ท่อตับอ่อนโตขึ้น Amylase และ Trypsin มีปริมาตรลดลง
ตับและระบบน้ำดี : ตับมีขนาดเล็กลงทำให้เลือดไหลเข้าสู่ตับน้อยลงเซลล์ตับตายสังเคราะห์โปรตีนได้น้อยลง ความสามารถในการทำลายพิษของตับลดลง
ผลกระทบ
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
อาจเกิดภาวะท้องผูกและการกลั้นอุจจาระไม่อยู่
อาจเกิดภาวะสารพิษตกค้างหรือภาวะแทรกซ้อนจากฤทธิ์ของยา
อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
การพยาบาล
แปรงฟัน 2-3 ครั้งต่อวัน ใช้แปรงขนนุ่มและใช้ไหมขัดฟัน
กรณีใส่ฟันปลอมต้องล้างทําความสะอาดทุกวัน
ตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือนหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทําให้ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย ควร
รับประทานอาหารทีมีกากใยเพิ่มขึ้น
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1500 CC
แนะนำเรื่องการขับถ่ายอุจจาระให้เข้าทันทีที่ปวดไม่กลั้นและฝึกการถ่ายให้เป็นเวลา
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ไต : จํานวนหน่วยกรอง (Glomerulus) ลดลง 30-50 % ทําให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้น
กระเพาะปัสสาวะ : ช่องขับถ่ายปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดมีสมรรถภาพลดลงไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ผู้ชายอาจมีปัสสาวะขัดเนื่องจากต่อมลูกหมากโตส่วนผู้หญิงอาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
ผลกระทบ
เสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงจากการไหลเวียนเลือดไปที่ไตลดลง
เกิดปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และปัสสาวะลำบาก
อาจเกิดปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การพยาบาล
ติดตามและบันทึกประสิทธิภาพการทำงานของไต
ประเมินการถ่ายปัสสาวะ ถ้ากลั้นไม่อยู่ให้วางแผนการขับถ่าย
จัดห้องไม่ให้มีสิ่งกีดขวางและคอยช่วยเหลือในการเข้าห้องน้ำ
ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมใต้สมอง
Growth hormone : ทําให้ผิวหนังบางแห้ง มีการสะสมไขมันบริเวณลำตัวมากขึ้น กระดูกบางลง ความเเข็งเเรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อลดลง
Antidiuretic hormone : หน่วยไตไม่สามารถดูดน้ำกลับและสูญเสียความสมดุลของโซเดียมภายในร่างกาย
Corticotrophic : การผลิตฮอร์โมนทั้งเพศชายและเพศหญิงลดลง
ต่อมหมวกไต
ต่อมส่วนนอก : มีเนื้อเยื่อพังผืดเพิ่มขึ้นอัตราการหลั่ง cortisal ลดลงทำให้ร่างกายสร้าง ACTH เพิ่มขึ้นไปยับยั้ง Aldosterone ในเลือดและปัสสาวะลดลง 50% ทำให้สูญเสียไปกับปัสสาวะมากขึ้น
ต่อมส่วนใน : การหลั่งของ
Epinephrine และ Norepinephine ใช้เวลายาวนานกว่าวัยอื่นๆ
ต่อมไทรอยด์
น้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีเนื้อเยื่อพังผืดมาสะสมมากขึ้น
ความสามารถในการผลิตฮอร์โมนลดลง T3,T4 ลดลง
ตับอ่อน : เซลล์ฝ่อลีบลง ทำให้ระดับกลูโคสในเลือดสูงกว่าคนอายุน้อย
ต่อมพาราไทรอยด์ : ฮอร์โมนทำงานเพิ่มขึ้นเพราะระดับเอสโตรเจนซึ่่งออกฤทธิ์ต้านการทำงานของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ลดลง
ต่อมเพศ : การตอบสนองต่อรังไข่และอัณฑะจากการกระตุ้นด้วย FSH และ LH ลดลง
ผลกระทบ
เกิดภาวะเสียสมดุลของเกลือแร่ภายในร่างกาย
อาจเกิดความดันโลหิตสูง
เกิดหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
เกิดน้ำตาลในเลือดสูง
