Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
การส่งเสริมสุขอนามัย
การดูแลความสะอาดร่างกาย
การดูแลทำความสะอาดของหู
การดูแลทำความสะอาดหู (Ear care) หูเป็นอวัยวะรับรู้สึกที่เกี่ยวกับการได้ ยินและการทรงตัว โดยปกติคนทั่วไปจะดูแลหูเฉพาะด้านนอกให้สะอาดปราศจากขี้ไคลบริเวณหลังใบ หู หลังสระผมมักจะมีน้ำเปียกในช่องหูใช้ผ้าขนหนูนุ่ม เช็ดให้แห้ง การเช็ดทำความสะอาดช่องหูหลัง อาบน้ำควรใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดในช่องหูทั้ง 2 ข้าง สำหรับผู้ปุวยที่ใส่เครื่องช่วยฟังต้อง ดูแลเป็นพิเศษ
หลังการอาบน้ำต้องทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกของหูให้สะอาด การดูแลไม่ถูกสุขลักษณะ อาจทำให้เกิดหูน้ำหนวก (otitis media) ซึ่งนอกจากทำให้เสียบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิด การติดเชื้อในสมองได้
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
การทำความสะอาดจมูก (Nose care) เป็นการทำความสะอาดรูจมูกและรักษาสุขภาพ ของเนื้อเยื่อจมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่คาสายไว้
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ เป็นการทำความสะอาดเส้น ผมและหนังศีรษะรวมทั้งการกระทำเพื่อแก้ปัญหาของเส้นผมและหนังศีรษะซึ่งในที่นี้หมายถึง การสระ ผมให้ผู้ปุวยบนเตียง (shampoo in bed)
การสระผมผู้ป่วยบนเตียง เป็นการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ช่วยส่งเสริมความสุขสบาย ในขณะนอนป่วย ทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่นอนติดเตียง (bed ridden) เมื่อมีอุปกรณ์รถเข็นสระผมผู้ป่วยเคลื่อนที่ช่วยในการสระผมผู้ป่วยบนเตียง ญาติหรือผู้ดูแลก็สามารถ ให้การดูแลช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดูแลความสะอาดของเล็บ
เครื่องใช้
อ่างใส่น้ำอุ่น
ถาดใส่สบู่ ผ้าถูตัว ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ ตะไบเล็บ กระดาษรอง
ถุงมือสะอาด และmask
วิธีการปฏิบัติ
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการใช้
คลี่ผ้าเช็ดตัวรองอ่างน้ำ แช่มือ หรือเท้าสักครู่
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ใช้ผ้าเช็ดตัวถูสบู่พอกขัดตามซอกเล็บ ง่ามนิ้ว
ยกอ่างน้ำออก เช็ดมือหรือเท้าให้แห้ง
ปูกระดาษรอง ตัดเล็บให้ปลายเล็บตรงและข้างไม่โค้งไม่ตามซอกเล็บ ปลายเล็บควรปล่อยให้ยาวกว่าปลายนิ้ว
ใช้ตะไบถูเล็บและขอบเล็บ
เปลี่ยนน้ำ ล้างมือหรือล้างเท้าอีกครั้งหนึ่ง เช็ดให้แห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้ชาย (Perineal care of male) เป็นการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกชาย เป็นการดูแลสุขวิทยาส่วน บุคคลระดับพื้นฐาน การหมักหมม เปียกแฉะตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เกิดการระคายเคือง การ อักเสบ การติดเชื้อ ของระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว ยังอาจเกิดแผลกดทับ (pressure sore) โดยการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิง (Perineal care of female) เป็นการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหญิง เป็นการดูแลสุขวิทยาส่วน บุคคลระดับพื้นฐาน ที่ช่วยลดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้วิธีหนึ่ง เพราะท่อปัสสาวะของ เพศหญิง ยาวประมาณ 2-4 นิ้ว การหมักหมม เปียกแฉะตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เกิดการระคาย เคือง การอักเสบ การติดเชื้อ แล้วยังอาจเกิดแผลกดทับ (pressure sore) โดยการทำความสะอาด อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
หลักการทำความสะอาดปากและฟัน
ผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปาก มีแผล ปากแห้ง ไม่สามารถรับประทานอาหาร และน้ำทางปากได้ ต้องทำความสะอาดปากและฟันให้ทุก 2 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว พยาบาลต้องทำความสะอาดปากและฟันให้เป็นพิเศษ
แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน นาน 5 นาที
วิธีการทำความสะอาดปากและฟันผู้ป่วยที่ช่วยตนเองได้
นำเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง หรือท่านั่ง
พยาบาลแนะนำตนเอง บอกให้ผู้ป่วยทราบและอธิบายวัตถุประสงค์ และ วิธีการทำความสะอาดปากและฟันอย่างง่ายเพื่อความร่วมมือ
ล้างมือและสวมถุงมือ เพื่อปู้องกันจุลินทรีย์
ปูผ้ากันเปื้อนใต้คาง วางชามรูปไตใต้คาง ให้ผู้ป่วยช่วยถือไว้ หรือวางบนโต๊ะ คร่อมเตียง
ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด และแปรงฟันตามขั้นตอน
การทำความสะอาดปากฟันในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย
เครื่องใช้
แก้วน้ำ
ไม้พันสำลี
น้ำยาบ้วนปาก
ชามรูปไต
ลูกสูบยางแดง
ไม้กดลิ้น
