Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive agents) - Coggle Diagram
ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive agents)
1.กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แคลซินิวริน (Calcineurin inhibitors)
Cyclosporin A (CsA)
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้ป้องกันการรักษา acute graft rejection ในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไต หัวใจ ปอดและตับ
ผลข้างเคียงจากยา
พิษต่อไต ขึ้นกับขนาดยาที่ให้ และระดับยาในเลือด
พิษต่อระบบประสาท
ยามีฤทธิ์กดไขกระดูกเพียงเล็กน้อย จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้น้อยกว่า
อาจทำให้ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง การทำงานของเหงือกผิดปกติ เหงือกบวม และขนดก
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งเอนไซม์ calcineurin ส่งผลยังยั้งการสร้างและการหลั่ง IL-2 จาก T cell
Tacrolimus (FK506)
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้แทน Cyclosporin ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่
ผลข้างเคียงจากยา
คล้ายกับ Cyclosporin แต่ยาไม่ทำเหงือกหนา หรือขนดก
ยามีพิษต่อระบบประสาท ซึ่งพบได้บ่อยกว่า Cyclosporin
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์เหมือนกับ Cyclosporin แต่เป็นยาใหม่กว่า Cyclosporin และฤทธิ์แรงกว่า Cyclosporin 100 เท่า
2.กลุ่มยาที่มีพิษต่อเซลล์ (Cytotoxic agents)
Azathioprine (Imuran)
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้ร่วมกับย่ากลุ่ม Corticosteroids & Cyclosporin ในการรักษาแบบ triple therapy เพื่อป้องกัน acute graft rejection จากการปลูกถ่ายไต หรือ ตับ
ผลข้างเคียงจากยา
กดการทำงานของไขกระดูก
คลื่นไส้ อาเจียน เกิดพิษต่อตับ เมื่อให้ในขนาดสูง
ตัวเหลือง ตาเหลือง ผลร่วง กล้ามเนื้ออ่อนแรงอ่อนแรง เป็นผื่น
กลไกการออกฤทธิ์
มีผลยังยั้งการสร้าง DNA และยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์
Mycophenolate mofetil (MMF)
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้ป้องกันและรักษา acute graft rejection ในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายอวัยวะร่วมกับตัวยาอื่น
ผลข้างเคียงจากยา
กดไขกระดูกทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อ รบกวนทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียงที่พบน้อย ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ตับอ่อนอักเสบ พิษต่อตา พิษต่อตับ
กลไกการออกฤทธิ์
เมื่อเขาสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น Mycophenolic acid (MPA) ส่งผลยับยั้งการสร้าง DNA,RNA และโปรตีน
Sirolimus หรือ Everolimus
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการทำงานของ mammalian target of rapamycin ; mTOR
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้ป้องกันการเกิด acute graft rejection (การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะแบบเฉียบพลัน)
ผลข้างเคียงจากยา
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
กดไขกระดูก ทำให้เกร็ดเลือดต่ำ
Leflunomide
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ผลข้างเคียงจากยา
พิษต่อตับ พิษต่อไต ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับและโรคไต
กดไขกระดูก ทำให้เกร็ดเลือดต่ำ และเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อง่าย
กลไกการออกฤทธิ์
ยาไปยับยั้งการสังเคราะห์ pyrimidine ส่งผลให้การสังเคราะห์และการสร้าง DNA & RNA ถูกยับยั้ง จึงทำให้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านการเจริญเติบโตของเซลล์
3.กลุ่มอดรีโนคอร์ติคอยด์ (Adrenocorticoids)
กลไกการออกฤทธิ์กลุ่มยาอดรีโนคอร์ติคอยด์
การออกฤทธิ์จะไปควบคุมการทำงานของ gene โดยจับกับ steroid receptor
ผลข้างเคียงของกลุ่มยยาอดรีโนคอร์ติคอยด์
ผลข้างเคียงเหมือนกับการใช้กลุ่มยา steroid โดยความรุนแรงของผลข้งเคียงขึ้นกับขนาดแลัระยะเวลาในการใช้งาน เพื่อลดผลข้างเคียงควรห้ยา cortricosteroids ร่วมกับยาอื่น
การใช้ยา cortricosteroids เป็นระยะเวลานานมีผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม หน้ากลมคล้ายรูปพระจันทร์ ติดเชื้อง่าย อารมณ์แปรปรวนง่าย เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ในด้านกดภูมิคุ้มกัน หากใช้ในขนาดที่สูง สามารถนำไปใช้กดอาการแสดงของโรคภูมิคุ้มกัน
4.กลุ่มสารยังยั้ง Cytokines (Cytokines inhibitors)
Anti-TNF-α antibody
ผลข้างเคียงจากยา
กดไขสันหลัง เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย
อาจพบอาการ ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
พบปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีดยา
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมมาตอยด์ กีณีไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอื่น
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น antibodies ที่จับกับ TNF-α ซึ่งเป็น cytokine ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ
Anti-IgE mAbs
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้รักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากภูมิแพ้ ในผู้ป่วยที่ไม่ตอยสนองต่อการใช้ยากลุ่ม steroids ชนิดสูดพ่น
ผลข้างเคียงจากยา
อาจเกิด anaphylactic reaction หลังจากได้รับยาสองชั่วโมง
อาจพบอาการปวดศีรษะ หรือ ปวดบริเวณที่ฉีดยา
เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเพิ่ม และอาจเหนี่ยวนำให้เกิดโรคมะเร็งได้
กลไกการออกฤทธิ์
ยาปิดกั้นการหลั่ของ IgE กับ Fc receptor ส่งผลให้ลดการหลั่งสารที่เกิดการแพ้ ยายังทำให้ระดับ IgE นเลือดเพิ่มสูงขึ้น แม่ว่าจะหยุดยาไปแล้ว
Anti-CD2
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้รักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
ผลข้างเคียงจากยา
อาจพบอาการไข้ หนาวสั่น ืปวดกล้ามเนื้อ ติดเชื้อง่าย และห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วย HIV
กลไกการออกฤทธิ์
เกิดฤทธิ์โดยจับกับ CD2 บนพื้นผิว T cell ทำให้ลดการแบ่งตัว ยับยั้งการกระตุ้นและเกิดการทำลาย T cell
Anti-lymphotyce globulin (ATG)
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้รักษาภาวะปฏิเสธการปลูกถ่ายไตแบบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไต
ผลข้างเคียงจากยา
มักมีไข้ หนาวสั่น เกล็ดเลือดต่ำ เป็นตุ่มตามผิวหนังและปวดข้อ เกิดการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้สูง
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์โดยการจับกับโมเลกุลบนพื้นผิว T cell ลดการแบ่งตัว ยับยั้งการกระตุ้นและเกิดการทำลาย T cell ยาแแกฤทธิ์แรง
Anti-IL receptor antibody
การนำไปใช้รักษาในคลินิก
ใช้ในผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายไต เพื่อเป็นการป้องกันการเกิด acute graft rejection หรือการปฏิเสธการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะแบบเฉียบพลัน
ผลข้างเคียงจากยา
อาจพบอาการแพ้ยาได้
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้น lymphocyte ด้วย IL-2 ที่เป็น pathway