เกิดภาวะกระดูกพรุนและเสี่ยงต่อกระดูกหักได้
การพยาบาล :
ตรวจระดับ TSH , น้ำตาลและความดันโลหิตเป็นช่วงๆอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีเเคลเซียมสูง
แนะนำให้ออกกำลังกายท่ามกลางแสงแดดอ่อนๆ
ระบบสืบพันธุ์
อัณฑะ
ขนาดเล็กลง
เชื่ออสุจิที่หลั่งแต่ละครั้งมีจำนวนเท่าเดิม
การสร้างเชื้ออสุจิในเเต่ละวันจะลดลงกว่าคนอายุน้อย
ความถี่ในการร่วมเพศน้อยลง
การเคลื่อนไหวของอสุจิแต่ความสามารถในการผสมกับไข่ยังไม่เปลี่ยนแปลง
Testosterone สร้างน้อยลงทำให้ในเลือดมีปริมาณลดลง
ต่อมลูกหมาก : เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป Collagen จะมาแทนที่ Columnar cell ทำให้ต่อมลูกหมากขยายโตขึ้น
ถุงเก็บน้ำอสุจิ : ความจุจะมีขนาดเล็กลงบางคนจึงไม่มีน้ำอสุจิมากเหมือนเมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่ม
องชาติ : ความสามารถในการเเข็งตัวลดลง เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ผลกระทบเพศชาย
เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะลำบาก ส่งผลรบกวนแบบแผนการนอนหลับจากปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืนอาจส่งผลให้การนอนหลับไม่เพียงพอ
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ กลัวประสบความล้มเหลวทางเพศ สูญเสียบทบาททางเพศส่งผลให้เกิดปัญหาด้านจิตใจตามมา
ผลกระทบเพศหญิง
ภายนอกเหี่ยวย่น ไขมันใต้ผิวหนังลดลง
พื้นผิวช่องคลอดบางและยืดหยุ่นลดลง น้ำหลั่งต่างๆลดลง
ปากมดลูกมีขนาดเล็กลง เยื่อบุผิวมดลูกเสื่อมลงจำนวนต่อมต่างๆลดลงพังผืดมากขึ้น
รังไข่ขนาดเล็กลง Atreticfollicles ค่อยๆหายไปและมีพังผืดมาเเทนที่
ประจำเดือน เมื่ออายุมากขึ้นรอบเดือนจะสั้นลง จนประมาณอายุ 45-50 ปี ประจำเดือนจึงเริ่มขาด
การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน เมื่อเข้าสู่่วัยสูงอายุรังไข่จะฝ่อเล็กลงและหยุดสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน
อาจเกิดเนื้องกทั้งชนิดธรรมดาและชนิดที่เป็นเนื้อร้าย
เกิดความเจ็บปวดในการมีเพศสัมพันธ์และอาจเกิดการติดเชื้อภายในระบบสืบพันธุ์
เกิดการสูญเสียภาพลักษณ์ในตนเอง
การพยาบาล
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ในการใช้ฮอร์โมนทดแทน
แนะนำใช้สารหล่อลื่นช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
ขจัดความเชื่อที่ว่าเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับผู้สูงอายุ
ระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่ออายุมากขึ้นการทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันจะค่อยๆลดลง
ปริมาณของอิมมูโนโกลบูลินและการทำหน้าที่ของ Cell mediated immunity จะน้อยกว่าคนหนุ่มสาวทำให้อัตราการเกิดโรค Autoimmune และโรคมะเร็งมากกว่าหนุ่มสาว
ผลกระทบ
เกิดการติดเชื้อง่าย
ป่วยด้วยโรค Autoimmune & Cancerได้ง่าย
การพยาบาล
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการให้พยาบาล
ดูแลให้ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโรคและปฏิบัติการพยาบาลโดยยึดหลักปราศจากเชื้อ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ
ความต้องการด้านจิตสังคมในผู้สูงอายุ
ความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่
ความเป็นอยู่ที่ดี
ความปลอดภัย
ความมีอิสระ
ได้รับการยอมรับ
ความมั่นคง : สังคม เศรษฐกิจ อารมณ์ ความรัก