syringe 10 cc
3% hydrogen peroxide
สารหล่อลื่นทาริมฝีปาก
วิธีทำความสะอาดปากฟันผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
ตรวจดูสภาพของปากและฟัน
ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาบ้วนปาก
ใช้ลูกสูบยางดูดน้ำฉีดล้างช่องปากและในซอกระหว่างกระพุ้งแก้มและฟัน
ทำความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านนอก และเหงือกให้ทั่วอย่างถูกวิธี
ใช้ไม้กดลิ้น พันด้วยผ้าก๊อซเพื่อช่วยอ้าปาก
ตรวจดูสภาพของเยื่อบุปาก เหงือก ฟัน และลิ้น
ทำาความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านใน ด้านบดเคี้ยวให้ทั่ว
สูบฉีดล้างช่องปากให้ทั่ว ดูดน้ำออกให้หมด
เช็ดปากให้ผู้ป่วย ถ้าริมฝีปากแห้งทาด้วยวาสลิน
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การประเมินผู้ป่วย (Health assessment)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/ การอาบน้ำ (Bathing)
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน (Partial bath)
การทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่สามารถอาบน้ำเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ป่วยไม่สารถเช็ดเองได้
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์ (Complete bed bath)
การทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำเช็ดตัวให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมดหรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียง
ซึ่งต้องนอนบนเตียง หรือนอนติดเตียง
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ (Bathing in bath room/ Shower)
เป็น การช่วยเหลือพาผู้ป่วยไปทำความสะอาดร่างกายในห้องน้ำ โดยมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัว หรือตักน้ำอาบร่างกาย เมื่อผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียงได้ พยาบาลช่วยพยุงเดินไปห้องน้ำ ช่วยเตรียมของใช้ ให้พร้อม เปิดก๊อกน้ำให้ปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม จัดที่นั่งในห้องน้ำให้สะดวกต่อการช่วยตนเองในการ อาบน้ำ บางรายอาจต้องช่วยทำความสะอาดหลังและเท้าให้ พยาบาลต้องประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ปุวยก่อนพาไปอาบน้ำที่ห้องน้ำ
การนวดหลัง (Back rub or back massage)
เป็นศิลปะที่ใช้การสัมผัสด้วยมือที่ นุ่มนวลมีจังหวะ มีความหนักเบาและยังเป็นการสื่อสารติดต่ออย่างหนึ่งในการพยาบาลผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและมีสัมพันธภาพที่ดีกับพยาบาล
การดูแลความสะอาดของตา
การดูแลความสะอาดของตา (Eye care) เป็นการท าความสะอาดตา รวมทั้งการกระทำเพื่อแก้ปัญหาด้านอนามัยของตา ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการทำความสะอาดตาที่มีขี้ตา และการดูแลอนามัยของตาในผู้ปุวยที่ไม่รู้สึกตัว
การทำความสะอาดตา
ผู้ป่วยบางรายอาจมีขี้ตามากกว่าปกติ ขี้ตาอาจแห้งติดหนังตาหรือขนตา ซึ่งจำเป็นต้อง กำจัดออก ไปวันละ 2-3 ครั้ง
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
การดูแลสุขภาพตนเองเป็นสิ่งที่มนุษย์ปฏิบัติกันมาช้านาน การทำความสะอาดร่างกาย ตนเองเป็นพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกวัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการอยู่รวมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะเจ็บป่วย จะไม่มีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ พยาบาล จะเป็นผู้ให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายแก่บุคคลเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยนั้น การดูแล สุขอนามัยเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่พยาบาลควรตระหนักถึง
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การพยาบาลตอนเช้า (Morning care/ A.M care) เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้า ที่จะให้การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อย เป็นการพยาบาลเพื่อดูแล สุขอนามัยส่วนบุคคลประจำวัน
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น (Afternoon care/ P.M. care) เป็นหน้าที่ของ พยาบาลเวรเช้า หากทำกิจกรรมภายในช่วงก่อนเวลา 16.00 น. หากทำในช่วงเวลาตอนเย็นจะเป็นหน้าที่ของเวรบ่ายในการดูแลทำความสะอาดปากและฟัน การล้างมือ ล้างหน้า หวีผม สระผม การให้บริการหม้อนอน หรือกระบอกปัสสาวะ ตลอดจนการรักษาพยาบาลอื่น ที่มีในเวรบ่าย
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด (Early morning care) เป็นหน้าที่ความ รับผิดชอบของพยาบาลเวรดึก ที่ให้การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด เมื่อผู้ป่วยตื่นนอนแล้ว พยาบาลจะดูแลผู้ป่วย ช่วยเหลือเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ
การพยาบาลตอนก่อนนอน (Evening care/ Hour of sleep care/ H.S. care) เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรบ่าย เป็นการพยาบาลที่ให้การดูแลเรื่องการให้หม้อนอนหรือกระบอก ปัสสาวะ การล้างมือ ล้างหน้าทำความสะอาดปากฟัน การนวดหลัง การจัดท่าให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน อย่างสุขสบาย เพื่อให้ผู้ปุวยรู้สึกผ่อนคลายและเตรียมตัวเข้านอน ช่วยให้พักผ่อนนอนหลับได้ดีขึ้น
การพยาบาลเมื่อจำเป็นหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการ (As needed care/ P.r.N. care) พยาบาลให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย เป็นบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถ พิจารณากระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องมีคำสั่งของแพทย์
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
ถิ่นที่อยู่ การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน
ภาวะเจ็บป่วย
อาชีพ
สิ่งแวดล้อม
การศึกษา
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ และวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
เพศ ความแตกต่างของเพศจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
. ความชอบ
อายุ ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
ภาวะสุขภาพ
เศรษฐกิจ
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์ได้ง่าย
ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้ เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำ ให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลง สมาธิไม่ดี และแก้ไขปัญหาได้ช้า
ผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่าง เช่น อาการเมื่อยล้าคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปวดศีรษะ วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน (vertigo) ความทนต่อ
ความเจ็บปวดลดลง กล้ามเนื้อคออ่อนแรง ความคิดและการรับรู้บกพร่อง เหนื่อยล้า เฉื่อยชา การพูด เสียไป
ผลกระทบทางสังคม บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลทางสังคม ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง ความมั่นใจในการทำงานลดลง และมีการ ใช้ระบบบริการทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
ความไม่สุขสบาย
ความเจ็บปวด
การใส่สายยางและท่อระบายต่าง ๆ
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
ภาวะไข้หลังผ่าตัด
ความวิตกกังวล
ความกลัวและความวิตกกังวลในเรื่องต่าง เป็นปัจจัยรบกวนคุณภาพของการนอนหลับ
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ
เพศ
ปัจจัยภายนอก
แสง
ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
อุณหภูมิ
กิจกรรมการรักษาพยาบาล
อาหาร
ยา
เสียง
การทำเตียง
การทำเตียง (Bed making) เป็นการส่งเสริมการพักผ่อนกลการนอนหลับให้มี ความสุข มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี พยาบาลต้องดูแลจัดความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยให้ผู้ป่วย นอนหลับได้อย่างมีความสุขตลอดระยะเวลาขณะที่นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
การทำเตียง มี 4 ชนิด
การทำเตียงว่าง
เป็นการทำเตียงที่ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากหอผู้ปุวย เพื่อเตรียมรับ ผู้ป่วยใหม่ หรือทำเตียงที่ผู้ป่วยสามารถลงเดินช่วยเหลือตนเองได้
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่สามารถลุกจากเตียงได้ ไม่จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา อาจเป็นผู้ป่วยที่แข็งแรง ช่วยเหลือตนเองได้ดี หรือต้องพึ่งผู้อื่นในบางส่วน หรือสามารถนั่งได้เป็น เวลานาน
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงไม่ได้
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือได้ต้องพึ่งผู้อื่นในการทำกิจกรรม
การทำเตียงรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ
เป็นการทำเตียงหลังจากส่งผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดหรือการตรวจและได้รับยาสลบ
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
สงวนพลังงาน พลังงานที่ใช้ของร่างกายและสมองจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตื่น
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ ช่วยส่งเสริมการหายของแผลรวมถึงมีการช่วย สะสมพลังงานไว้ใช้ในวันต่อไป
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อม
ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องใช้ และเครื่องอำนวยความสะดวก ต่างๆ
อุณหภูมิ มีความเหมาะสมของอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามและน่าอยู่อาศัย