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย คือ สภาพร่างกายที่เสื่อมลง ทำให้เกิดความเจ็บป่วยบ่อย
การเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคม เช่น การเกษียณอายุหรือออกจากงาน เป็นต้น ส่งผลให้สภาพจิตใจของผู้สูงอายุเกิดการเปลี่ยนแปลง
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
อารมณ์ : จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย กลัวถูกทอดทิ้ง ขาดความมั่นใจในตนเอง ขาดความคุ้นเคย ไม่สามารถปรับตัวได้
นิสัย : เปลี่ยนเป็นเฉยชา ไม่เข้าสังคม เก็บตัว คิดว่าตนเองเป็นภาระไม่มีประโยชน์อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
ความทุกข์ใจ : คิดอาลัยอาวรณ์เกี่ยวกับอดีค วิตกกังวล หวาดระแวง คิดถึงอนาคตด้วยความหดหู่ โดยเฉพาะรายที่สูญเสียคู่ชีวิต
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางจิต สังคม
ทฤษฎีของอีริคสัน ได้แบ่งพัฒนาการทางจิตใจวัยสูงอายุไว้ในขั้นที่ 8 วัยสูงอายุจะทบทวนประสบการณ์ในอดีต
1.บุคลิกภาพ (Personality) วัยสูงอายุมักจะไม่ต่างจากเดิม
การเรียนรู้ (Learning) เริ่มลดลงเมื่ออายุ 40-50ปี ขึ้นอยู่กับสติปัญญา การศึกษา แรงจูงใจ ความตั้งใจและความสามารถ
3.ความจำ (Memory) จำเรื่องราวในอดีตได้ดีแต่จำสิ่งใหม่ๆได้ลดลง
สติปัญญา (Intelligence) เริ่มลดลงหลังอายุ 30 ปีและเกี่ยวข้องกับระดับการศึกษา การเรียนรู้ในอดีตและประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
5.สมรรถภาพ (Competence and performance) การรับรู้ข้อมูล (Competence) และการนำความรู้ไปปฎิบัติ (Performance) ลดลง โดยส่วนใหญ๋การนำความรู้ไปปฏิบัติจะต่ำกว่าการรับรู้ข้อมูล
6.เจตคติ ความสนใจและคุณค่า (Attitudes, Intersrts and Values) แตกต่างกันในเเต่ละบุคคลซึ่งการเปลี่ยนเจตคติผู้สูงอายุไม่ใช่สิ่งง่าย
7.การรับรู้ตนเองและความรู้สึกมีคุณค่า (Self-concept and Self-esteem ) ถ้าเป็นทางบวกจะช่วยให้ปรับตัวและแก้ปัญหาได้ดีและการเตรียมงานที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองได้
บุคลิกภาพของผู้สูงอายุ
1.ผสมผสาน (Integrated personalities)
Reorganizers ค้นหากิจกรรมเพื่อปรับความสามารถเดิมที่หายไป
Focused มีกิจกรรมและระดับความพึงพอใจปานกลาง
Disengaged ถอยตนเองออกจากสังคม มีกิจกรรมน้อยแต่มีระดับความพอใจสูง
2.ต่อต้าน (Defended personalities)
Holding on : เกลียด กลัวความชรา พยายามยึดบุคลิกภาพของตนในวัยกลางคนไว้
Constricted : เกลียด กลัวความชรา มีความพอใจสูงถ้าบทบาทตนมีน้อยตามที่คาดหวังไว้
3.เฉยชาและพึ่งพาบุคคลอื่น (Passive-dependent personalities)
Succurance seeking : พึ่งพาบุคคลอื่นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ของตนเอง
Apathy or rocking chair : พฤติกรรมเฉยชามึนซึม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
4.แบบขาดการผสมผสาน (Unintegrated personalities)
พบในผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปรับตัวให้ยอมรับความชราของตนเองได้ การควบคุมอารมณ์ มีการบกพร่องด้านความคิดอ่านและสภาวะจิตใจอย่างเห็นได้ชัด
หลักการช่วยเหลือ
การเรียนรู้
กระตุ้นและเสริมแรงด้านต่างๆ
ให้เวลามากขึ้นในการทำกิจกรรม
ให้ทำกิจกรรมที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
ความจำ
เขียนหนังสือตัวโตๆ การใช้สี
การจดบันทึกมีสมุดพกติดตัว
ฝึกคิดคำนวณเล่นเกมส์บ่อยๆ
ทำสมาธิ ออกกำลังกาย
แนะนำอาหารที่มีวิตามินบี 12
ไม่ควรถามซ้ำหรือเน้นเรื่องที่จำไม่ได้
ลักษณะความเสื่อมทางสติปัญญา
1.ความสามารถในการใช้เหตุผล (Inductive reasoning) เสื่อมเร็วกว่าการคำนวณ บวก ลบ ตัวเลข (numerical ability)
2.ความสามารถเรื่องนามธรรมมีจำกัด
ความสามารถการคิดสร้างสรรค์ลดลง
ความสามารถการคิดอิสระลดลง
5.มักใช้วิธีแก้ปัญหาแบบที่เคยปฏิบัติโดยไม่เปลี่ยนแปลง
ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
พบบ่อย คือ ซึมเศร้า วิตกกังวล และความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังซึ่งต้องการการดูแลและช่วยเหลือด้วยความเข้าใจและอาจต้องพึ่งการรักษาด้วยยา
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
มีกิจกรรมหรือมี่ส่วนร่วมทางสังคมลดลง
รู้สึกคุณค่าของตนเองลดลง
ขาดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนจากสังคม การรับรู้ข้อมูลลดลง
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
1.ปลดเกษียณหรือออกจากงาน : การปรับตัวไม่ทันอาจเกิดความรู้สึกสูญเสียในเรื่องต่างๆ
2.การเปลี่ยนแปลงของสังคมครอบครัว : ถูกทอดทิ้งขาดที่พึ่งหรือการตายของคู่หรือไม่อยากย้ายไปอยู่ร่วมกับลูกหลาน
3.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม : ถูกมองว่าขาดคุณค่า ขาดความสามารถ การเคารพนับถือน้อยลง
4.การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม : ผู้สูงอายุยังยึดมั่นกับคตินิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิม
แบบแผนการปรับตัวต่อการเป็นหม้าย
Stage 1 reactionary : ไม่เชื่อ ปฏิเสธ โกรธไม่เเน่ใจ
Stage 2 withdrawal : ซึมเศร้า ไร้อารมณ์ การรับรู้ช้า นอนไม่หลับ
Stage 3 recuperation : อาการซึมเศร้าเริ่มลดลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
Stage 4 exploration : เริ่มผจญภัยกับบทบาทใหม่ ทดสอบบทบาทใหม่
Stage 5 integration : รับบทบาทใหม่ได้และพอใจกับบทบาทนั้น
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิญญาณ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตวิญญาณ
ความเชื่อภายในตน : เชื่อว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเป็นผลจากการกระทำของตนเอง
ความเชื่ออำนาจภายนอกตน : เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนไม่ได้มาจากการกระทำของตนเเต่เป็นเพราะโชคชะตา หรือความบังเอิญ
ผลกระทบด้านจิตวิญญาณต่อพฤติกรรมสุขภาพ
1.ภาวะสุขภาพ : ถ้าเชื่ออำนาจภายในสูง สุขภาพดีได้จากการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ถ้าเชื่ออำนาจภายนอกสูงไม่ต้องแสวงหาความรู้หรือไม่ต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องก็ได้
2.การป้องกันโรค : เชื่ออำนาจภายในสูงมีพฤติกรรมป้องกันโรคดี
การเผชิญความเจ็บป่วย : เชื่ออำนาจภายในสูงจะหายจากโรคได้เร็วกว่า มีการปรับตัวได้ดีกว่า
4.การให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล เชื่ออำนาจภายในสูงจะเต็มใจรับการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำ
การพยาบาล
ให้ความรู้ทั้งผู้สูงอายุเเละครอบครัว : การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจอาชีพ
ส่งเสริมการปรับตัวด้านจิตสังคม : การดูแลตนเอง การปรับสิ่งแวดล้อม ความรู้สึกมีคุณค่าและความสามารถในตนเอง
สนับสนุน ส่งเสริมหรือปรับแก้พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับความเชื่อด้านจิตวิญญาณ
ให้การดูแล ช่วยเหลือ เมื่อยามเจ็บป่วย