เสียง แหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอกห้อง หรือเกิดจากผู้ให้บริการ หรือจากญาติที่มาเยี่ยมไข้
กลิ่น
กลิ่นหอม
กลิ่นเหม็น
แสงสว่าง
ความเป็นส่วนตัว และมิดชิดอย่างปลอดภัย
ความอบอุ่น และความประทับใจในบุคลิกภาพของพยาบาล
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
Dorsal position (supine position) เป็นท่านอนหงายราบขาชิดติดกัน
Fowler’s position เป็นท่านอนราบศีรษะสูง 30-90 องศา เป็นท่านอนที่สุขสบายและเพื่อการรักษา
Prone position เป็นท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่สุขสบาย สำหรับ ผู้ป่วย ที่ไม่รู้สึกตัว แต่มีการหายใจปกติ
Lateral position เป็นท่านอนตะแคง จัดเพื่อความสุขสบายของ ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือเคลื่อนไหวด้วยตนเองไม่ได้
Sitting position เป็นท่านั่งที่สุขสบายสำหรับผู้ป่วยได้เปลี่ยน อิริยาบถ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับ
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
การประเมินคุณภาพการนอนหลับและการนอนหลับที่ผิดปกติ
Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมาก หรือง่วงนอนมากกว่าปกติ
ซึ่งจะแสดงออกในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ
Parasomnia
ความผิดปกติของการตื่น (around disorder)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับ
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา
กลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ การนอนกัดฟัน การปัสสาวะรดที่นอนขณะหลับ
Insomnia
การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น (Short term insomnia) เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีสาเหตุเดียวกับการนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราวแต่มีเวลานานกว่า
การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (Chronic insomnia) เป็น การนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป
การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว (Transient insomnia) เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นช่วงเวลาสั้น 3- 5 วัน
ผลที่เกิดจาการนอนหลับผิดปกติ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด NREM ได้แก่ เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เวียนศีรษะ ทนต่อความเจ็บปวดได้ลดลง
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด REM ได้แก่ ความคิดบกพร่อง การรับรู้บกพร่อง ประสาทหลอน
ผลในภาพรวมจะทำให้การท างานของร่างกายขาดประสิทธิภาพจากร่างกาย อ่อนล้า และขาดสมาธิ
ความหมายของการพักผ่อนและการนอนหลับ
การพักผ่อนของผู้ป่วยในโรงพยาบาล
Absolute bed rest เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ปุวยนอนอยู่บนเตียง
ไม่ให้ร่างกายออกแรงในกิจกรรมใดที่จะทำให้รู้สึกเหนื่อย ห้ามลุกออกจากเตียง การทำกิจกรรมการพยาบาล พยาบาลจะต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมให้
Bed rest เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ปุวยนอนอยู่บนเตียงสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย
การนอนหลับ
เป็นกระบวนการทางสรรีรวิทยาพื้นฐานที่สอดประสานกับจังหวะการทำงานของร่างกายด้านอื่นโดยมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างของร่างกายไปในทางผ่อนคลาย
การพักผ่อน (Rest) หมายถึง ผ่อนคลายและมีความสงบทั้งจิตใจและร่างกาย รวมถึงความไม่วิตกกังวล สงบหรือผ่อนคลายโดยไม่มีความเครียดทางอารมณ์
วงจรการนอนหลับ
ช่วงหลับธรรมดา
ระยะที่ 1 (เริ่มมีความง่วง) เป็นช่วงเริ่มหลับที่เปลี่ยนจากการตื่นไปสู่ การนอน
ระยะที่ 2 (หลับตื้น) การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนจากภายนอก
ระยะที่ 3 (หลับปานกลาง) ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง ความมีสติ รู้ตัวจะหายไป การเคลื่อนไหวของตาจะหยุดลง
ระยะที่ 4 (หลับลึก) เป็นช่วงหลับสนิทของการนอน ใช้เวลา 30 - 50 นาที หากว่าร่างกายนอนหลับโดยปราศจากระยะที่ 4
ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep: REM) เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานกันหมด แต่ระบบการทำงานของหัวใจ กระบังลมเพื่อการ หายใจ กล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อเรียบ เช่น หลอดเลือดและส าไส้ โดยในช่วงนี้ตาจะกลอกไปซ้าย ขวาอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองจะยังตื่นตัวอยู่ ระยะนี้ช่วยจัดระบบความจำทำให้จำ เรื่องบางเรื่องได้นานขึ้น ระยะนี้นี่เองเป็นระยะที่คนเราจะฝัน แต่ก็จะตื่นง่าย เพราะสมองยังทำงาน เหมือนระยะที่ 1 ของ NREM